backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 21/06/2021

หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia)

หากคุณลองสังเกตตนเองแล้วพบว่า มีอาการวิงเวียนศีรษะ หายใจลำบาก และเจ็บหน้าอก อยู่บ่อยครั้ง ก็อาจเป็นไปได้ว่า คุณกำลังมีสัญญาณแรกเริ่มของภาวะ หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ อยู่ก็เป็นได้

คำจำกัดความ

หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ คืออะไร

หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) คือ การที่อัตราการเต้นของหัวใจ อยู่ในระดับต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที จนทำให้มีการสูบฉีดเลือดน้อยลง และส่งผลกระทบต่อการส่งออกซิเจนไปเลี้ยงยังบริเวณต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่อเซลล์ในร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลง ก็อาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจวายเฉียบพลัน

หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ พบได้บ่อยเพียงใด

ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ สามารถเกิดขึ้นกับทุกคน ตั้งแต่ช่วงวัยเด็กไปจนถึงช่วงวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ

อาการ

อาการของภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ

อาการที่สามารถพบได้ทั่วของ ภาวะหัวใจเต้นช้าปกติ มีดังนี้

  • รู้สึกอ่อนเพลียง่าย
  • เป็นลมบ่อยครั้ง
  • วิงเวียนศีรษะ
  • หายใจถี่
  • รู้สึกหายใจลำบากขณะออกกำลังกาย หรือมีการเคลื่อนไหวต่าง ๆ
  • นอกจากนี้ หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอก สีผิวเปลี่ยนสี ปวดหัวอย่างรุนแรง พร้อมกับอาการหัวใจผิดปกติ ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ในทันที เนื่องจากมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอันตราย หรือนำไปสู่อาการหัวใจหยุดเต้นได้

    สาเหตุ

    สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ

    สาตุเหตุที่อาจทำให้อัตราการเต้นหัวใจลดลง จนเกิดเป็น ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ได้แก่

    • ผลข้างเคียงของยาบางชนิด
    • ความไม่สมดุลสารเคมีในเลือด
    • ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
    • อาการจากโรคหลอดเลือดสมอง
    • ความเสียหายของโครงสร้างหัวใจตั้งแต่กำเนิด
    • เนื้อเยื่อรอบหัวใจได้รับความเสียหาย
    • ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ

    ปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ อาจมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังต่อไปนี้

    การวินิจฉัยและการรักษาโรค

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ

    แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจทำการซักประวัติทางการแพทย์ และตรวจร่างกายเพื่อดูอาการเบื้องต้น ก่อนจะเริ่มดำเนินการตรวจเช็กคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูอัตราการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้ แพทย์อาจต้องขอให้คุณมีการเคลื่อนไหว หรือการออกกำลังกายร่วมด้วย เพราะการเคลื่อนไหวจะเข้าไปช่วยกระตุ้นอัตราการการเต้นของหัวใจให้มีการทำงานมากขึ้น ส่งผลให้สามารถมองเห็นอัตราการเต้นหัวใจที่ชัดเจนว่ามีความผิดปกติใด ๆ หรือไม่

    การรักษาภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ

    การรักษา ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยว่าผลลัพธ์ของอัตราการเต้นของหัวใจนั้นจะออกมาอยู่ในเกณฑ์ใด อีกทั้งยังพิจารณาการรักษาตามอาการที่คุณกำลังเป็น ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

    • ปรับเปลี่ยนยาบางชนิดที่คุณใช้อยู่ โดยคุณจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณกำลังกินยาตัวใดอยู่บ้าง
    • เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบฝัง เป็นวิธีการนำเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าขนาดพอเหมาะ ไปฝังอยู่บริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเส้นเลือดเข้าไปกระตุ้นหัวใจ

    หากคุณมีอาการอื่น ๆ แทรกซ้อนที่ส่งผลให้เกิดอาการรุนแรง แพทย์อาจจำเป็นต้องทำการวินิจฉัยถึงสาเหตุอีกครั้ง และอาจต้องมีการผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับหัวใจอย่างเร่งด่วน เพราะมิเช่นนั้น อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันและรักษา  ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ

    เพื่อช่วยรักษาให้อัตราการเต้นหัวใจอยู่ในระดับคงที่ คุณอาจจำเป็นต้องเริ่มหันมาดูแลตนเอง และงดทำพฤติกรรมที่เสี่ยงทำลายสุขภาพหัวใจ ดังนี้

    • ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    • รักษาสมดุลของน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
    • งดสูบบุหรี่
    • ดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่เพียงพอต่อวัน
    • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    • จัดการกับความเครียดด้วยเทคนิคที่สร้างประโยชน์ทางสุขภาพควบคู่ไปด้วย เช่น ฟังเพลง ออกกำลังกาย

    โปรดเข้ารับการตรวจร่างกายอย่างเสมอ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง และทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที ก่อนสายเกินกว่าแก้ไข

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 21/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา