ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ตกเลือด
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ตกเลือด มีดังนี้
- โรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
- โรคอ้วน
- โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- การเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- การตั้งครรภ์ในช่วงอายุมาก
- การมีทารกในครรภ์มากกว่า 1 คน
- ปัญหาเกี่ยวกับรก เช่น รกเกาะต่ำ รกลอกก่อนกำหนด
- มดลูกขยายมากเกินไปเนื่องจากทารกมีขนาดตัวใหญ่
- การคลอดที่รวดเร็วกว่าปกติ
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยอาการตกเลือด
การวินิจฉัยอาการตกเลือด อาจทำได้โดยการวัดชีพจร วัดระดับออกซิเจน วัดความดันโลหิต และประเมินปริมาณของเลือดที่ออกจากช่องคลอดว่ามากเพียงใด โดยใช้ฟองน้ำดูดซับเลือดและชั่งน้ำหนัก จากนั้นจะตรวจร่างกายร่วมกับตรวจจำนวนเม็ดเลือดแดง การแข็งตัวของเลือดร่วมด้วย เพื่อหาสาเหตุที่อาจทำให้เกิดการตกเลือด
การรักษาอาการตกเลือด
การรักษาอาการตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ เป็นการรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดการตกเลือด เช่น ในกรณีที่แท้งไม่สมบูณ์ อาจต้องพิจารณาขูดมดลูก ในกรณีที่ตั้งครรภ์นอกมดลูก อาจต้องพิจารณาผ่าตัดนำท่อนำไข่ออก
สำหรับผู้ที่ตกเลือดหลังคลอด คุณหมออาจรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
- ยากระตุ้นให้เกิดการหดตัวของมดลูก เช่น ออกซิโทซิน (Oxytocin) เมทิลเออร์โกโนวีน (Methylergonovine) และยา ไมโสพรอสตอล (Misoprostol)
- การนวดให้มดลูกหดตัวเพื่อช่วยขับรกที่ตกค้างอยู่ให้ออกไป
- การขูดมดลูก กรณีมีชิ้นส่วนรกค้างอยู่ในโพรงมดลูก
- ผ่าตัดใส่บอลลูนเข้าไปบริเวณมดลูก เพื่อช่วยชะลอการตกเลือด
- ผ่าตัดผ่านการส่องกล้อง เพื่อซ่อมแซมหลอดเลือดที่ทำให้เลือดออก
- ผ่าตัดนำมดลูกออก ซึ่งอาจเป็นวิธีสุดท้ายที่คุณหมอเลือก หากอาการตกเลือดไม่ดีขึ้น
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย