เบาหวานแฝง หรือภาวะก่อนเบาหวาน เป็นภาวะที่เกิดขึ้นต่อเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่อาจไม่สูงพอจะที่จะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ถึงอย่างไรหากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่มีควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ก็อาจส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ได้
เบาหวานแฝง (Prediabetes) คืออะไร
เบาหวานแฝง คือ สัญญาณเตือนของโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ซึ่งหมายความว่าหากผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงแต่ยังไม่ถึงเกณฑ์คือระดับน้ำตาล100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร คุณหมออาจวินิจฉัยให้เบื้องต้นว่าระยะนี้คือเบาหวานแฝง หรือภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน และอาจพัฒนานำไปสู่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 อย่างเลี่ยงไม่ได้หากไม่รักษาค่าระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคหลอดเลือด
อาการเบาหวานแฝง
อาการเบาหวานแฝง มีดังต่อไปนี้
- ร่างกายขาดน้ำ รู้สึกกระหายน้ำ
- รู้สึกอยากอาหาร หรือหิวบ่อย
- เหนื่อยล้า
- มองเห็นสิ่งรอบตัวเป็นภาพซ้อน พร่ามัว
- น้ำหนักเพิ่มหรือลดโดยไม่มีสาเหตุ
- ปัสสาวะบ่อย
สาเหตุของเบาหวานแฝง
ในปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงของภาวะเบาหวานแฝง แต่คาดการณ์ว่าอาจเกี่ยวข้องกับอินซูลิน เนื่องจากอินซูลินเป็นฮอร์โมนตับอ่อนผลิตขึ้น เพื่อนำกลูโคสจากอาหารที่อยู่ในกระแสเลือดมาแปรเปลี่ยนเป็นพลังงาน หากร่างกายผลิตอินซูลินน้อยลง หรือร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินก็อาจเป็นไปได้ว่ากลูโคสนั้นจะสะสมอยู่ในกระแสเลือดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงเป็นภาวะก่อนเบาหวานที่จะพัฒนาสู่โรคเบาหวานประเภทที่ 2
ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานแฝง
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดเบาหวานแฝง ได้แก่
- อายุ ส่วนใหญ่โรคเบาหวานอาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
- ประวัติครอบครัวที่เป็นโรคเบาหวาน หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นภาวะก่อนเบาหวานหรือโรคเบาหวานมาก่อนก็อาจเป็นไปได้ว่าจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นภาวะนี้ได้เช่นกัน
- เชื้อชาติพันธุ์ ผู้ที่มีเชื้อสายเอเชีย อเมริกันมักมีแนวโน้มเสี่ยงเป็นภาวะก่อนเบาหวาน
- น้ำหนักส่วนเกิน น้ำหนักเกินเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่อาจทำให้เป็นเบาหวานแฝง เนื่องจากร่างกายอาจมีการสะสมของไขมันมากเกินไปที่ส่งผลต่อความต้านทางของอินซูลิน
- รอบเอวเกินมาตรฐาน สำหรับผู้ชายที่มีรอบเอวมากกว่า 40 นิ้ว และผู้หญิงที่มีรอบเอวมากกว่า 35 นิ้ว อาจเสี่ยงต่อภาวะดื้ออินซูลินที่นำไปสู่ภาวะเบาหวานแฝง
- ไม่ออกกำลังกาย หากเคลื่อนไหวร่างกายน้อยเท่าไหร่ ก็อาจทำให้มีการเผาผลาญกลูโคสในกระแสเลือดน้อยเท่านั้น ซึ่งส่งผลให้ร่างกายดื้ออินซูลินเสี่ยงต่อภาวะก่อนเบาหวาน
- สูบบุหรี่ หรือสูดดมควันบุหรี่ สารพิษในบุหรี่อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้ร่างกายดื้ออินซูลิน
การวินิจฉัยเบาหวานแฝง
- การทดสอบระดับน้ำตาลในเลือด
คุณหมออาจให้อดอาหารก่อนถึงเวลาตรวจประมาณ 8 ชั่วโมง เมื่อถึงเวลานัดหมายคุณหมอจะเริ่มตรวจสอบระดับกลูโคสในกระแสเลือด หากมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจเป็นไปได้ว่ากำลังเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเบาหวานแฝง เพราะโดยปกติระดับน้ำตาลในเลือดช่วงการอดอาหารนั้นไม่ควรเกิน 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- การทดอสอบเฮโมโกลบิน A1C
การทดสอบ A1C หรือ hbA1c เป็นการตรวจเลือดแบบไม่ต้องอดอาหาร โดยจะวัดออกมาเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ โดยเปอร์เซ็นต์ที่ถือว่าปกติจะอยู่ต่ำว่า 5.7%-6.4% แต่หากตัวเลขที่สูงกว่า 6.5% ขึ้นไป นั่นอาจมีความหมายว่าอาจมีแนวโน้มเสี่ยงเป็นภาวะเบาหวานแฝง
- ทดสอบกลูโคสในช่องปาก
การทดสอบนี้ทักใช้ในการวินิจฉัยโรคเบาหวานสำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์เท่านั้น โดยคุณหมอจะเก็บตัวอย่างเลือกหลังจากอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง หลังจาก 8 ชั่วโมง จะสามารถดื่มได้เพียงเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวานหรือส่วนประกอบของน้ำตาล และจะถูกวัดระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้งหลัง 2 ชั่วโมง หากผลการทดสอบพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ 140/199 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจเป็นไปได้ว่ากำลังเสี่ยงเป็นเบาหวานแฝง เพราะค่าปกติในระยะปลอดภัยไม่ควรเกินกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
การป้องกันเบาหวานแฝง
วิธีป้องกันเบาหวานแฝงก่อนนำไปสู่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 สามารถทำได้ ดังนี้
- รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เลือกอาหารที่มีแคลอรี่ และไขมันต่ำ เน้นผักผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี
- ตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที ต่อสัปดาห์
- ลดน้ำหนักส่วนเกินให้ตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน 5-7 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนัก
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- รับประทานยาตามที่คุณหมอกำหนด ไม่ควรหาซื้อยามากินเอง เนื่องจากยังไม่ได้เป็นโรคเบาหวานอย่างสมบูรณ์ ทำให้อาจได้รับยาชนิดอื่นแทนตามอาการ
[embed-health-tool-bmi]