backup og meta

ตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง ที่บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

ตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง ที่บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หากเป็นโรคเบาหวาน การ ตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง ถือเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของแผนการรักษาเบาหวาน โดยสามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยเครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบพกพา ซึ่งสามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยเลือดเพียงเล็กน้อย การตรวจระดับน้ำตาลหรือตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง อาจช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนระยะยาวของโรคเบาหวาน และช่วยให้คุณหมอมีข้อมูลเพียงพอในการเลือกวิธีรักษาเบาหวานที่เหมาะสมที่สุด

ตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง คืออะไร

การไปโรงพยาบาลเพื่อวัดค่าน้ำตาลในเลือดอาจใช้เวลานาน เริ่มจากการนัดหมอ การเดินทางไปโรงพยาบาล รอเข้าพบคุณหมอ ในทางกลับกัน การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้าน ซึ่งช่วยให้คุณสังเกตอาการและควบคุมโรคเบาหวานของคุณได้มีหลายประเภท เช่น การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ หรือการตรวจค่าน้ำตาลเฉลี่ย (A1C)

การตรวจเลือด

เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในบ้าน พบได้บ่อยในผู้ที่ต้องควบคุมเบาหวาน โดยค่าของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวานควรอยู่ระหว่าง 70 ถึง 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร การเจาะน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง เรียกว่า Fasting blood glucose (FBG) ควรมีค่าต่ำกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร น้ำตาลในเลือดต่ำเป็นอาการที่ระดับกลูโคสมีค่าต่ำกว่า 70

สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลเกินกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ดังนั้น หากการเจาะน้ำตาลหลังอดอาหารและมีระดับของน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100 ถึง 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร คุณอาจมีภาวะเสี่ยงต่อเบาหวาน หรือเรียกอีกอย่างว่า “Prediabetes”

การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ได้ช่วยในการควบคุมเบาหวานอย่างเดียว แต่ยังช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น โรคตา โรคไต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสียหายต่อเส้นประสาท

การตรวจปัสสาวะ

การตรวจปัสสาวะเป็นการตรวจที่สามารถทำได้เองที่บ้าน โดยการใช้เครื่องมือตรวจและตัวอย่างปัสสาวะ การตรวจปัสสาวะเป็นการตรวจที่ใช้กันทั่วไปในผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อตรวจหาคีโตน (Ketones) หรือไมโครอัลบูมิน (Microalbumin) น้ำตาลในปัสสาวะก็สามารถวัดได้โดยใช้เครื่องมือเดียวกันนี้ แต่จะมีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยและสังเกตการณ์โรคเบาหวาน น้อยกว่าการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

การตรวจ A1C

การตรวจน้ำตาลสะสมในเลือด (The Hemoglobin A1C Test) เป็นการตรวจรูปแบบใหม่ แต่ให้ความแม่นยำสูง การตรวจนี้สามารถบ่งชี้ถึงระดับน้ำตาลเฉลี่ยในเลือดตลอดช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่การตรวจปัสสาวะแบบทั่วไป จะวัดแค่ระดับน้ำตาลในเลือดของช่วงที่ตรวจเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ชุดตรวจนี้จำเป็นจะต้องใช้เลือดตัวอย่างในการตรวจด้วย แต่ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ข้อสำคัญคือ เครื่องมือตรวจวัดนี้ไม่ควรใช้ตรวจพร่ำเพรื่อ เนื่องจาก คุณหมอแนะนำว่า การตรวจนี้ควรใช้เพื่อสังเกตระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานแล้วเท่านั้น

จากผลการศึกษาพบว่า คนทั่วไป ควรมีผลตรวจอยู่ระหว่าง 4 ถึง 6 เปอร์เซ็นต์ ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อเบาหวานจะมีผลตรวจอยู่ระหว่าง 5.7%-6.4% และผู้ป่วยเบาหวานจะมีผลตรวจ 6.5% หรือมากกว่านั้น สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Diabetes Association) แนะนำว่า ผู้ป่วยเบาหวานควรรักษาระดับของผลตรวจ A1C ให้ต่ำกว่า 7% เพื่อป้องกันอาการเบาหวานแทรกซ้อน

อย่างไรก็ตาม หากคุณสังเกตอาการต่าง ๆ ของตนเองหรือได้ทำการลองตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดแล้วพบว่า คุณเข้าข่ายมีภาวะเสี่ยงต่อเบาหวาน (Prediabetes) สิ่งที่คุณควรทำในเบื้องต้น คือ การปรับเปลี่ยนและวางแผนมื้ออาหาร รวมไปถึงลดการบริโภคน้ำตาล เพื่อเป็นการรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ นอกจากนี้ การเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์นั้น ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการป้องกันตนเองจากโรคเบาหวานในเบื้องต้นที่คุณสามารถทำได้โดยไม่ต้องรีรอ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Home test to check if you have diabetes. http://www.belmarrahealth.com/home-test-to-check-if-you-have-diabetes/. Accessed February 9, 2017

Blood sugar testing: Why, when and how. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/in-depth/blood-sugar/art-20046628?pg=1. Accessed February 9, 2017

Are there any home tests for diabetes?. http://www.womens-health-advice.com/questions/diabetes-home-tests.html. Accessed February 9, 2017

A1C: The test. (2014). labtestsonline.org/understanding/analytes/a1c/tab/test. Accessed February 9, 2017

Mayo Clinic Staff. (2018). Blood sugar testing [Slide show]. mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/multimedia/blood-sugar/sls-20076114?s=1. Accessed February 9, 2017

Mayo Clinic Staff. (2018). Blood sugar testing: Why, when, and how. mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/in-depth/blood-sugar/art-20046628. Accessed February 9, 2017

Diabetes and prediabetes tests. (2014). diabetes.niddk.nih.gov/dm/pubs/comparingtests/index.aspx. Accessed February 9, 2017

Diagnosing diabetes and learning about prediabetes. (2016). diabetes.org/diabetes-basics/diagnosis/. Accessed February 9, 2017

How to test your blood glucose. (n.d.). diabetes.co.uk/blood-glucose/how-to-test-blood-glucose-levels.html. Accessed February 9, 2017

Take charge of your diabetes. (2007). stacks.cdc.gov/view/cdc/5698. Accessed February 9, 2017

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/01/2022

เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้ป่วยเบาหวาน ออกกำลังกาย ด้วยการวิ่งได้หรือเปล่า

เบาหวานกับผิวหนัง ทำไมจึงเกิดอาการคันและติดเชื้อง่าย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 31/01/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา