backup og meta

น้ำคร่ำแตก หรือ น้ำเดิน สัญญาณและวิธีรับมือที่ควรรู้

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 07/08/2023

    น้ำคร่ำแตก หรือ น้ำเดิน สัญญาณและวิธีรับมือที่ควรรู้

    น้ำคร่ำแตก หรือน้ำเดิน คือ ภาวะที่ถุงน้ำคร่ำมีรอยแตกหรือรั่ว น้ำคร่ำจะไหลออกมาผ่านทางปากมดลูกและช่องคลอด ภาวะนี้ถือเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าทารกพร้อมคลอดแล้ว แม้จะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ใกล้คลอด แต่หากเกิดภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด โดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์ยังไม่ครบ 37 สัปดาห์ อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้

    น้ำคร่ำแตก หรือน้ำเดิน คืออะไร

    ทารกได้รับการปกป้องอยู่ในเยื่อหุ้มรก หรือถุงน้ำคร่ำ ซึ่งเต็มไปด้วยของเหลวที่เรียกว่า น้ำคร่ำ (Amniotic fluid) เมื่อถุงน้ำคร่ำมีรอยแตกหรือรั่ว น้ำคร่ำจะไหลออกมาผ่านทางปากมดลูกและช่องคลอด หรือที่เรียกว่า ภาวะน้ำเดิน นั่นเอง ส่วนใหญ่ภาวะนี้มักเกิดขึ้นเมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะการคลอด แต่ก็อาจเกิดขึ้นก่อนครบกำหนดคลอดได้เช่นกัน

    น้ำคร่ำแตกมีอาการอย่างไร

    ความรู้สึกของอาการน้ำคร่ำแตก แตกต่างกันไปในคุณแม่แต่ละคน อาจเป็นได้ทั้งความรู้สึกเหมือนถุงแตก น้ำคร่ำจะไหลทะลักออกมา และอาการน้ำคร่ำรั่วเล็กๆ จริงๆ คุณแม่ตั้งครรภ์บางรายอาจมีน้ำคร่ำไหลหยดช้าๆเหมือนกำลังปัสสาวะ

    ในขณะที่บางรายอาจรุนแรงกว่านั้นมาก แต่โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่ตั้งครรภ์จะรู้สึกถึงแรงกด จากนั้นจะรู้สึกเหมือนมีอะไรเล็ก ๆ แตกอยู่ข้างใน แล้วตามด้วยความรู้สึกโล่งทันทีที่ถุงน้ำคร่ำแตก

    สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่หรือท้องแรก อาจไม่มั่นใจว่าของเหลวที่ไหลออกมานั้นเป็นน้ำคร่ำหรือปัสสาวะกันแน่ จุดสังเกตก็คือ น้ำคร่ำจะมีลักษณะเป็นน้ำใสๆไม่เหนียว และไม่มีกลิ่น แต่ในบางครั้งน้ำคร่ำอาจมีกลิ่นเหมือนคลอรีนหรือน้ำอสุจิ หรืออาจมีเลือดปนอยู่เล็กน้อยได้เช่นกัน

    น้ำคร่ำแตกเมื่อไร

    โดยปกติแล้ว ถุงน้ำคร่ำจะแตกก่อนเกิดอาการเจ็บท้องคลอดเล็กน้อย แต่ก็ไม่ใช่ว่าผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะน้ำคร่ำแตกช่วงในเวลาเดียวกัน ผู้หญิงตั้งครรภ์ประมาณร้อยละสิบ มีภาวะน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอด ที่เรียกว่า “ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด” หรือ “ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์คลอด”(Premature rupture of membranes หรือ Prelabor rupture of membranes : PROM)

    ในบางกรณีที่พบได้น้อย ผู้หญิงตั้งครรภ์ประมาณร้อยละสาม อาจเกิดภาวะน้ำเดินในครรภ์ก่อนกำหนด (Preterm prelabor rupture of membranes: PPROM) ซึ่งหมายถึง ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์คลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ภาวะนี้ทำให้ทั้งคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง และหากน้ำคร่ำแตกเร็วเกินไป คุณหมออาจต้องกระตุ้นให้เริ่มมีการเจ็บครรภ์คลอด

    ควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อน้ำคร่ำแตก

    สิ่งแรกที่ควรปฏิบัติก็คือ ทำใจให้สงบ และโทรเรียกโรงพยาบาลในพื้นที่ ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ อาจมีน้ำคร่ำในปริมาณประมาณ 800 มิลลิลิตร เพื่อให้มั่นใจได้ว่า น้ำคร่ำจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย สามารถสวมใส่แผ่นอนามัยเพื่อป้องกันน้ำคร่ำไหลเปื้อนเสื้อผ้าได้

    หากมีน้ำคร่ำไหลออกมาในปริมาณมาก อาจป้องกันน้ำคร่ำเปื้อนเลอะเทอะได้ ด้วยการใช้ผ้าขนหนูสะอาดและแผ่นพลาสติกรองขณะเดินทางไปโรงพยาบาล

    จะทำอย่างไรหากน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด

    ในกรณีที่น้ำเดินหรือน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด อาจต้องรอให้เริ่มมีอาการเจ็บท้องคลอด ซึ่งมักเกิดขึ้นภายในเวลาประมาณ 24 ชั่วโมงหลังจากน้ำคร่ำแตก สามารถแช่น้ำหรืออาบน้ำฝักบัวได้ แต่ให้หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อของทารกในครรภ์ได้ หากถุงน้ำคร่ำแตกนานเกินกว่า 24 ชั่วโมงแล้ว แต่ยังไม่รู้สึกถึงอาการเจ็บท้อง ให้แจ้งคุณหมอทันที

    ในกรณีที่มีภาวะน้ำเดินในครรภ์ก่อนกำหนด (น้ำคร่ำแตกก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์) ควรแจ้งสูตินรีแพทย์ และไปโรงพยาบาลทันที ขณะเดินทางไปโรงพยาบาล ให้ระวังน้ำคร่ำให้ดี การสูญเสียน้ำคร่ำมากเกินไป อาจทำให้ลูกเกิดอาการเจ็บปวด และจะสังเกตเห็นได้จากสีของน้ำคร่ำ แทนที่จะเป็นน้ำใส ๆ น้ำคร่ำจะมีเลือดปนในปริมาณมาก และมีสีเขียวหรือสีคล้ำปนอยู่พร้อมกับมีกลิ่นเหม็น

    สิ่งสำคัญคือ เมื่อน้ำคร่ำแตก ต้องคอยสังเกตน้ำคร่ำให้ดี โดยเฉพาะในภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด เนื่องจากพบว่า ทารกที่แม่มีภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด มีอัตราการติดเชื้อมากกว่าทารกที่คลอดโดยไม่มีภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด คุณแม่ต้องเพิ่มระมัดระวังตัวเอง เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 07/08/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา