backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 14/06/2021

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis) เป็นการอักเสบของเยื่อบุผิวภายในหลอดลม ทำให้ต่อมเมือกโตขึ้นและหลั่งเมือกออกมา หากมีอาการนานกว่า 10 วัน จะเรียกว่า หลอดลมอักเสบเรื้อรัง

คำจำกัดความ

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน คืออะไร

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis) เป็นการอักเสบของเยื่อบุผิวภายในหลอดลม ทำให้ต่อมเมือกโตขึ้นและหลั่งเมือกออกมา ซึ่งการติดเชื้อที่หน้าอกนี้ หากมีอาการน้อยกว่า 10 วัน ก็จะเป็นภาวะหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน หากมีอาการติดต่อกันหลายสัปดาห์ ก็จะเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและอาจจะกำเริบได้อีก ภาวะหลอดลมอักเสบเฉียบพลันนี้อาจจะมีอาการแย่ลงแล้วกลายเป็นโรคปอดบวมได้

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน พบได้บ่อยแค่ไหน

หลอดลมอักเสบเฉียบพลันเป็นการติดเชื้อไวรัสที่พบบ่อย มักจะเกิดขึ้นหลังจากเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ มีแนวโน้มสูงที่จะเกิดในผู้สูงอายุ เด็กทารกและเด็ก

อาการ

อาการของหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

อาการของ โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน จะมีความคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัด อาการที่อาจจะเกิดขึ้นมีดังนี้

  • ไอมีเสมหะ
  • เจ็บคอ
  • เป็นไข้
  • อาการปวดหัว
  • ปวดเมื่อย
  • หายใจฟึดฟัด
  • หายใจถี่
  • รู้สึกเจ็บหน้าอกเมื่อหายเข้าใจลึกๆ หรือไอ

อาจจะมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลโปรดปรึกษาแพทย์

ควรจะไปพบคุณหมอเมื่อไหร่

ควรติดต่อแพทย์หากคุณมีอาการต่อไปนี้

  • ไอติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 20 วัน
  • นอนไม่หลับ
  • น้ำมูกหรือเสมหะเป็นสีเหลืองหรือสีม่วงเข้ม
  • มีเลือดปนในน้ำมูกหรือเสมหะ

หากมีอาการปอดบวมดังต่อไปนี้ ควรรับการรักษาโดยเร็วที่สุด

  • มีไข้สูงมากกว่า 38 องศา
  • หนาวสั่น
  • รู้สึกหดหู่หรืออ่อนล้าอย่างรุนแรง

สาเหตุ

สาเหตุของหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

สาเหตุโดยทั่วไปคือการติดเชื้อไวรัสจากการเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และการระคายเคืองในเยื่อบุหลอดลมจากสารเคมี ควัน ฝุ่น หรือมลพิษ

การอักเสบและการระคายเคืองของเยื่อบุอาจทำให้เกิดอาการไอ การผลิตเมือกมากเกินไปก็อาจจะทำให้หลอดลมหดตัวลงและทำให้หายใจไม่ออกได้

โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน อาจมีอาการแย่ลงได้ หากทำสิ่งต่อไปนี้

  • สูบบุหรี่
  • อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ
  • ไม่สนใจอาการหรือความผิดปกติของร่างกาย
  • ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

  • การสูบบุหรี่
  • ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • อาการวิงเวียนอย่างรุนแรงเนื่องจากกรดไหลย้อนในกระเพาะอาหาร
  • ทำงานในสถานที่ที่มีมลพิษหรือเกิดการระคายเคือง
  • ปัญหาเกี่ยวกับปอด เช่น โรคหอบหืด

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

สำหรับการวินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันนั้น แพทย์อาจตรวจต้องร่างกายและฟังเสียงของปอด นอกจากนี้ยังอาจจะต้องมีการเอ็กซเรย์ที่หน้าอก หากแพทย์สงสัยว่าเป็นโรคปอดบวม ซึ่งในกรณีนี้ไม่จำเป็นจะต้องตรวจเลือด

การรักษา โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

แพทย์อาจสั่งยาที่ช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง หากมีไข้ อาจจะต้องใช้ยาลดไข้เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย นอกจากนี้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล  (Paracetamol) และ ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)  ก็สามารถช่วยลดความรู้สึกไม่สบายและระคายเคืองของหน้าอกได้

แพทย์อาจใช้ยาลดน้ำมูกเพื่อรักษาอาการอื่นๆ ที่เกิดจากหวัด นอกจากนี้ อาจต้องใช้ยาขยายหลอดลมเพื่อช่วยเปิดทางเดินหายใจ ทำให้หายใจได้สะดวกมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการป้องกัน

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิด โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน มีอะไรบ้าง

ภาวะหลอดลมอักเสบเฉียบพลันนั้นสามารถป้องกันได้ หากเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตแบบเดิมๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคและรู้วิธีป้องกันอย่างถูกต้อง

  • หยุดสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีควัน
  • ดื่มน้ำเยอะๆ สามารถดื่มน้ำผลไม้ได้เช่นกัน แต่ควรงดคาเฟอีนจนกว่าจะฟื้นตัวเต็มที่
  • พักผ่อนเยอะๆ
  • ทำให้ห้องชื้นโดยอาจใช้ผ้าเช็ดตัวชุบน้ำหมาดๆ
  • ล้างมือบ่อยๆเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจาย
  • ไปพบแพทย์ของถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง
  • อย่าตัดสินใจใช้ยาอื่นโดยไม่ได้รับยาจากใบสั่งแพทย์

หากมีคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจและหาทางออกที่ดีที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 14/06/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา