backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

คุณรู้จัก โรคหลอดลมอักเสบ มากแค่ไหน? มาเรียนรู้เพิ่มเติมได้ในบทความนี้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

คุณรู้จัก โรคหลอดลมอักเสบ มากแค่ไหน? มาเรียนรู้เพิ่มเติมได้ในบทความนี้

โรคหลอดลมอักเสบ เป็นอีกโรคหนึ่งที่สร้างปันหาร้ายแรงให้กับปอดและระบบทางเดินหายใจของคุณเป็นอย่างมาก วันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคหลอดลมอักเสบทั้ง 2 ชนิด เพื่อที่คุณจะได้มีแนวทางในการป้องกันโรคได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

สาเหตุการเกิด โรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบ คือภาวะที่ส่งผลต่อปอดและทางเดินหายใจ เป็นการอักเสบของหลอดลมที่เป็นทางเดินหายใจหลักในปอด และในบางกรณีอาจเป็นโรคติดต่อได้ สาเหตุหลักที่อาจทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบอักเสบเรื้อรังหรือเฉียบพลัน อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • เกิดจากไวรัส โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ ซึ่งหมายความว่าโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้
  • ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมอาจทำให้เกิดการอักเสบของทางเดินหายใจ และทำให้ปอดมีแนวโน้มในการติดเชื้อมากขึ้น ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้
    • มลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่น ควัน
    • สารเคมีร้ายแรง การสูดดมสารเคมีอาจทำให้เกิดการละคายเคืองที่ปอดและทางเดินหายใจ
    • ควันบุหรี่ ทั้งผู้สูบเองและผู้ที่สูดดมควันบุหรี่มือสอง
  • การแพร่เชื้อ

    ผู้ที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันสามารถแพร่เชื้อได้ทันทีเมื่อมีอาการ ส่วนใหญ่ผู้คนมักแพร่เชื้อกันมากที่สุดในช่วงเริ่มต้นของอาการ ไวรัส หลอดลมอักเสบ สามารถติดต่อกันได้จากคนสู่คน ซึ่งสามารถแพร่เชื้อจากการไอหรือจาม ละอองเหล่านี้จะลอยขึ้นสู่อากาศและติดต่อสู่กันได้ทางจมูก ปาก หรือทางเดินหายใจ

    ประเภทของ โรคหลอดลมอักเสบ

    อาการหลักของ โรคหลอดสมอักเสบ คือ อาการไอเรื้อรังและมีเสมหะจำนวนมาก เพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง สามารถสังเกตได้ ดังนี้

    โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

    โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันเป็นการอักเสบระยะสั้นของปอดและทางเดินหายใจ มักมีอาการน้อยกว่า 3 สัปดาห์ พบมากในผู้สูงอายุ ทารก และเด็ก ซึ่งแนวโน้มการเกิดมักเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาวหรือมีการติดเชื้อไวรัส

    อาการของโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันมักมีอาการคล้ายหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ดังนี้

    โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

    โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังเป็นอีกหนึ่งในสาเหตุของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease : COPD) หากมีอาการของโรคคงอยู่นานกว่า 3 สัปดาห์ ติดต่อกัน แพทย์จะทำการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังหรือไม่ โดยมักแสดงอาการ ดังนี้

    ภาวะแทรกซ้อน

    ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดคือ โรคปอดบวม มักเกิดขึ้นเมื่อเชื้อแพร่กระจายไปยังปอดมากขึ้น ทำให้จำนวนของเหลวภายในถุงลมขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้นด้วย ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคปอดบวม ได้แก่

  • ผู้สูงอายุ
  • คนที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคตับหรือไต
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • อย่างไรก็ตามเมื่อมีอาการ หลอดลมอักเสบ เกิดขึ้นซ้ำ ๆ อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ได้เช่นกัน

    การป้องกัน

    มีหลายวิธีที่จะสามารถป้องกันการเกิด หลอดลมอักเสบ ได้ ดังนี้

    • การเลิกสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และสร้างความเสียหายให้กับปอด ดังนั้นคุณจึงควรเลิกสูบบุหรี่และควรหลีกเลี่ยงควันบุหรี่มือสองด้วย
    • หลีกเลี่ยงมลพิษ หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่เต็มไปด้วยมลพิษ เพื่อลดความเสี่ยง หลอดลมอักเสบ และโรคหอบหืด
    • การสวมหน้ากาก ควรสวมหน้ากากปิดทั้งปากและจมูก เพื่อช่วยป้องกันสิ่งที่จะสร้างความระคายเคืองต่อปอด และลดการอักเสบของทางเดินหายใจ
    • รับวัคซีน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในปอด ควรรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี ควบคู่ไปกับวัคซีนป้องกันโรคปอดและโรคไอกรนเป็นประจำ
    • การล้างมือ การล้างมือเป็นประจำจะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสไปสู่ผู้อื่นได้

    การรักษา

    การรักษาโรคหลอดลมอักเสบอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าเป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง

    การรักษาโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

    สำหรับโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ปกติอาการจะหายภายใน 2-3 สัปดาห์ ซึ่งการรักษาที่แนะนำ ได้แก่

    • ดื่มน้ำมาก ๆ
    • พักผ่อนมาก ๆ
    • หายใจเอาไอน้ำจากฝักบัว หรือไอจากน้ำร้อน
    • กินยาตามแพทย์สั่ง
    • งดการสูบบุหรี่

    การรักษาโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

    การรักษาโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงมักรักษาด้วยการลดอาการแทน โดยแนะนำให้เปลี่ยนวิถีชีวิตทั้งเรื่องการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการออกกำลังกาย และแพทย์อาจสั่งยาเพื่อฟื้นฟูปอดร่วมด้วย ได้แก่

    • ยาสูดพ่น เพื่อรักษาการหายใจ
    • ยาสเตียรอยด์ เพื่อช่วยรักษาอาการอักเสบ
    • ยาขับเสบหะ เพื่อลดจำนวนเสมหะ
    • ยาขยายหลอดลม เพื่อเปิดทางเดินหายใจ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา