backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ภาวะขาดเอนไซม์G6PD (G6PD Deficiency)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ภาวะขาดเอนไซม์G6PD (G6PD Deficiency)

ภาวะขาดเอนไซม์G6PD (Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency) ความผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นจากการที่ปริมาณของเอนไซม์ G6PD ในเลือดมีไม่เพียงพอ การขาดเอนไซม์นี้ อาจจะทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตก และกลายเป็นโรคโลหิตจางจากเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกในที่สุด

คำจำกัดความ

ภาวะขาดเอนไซม์G6PD คืออะไร

ภาวะขาดเอนไซม์G6PD (Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency) ความผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นจากการที่ปริมาณของเอนไซม์ G6PD ในเลือดมีไม่เพียงพอ เอนไซม์ชนิดนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการควบคุมปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่าง ๆ ในร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงมีสุขภาพดี และสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ การขาดเอนไซม์นี้ อาจจะทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตก และกลายเป็นโรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกในที่สุด

ภาวะขาดเอนไซม์G6PDเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน

ผู้คนประมาณ 400 ล้านคนทั่วโลกมีภาวะขาดเอนไซม์G6PD โรคนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในบางส่วนของแอฟริกา เอเชีย แถบเมดิเตอเรเนียน และตะวันออกกลาง

โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของภาวะขาดเอนไซม์G6PD

อาการทั่วไปของภาวะขาดเอนไซม์G6PDได้แก่

อาจมีอาการที่ไม่ได้ระบุถึงข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์

เมื่อไหร่ที่ฉันควรไปโรงพยาบาล

หากคุณมีสัญญาณ หรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถามอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายแต่ละคนตอบสนองต่างกัน ทางที่ดีที่สุดคือปรึกษาแพทย์ว่า อะไรเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของภาวะขาดเอนไซม์G6PD

ภาวะขาดเอนไซม์G6PD เป็นโรคทางพันธุกรรม ที่ส่งต่อจากบิดามารดา หรือคนใดคนหนึ่งสู่บุตร ยีนผิดปกติบนโครโมโซมเอ็กซ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครโมโซมเพศสองโครโมโซม จะเป็นสาเหตุของภาวะนี้ ผู้ชายจะมีโครโมโซมเอกซ์เพียงโครโมโซมเดียว แต่ผู้หญิงจะมีโครโมโซมเอกซ์สองโครโมโซม ในผู้ชาย สำเนายีนที่เปลี่ยนไปเพียงสำเนาเดียว ก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดภาวะขาดเอนไซม์G6PD

อย่างไรก็ตาม ในผู้หญิง การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมอาจเกิดขึ้นกับสำเนายีนทั้งสองสำเนา เนื่องจากดูเป็นไปได้ยากที่ผู้หญิงจะมีสำเนายีนที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งสองสำเนา ผู้ชายจึงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง

ปัจจัยเสี่ยง

อะไรที่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดภาวะขาดเอนไซม์G6PD

ปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดภาวะขาดเอนไซม์G6PD เช่น

  • เพศชาย
  • เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน
  • มีเชื้อสายตะวันออกกลาง
  • สมาชิกในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคนี้

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภาวะขาดเอนไซม์G6PD

แพทย์จะวินิจฉัยภาวะขาดเอนไซม์ในเลือด ได้จากการตรวจเลือดโดยทั่วไป เพื่อตรวจระดับเอนไซม์จีซิกพีดี วิธีการตรวจอื่นๆ อาจรวมถึงการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การใช้ซีรั่มเพื่อตรวจฮีโมโกลบิน การนับจำนวนเรติไคโลไซต์ (reticulocyte count) หรือค่าที่ใช้แสดงอัตราการสร้างเม็ดเลือดแดง วิธีทั้งหมดใช้เพื่อวัดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกาย และอาจช่วยให้แพทย์วินิจฉัยภาวะโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกนี้ได้

ในระหว่างการพบกับหมอ สิ่งสำคัญคือต้องแจ้งให้หมอทราบเกี่ยวกับอาหารและยาใดๆ ที่คุณกำลังใช้อยู่ รายละเอียดเหล่านี้จะช่วยในการวินิจฉัยของหมอ

การรักษาภาวะขาดเอนไซม์G6PD

การรักษาภาวะขาดเอนไซม์G6PD ประกอบด้วยการนำสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการออก หากโรคนี้ถูกกระตุ้นด้วยการติดเชื้อ ก็ต้องรักษาอาการติดเชื้ออย่างเหมาะสม ต้องมีการหยุดยาใดๆ ที่ใช้อยู่ซึ่งอาจทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย ในกรณีเหล่านี้ คนส่วนมากจะหายจากอาหารต่างๆ เหล่านี้ได้เอง

อย่างไรก็ตาม เมื่อภาวะขาดเอนไซม์G6PDได้ลุกลามไปถึงภาวะโลหิตจาง เนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งรวมถึงการรักษาด้วยออกซิเจนและการถ่ายเลือด เพื่อเพิ่มออกซิเจน และระดับของเซลล์เม็ดเลือดแดง คุณอาจจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลในขณะที่เข้ารับการรักษา เนื่องจากการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางชนิดรุนแรงอย่างใกล้ชิด เป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะหายดี โดยไม่มีอาการแทรกซ้อน

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองแบบไหนที่จะช่วยจัดการกับภาวะขาดเอนไซม์G6PD

ไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือกับโรคจีซิกพีดี

  • เรียนรู้ว่าจะจัดการกับโรคและอาการได้อย่างไร
  • หลีกเลี่ยงอาหารและยาที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ
  • การลดความเครียด อาจช่วยควบคุมอาการได้เช่นกัน ถามแพทย์เพื่อขอรายชื่อยาและอาหารที่คุณควรหลีกเลี่ยง

หากคุณมีคำถามเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา