backup og meta

สาเหตุของภาวะดื้ออินซูลิน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

สาเหตุของภาวะดื้ออินซูลิน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

สาเหตุของภาวะดื้ออินซูลิน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันอย่างการออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก อาจช่วยลดการเกิดภาวะดื้ออินซูลินและส่งเสริมให้ร่างกายสามารถนำอินซูลินไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

[embed-health-tool-bmi]

สาเหตุของภาวะดื้ออินซูลิน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบบ่อยมากที่สุด เกิดจากสภาวะร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน หรือเรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน โดยข้อมูลของสถาบันโรคเบาหวานและทางเดินอาหารและโรคไตแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ของภาวะดื้ออินซูลิน แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่า สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน โดยอ้างอิงจากการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) อยู่ที่ 25-29.9 รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้

  • อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติของโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • มีประวัติโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes)
  • มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome : PCOS) 
  • ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ
  • ปัญหาการนอนหลับ โดยเฉพาะภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด
  • ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing Syndrome) และโรคอะโครเมกาลี (Acromegaly)

สัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงภาวะดื้ออินซูลิน

สัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงภาวะดื้ออินซูลิน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีดังต่อไปนี้

  • ผู้ชายรอบเอวเกิน 40 นิ้ว และผู้หญิงรอบเอวเกิน 35 นิ้ว
  • ผิวหนังดำคล้ำมีลักษณะคล้ายขี้ไคลบริเวณรอบ ๆ ด้านหลังคอ หรือที่เรียกว่า โรคผิวหนังช้าง (Acanthosis nigricans)
  • ค่าความดันโลหิตสูงกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท 
  • ค่าระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารสูงกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร 
  • ค่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือดขณะอดอาหารสูงกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิต
  • ระดับคอเลสเตอรอลไขมันดี (High Density Lipoprotein : HDL) ในผู้ชายน้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิต และในผู้หญิงน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ดูแลตนเอง ลดความเสี่ยงภาวะดื้ออินซูลิน 

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ดังต่อไปนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างพืชตระกูลถั่ว กลุ่มธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวโอ๊ต ซีเรียลโฮลเกรน ข้าวบาร์เลย์ 
  • ควรรับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Insulin Resistance. https://www.medicinenet.com/insulin_resistance/article.htm.Accessed August 27, 2021

Insulin Resistance. https://www.diabetes.co.uk/insulin-resistance.html.Accessed August 27, 2021

Insulin Resistance. https://www.webmd.com/diabetes/insulin-resistance-syndrome. Accessed August 27, 2021

Insulin Resistance & Prediabetes. https://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/what-is-diabetes/prediabetes-insulin-resistance.Accessed August 27, 2021

Insulin Resistance and Type 2 Diabetes. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3314346/. Accessed August 27, 2021

Insulin Resistance & Prediabetes.https://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/what-is-diabetes/prediabetes-insulin-resistance.Accessed August 27, 2021

Weight Loss and Body Mass Index (BMI). https://www.webmd.com/men/weight-loss-bmi.Accessed August 27, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/05/2024

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย

ธัญพืชสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 29/05/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา