backup og meta

การดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสแรก ควรทำอย่างไร

การดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสแรก ควรทำอย่างไร

การดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสแรก เป็นเรื่องที่คุณแม่และสมาชิกในครอบครัวควรให้ความสำคัญ เนื่องจาก สุขภาพร่างกายโดยรวมของคุณแม่อาจส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อยในระยะยาวได้ โดยปกติแล้ว ในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในด้านต่าง ๆ เช่น เต้านมอ่อนไหวง่าย เหนื่อยล้า คลื่นไส้ อารมณ์แปรปรวนง่าย อาการแพ้ท้อง ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของคุณแม่ ดังนั้น การดูแลสุขภาพคนท้องช่วงไตรมาสแรก จึงเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และทารกในครรภ์

[embed-health-tool-due-date]

การดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสแรก

การดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสแรก สำหรับคุณแม่ที่รู้ว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์อาจทำได้ดังนี้

ตรวจร่างกาย

การเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจร่างกาย อาจช่วยให้คุณแม่ทราบถึงสุขภาพโดยรวมของตัวเอง โดยคุณหมอจะตรวจความดันโลหิต น้ำหนักและส่วนสูง ค่าดัชนีมวลกาย เพื่อกำหนดน้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ คุณหมอยังอาจตรวจสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

  • ตรวจเต้านมและหัวนม ตรวจอุ้งเชิงกราน ตรวจคัดกรองหัวใจ ปอด ต่อมไทรอยด์ และอาจตรวจเพื่อหามะเร็งปากมดลูก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพโดยรวมของคุณแม่
  • ตรวจหมู่เลือดหลัก A B O และหมู่เลือดย่อย Rh หากคุณแม่หรือคุณพ่อมีสถานะ Rh Negative การตั้งครรภ์จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
  • วัดค่าฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) เพื่อให้แน่ใจว่าระดับฮีโมโกลบินไม่ต่ำจนเกินไปเพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคโลหิตจาง ซึ่งภาวะโลหิตจางอาจทำให้คุณแม่รู้สึกเหนื่อยล้ามากและอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ เช่น ทารกน้ำหนักน้อย
  • ตรวจภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคหัดเยอรมัน โรคอีสุกอีใส
  • ตรวจการติดเชื้ออื่น ๆ คุณหมออาจแนะนำให้ตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ซิฟิลิส โรคหนองใน หนองในเทียม เอชไอวี รวมถึงอาจตรวจปัสสาวะเพื่อหาสัญญาณของการติดเชื้อในกระเพาะทางเดินปัสสาวะ

การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง

การที่คุณแม่มีสุขภาพที่ดีก็อาจส่งผลดีต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วยเช่นกัน ดังนั้น การดูแลสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณแม่ โดยการดูแลสุขภาพของคุณแม่อาจทำได้ดังนี้

  • ควรงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด ในขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและร่างกายของทารกในระยะยาวได้ ดังนั้น ควรงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่และการใช้สารเสพติดตลอดการตั้งครรภ์
  • ควรรับประทานอาการที่มีโภชนาการครบถ้วนและหลากหลายในระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนเป็นความต้องการที่เหมาะสมกับทารกในครรภ์ นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับกรดโฟลิก (Folic Acid) และอาหารเสริมไอโอดีน (Iodine Supplements)
  • ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในระหว่างตั้งครรภ์ สำหรับรายที่ออกกำลังตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ เพราะการออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณและทารก และหากคุณมีอาการไม่สบายหรือต้องการคำแนะนำในการออกกำลังกายควรปรึกษาคุณหมอเพื่อได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง
  • สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกควรนัดหมายฝากครรภ์ เพื่อเป็นการติดตามอาการและดูแลสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ และวางแผนในการดูแลอย่างเหมาะสม
  • เมื่อคุณแม่ต้องไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจสุขภาพหรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ ควรได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัว เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์
  • การฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย โดยคุณแม่อาจปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำในการฉีดวัคซีนที่เหมาะสม เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

First Trimester. https://www.webmd.com/baby/guide/first-trimester. Accessed July 15, 2021

Pregnancy week by week. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/basics/healthy-pregnancy/hlv-20049471. Accessed July 15, 2021

Pregnancy week by week. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/prenatal-care/art-20044882. Accessed July 15, 2021

First trimester. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/first-trimester. Accessed July 15, 2021

Folic Acid and Pregnancy. https://www.webmd.com/baby/folic-acid-and-pregnancy#1. Accessed July 15, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/12/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ขนาดท้อง1เดือน ใหญ่แค่ไหน อาการคนท้องมีอะไรบ้าง

ออกกำลังกายสำหรับท้องไตรมาสแรก แบบไหนจึงจะเหมาะสม


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์

สุขภาพทางเพศ · โรงพยาบาลนครพิงค์


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 29/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา