backup og meta

เบาหวาน ขึ้นตา มีอาการ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 24/03/2023

    เบาหวาน ขึ้นตา มีอาการ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร

    เบาหวาน ขึ้นตา คือ อาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ที่มีสาเหตุมาจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จนนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดเสื่อมและอุดตัน ซึ่งเมื่อเส้นเลือดที่เลี้ยงจอประสาทตาเสื่อมหรืออุดตันลง จึงทำให้จอประสาทตาขาดเลือด อีกทั้งมีการสร้างหลอดเลือดใหม่มาทดเเทน เเต่ผนังของหลอดเลือดที่สร้างใหม่ดังกล่าวมักเปราะฉีกขาดง่าย ทำให้เกิดเลือดออกในจอประสาทตาและวุ้นลูกตา ซึ่งผู้ที่มีเบาหวานขึ้นตาอาจมีอาการตาพร่ามัว มองเห็นภาพไม่ชัด หากปล่อยไว้เป็นเวลานานไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดปัญหาสุขภาพตาอื่น ๆ เช่น ต้อกระจก ต้อหิน และเป็นสาเหตุให้ตาบอดได้

    อาการเบาหวานขึ้นตา

    อาการเบาหวานขึ้นตา อาจสังเกตได้ดังนี้

    • ปวดตา ตาเเดง
  • ตาพร่ามัว มองเห็นภาพไม่ชัดเจน
  • มองเห็นภาพสีซีด/จางลง ตาบอดสี
  • เห็นจุดหรือเส้นสีดำอยู่ในลานสายตา
  • การมองเห็นภาพตอนกลางคืนเเย่ลง
  • อย่างไรก็ตามในบางรายเเม้มีภาวะเบาหวานขึ้นตาแล้ว อาจไม่มีอาการเเสดงใด ๆ เลย เเละควรเข้าพบคุณหมอทันทีหากสังเกตว่าการมองเห็นเริ่มเปลี่ยนแปลงไป หรือมีอาการพร่ามัว แบบเป็น ๆ หาย ๆ เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนเเรงที่อาจตามมาได้

    เบาหวานขึ้นตาส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร

    เบาหวานขึ้นตาอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้

    • ต้อกระจก เนื่องจากเมือระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นระยะเวลานาน น้ำตาลกลูโคสในกระเเสเลือด อาจเปลี่ยนแปลงเป็นน้ำตาลชนิดซอร์บิทอล (Sorbitol) และ ฟรุคโตส (Fructose) สะสมอยู่ในเลนส์ตา ทำให้เลนส์ตามีความขุ่นมัว มองสิ่งรอบตัวไม่ชัดเกิดเป็นภาวะต้อกระจก
    • ต้อหิน เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดภายในดวงตาจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้ความดันตาสูงยเส้นประสาทตาถูกทำลาย ทำให้การมองเห็นแย่ลง มีอาการปวดตา และอาจนำไปสู่อาการตาบอดได้
    • เลือดออกในวุ้นตาเกิดจากหลอดเลือดเลี้ยงจอประสาทตาที่สร้างใหม่เปราะฉีกขาด ทำให้มีเลือดออกในวุ้นตาส่งผลให้มีอาการตาพร่ามัว อาจะมองเห็นเป็นจุดดำหรือหยากไย่ลอยในดวงตา โดยปกติเเล้วเลือดจะถุกดูดซึมได้เอง อาการจึงมักจะทุเลาลงได้ภายในไม่กี่สัปดาห์
    • จอประสาทตาลอก จัดเป็นภาวะรุนเเรงและเร่งด่วนทางตา โดยเมือหลอดเหลือดที่จอประสาทตาออุดตันจากการที่น้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ทำให้จอประสาทตาขาดเลือดและเกิดเเผลดึงรั้ง ซึ่งทำให้เกิดการหลุดลอกของจอประสาทตาออกจากผนังด้านหลังลูกตาได้ ในระยะเเรกอาจมีอาการเห็นเเสงวาบคล้ายฟ้าเเลบ หรือ เงาดำ จุด/เส้นดำในลานสายตา ตามัวลง เเละหากไม่ได้การรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้

    การรักษาอาการเบาหวานขึ้นตา

    การรักษาภาวะเบาหวานขึ้นตา มีดังนี้

  • ควบคุมโรคเบาหวานให้ดี รักษาระดับน้ำตาลในเลือดเเละน้ำตาลสะสมให้อยุ่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อมิให้เกิดหลอดเลือดที่จอประสาทตามเสือม
  • ยาหยอดตา คุณหมออาจแนะนำให้ใช้ยาหยอดตา เพื่อช่วยบรรเลาอาการต่างๆทางตา
  • ฉีดยาเข้าวุ้นลูกตา ในปัจจุบันมีการฉีดยา เช่น รานิบิซูแมบ  (Ranibizumab) บีวาซิซูแมบ (Bevacizumab) และ แอฟลิเบอร์เซ็ปต์ (Aflibercept) เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของงหลอดเลือดใหม่ เเละ ช่วยลดความบวมของจอประสาทตา
  • การเลเซอร์จอประสาทตา เพื่อช่วยหยุดหรือชะลอการรั่วซึมของหลอดเลือด
  • การผ่าตัด อาจเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเ ต้อกระจก ต้อหิน แผลเป็นที่จอประสาทตา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามองเห็นตามปกติ
  • การป้องกันภาวะเบาหวานขึ้นตา

    การป้องกันภาวะเบาหวานขึ้นตา อาจทำได้ดังนี้

  • รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หมั่นรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที เช่น การเดิน วิ่ง แอโรบิก
  • เลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่มีผลเสียต่อหลอดเลือด เป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้จอประสาทตาเสื่อมสภาพไว
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เเน้นรับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น พืชตระกูลถั่ว ผัก ผลไม้  ธัญพืชไม่ขัดสี ปลาแซลมอน และลดการบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวเช่น ข้าว/แป้งขัดขาว ขนมหวาน น้ำอัดลม ให้น้อยลง
  • พบคุณหมอจักษุแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ หรือในผู้ที่เป็นเบาหวานเเล้ว ควรรับการตรวจเสุขภาพตาเป็นประจำทุกปี
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 24/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา