backup og meta

รกลอกตัวก่อนกำหนด สัญญาณเตือน ปัจจัยเสี่ยง และการรักษา

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์ · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 28/11/2022

    รกลอกตัวก่อนกำหนด สัญญาณเตือน ปัจจัยเสี่ยง และการรักษา

    รกลอกตัวก่อนกำหนด หมายถึง ภาวะที่รกลอกตัวออกจากผนังมดลูกก่อนถึงกำหนดคลอด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทั้งหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้ อีกทั้งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้ทารกคลอดก่อนกำหนด และอาจทำให้ทารกมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ ความเสี่ยงในการเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ได้แก่ การตั้งครรภ์ลูกแฝด การตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมาก อุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อท้อง

    รกลอกตัวก่อนกำหนด คืออะไร

    ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Abruptio Placentae) หมายถึงภาวะที่รกหลุดออกจากผนังมดลูกก่อนที่จะถึงกำหนดคลอด หรือก่อนการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37 โดยปกติทารกจะได้รับน้ำ สารอาหาร ออกซิเจน และโลหิตที่ไหลเวียนผ่านทางสายรก และรกจะหลุดออกพร้อมกับทารกที่คลอดออกมา แต่ความผิดปกติในระหว่างการตั้งครรภ์ อาจทำให้รกลอกตัวออกมาก่อนกำหนดได้

    อย่างไรก็ตาม ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ไม่ปรากฎสาเหตุที่แน่ชัด จึงไม่สามารถเจาะจงได้ว่าเกิดจากอะไร แต่โดยทั่วไปแล้วมักเกิดจากการบาดเจ็บที่ท้อง เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ ถูกทำร้ายร่างกาย การพลัดตก หกล้ม หรืออาจเกิดจากการสูญเสียของเหลวหรือน้ำคร่ำที่อยู่รอบ ๆ ทารกอย่างรวดเร็ว

    รกลอกตัวก่อนกำหนด อันตรายต่อสุขภาพอย่างไร

    ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ที่ค่อนข้างอันตราย และจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคุณหมอ เพราะการที่รกลอกตัวออกจากผนังมดลูกก่อนกำหนดคลอด ถือว่ามีความเสี่ยงทั้งต่อแม่และเด็กในครรภ์ ดังนี้ 

    ความเสี่ยงต่อหญิงตั้งครรภ์

  • มีเลือดออกมากทางช่องคลอด 
  • เสี่ยงที่จะมีการคลอดฉุกเฉิน
  • เสี่ยงเกิดการตกเลือดทางช่องคลอดเป็นระยะ ๆ
  • ความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์

  • ทารกเสี่ยงที่จะได้รับน้ำ อาหาร สารอาหาร และออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ
  • เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
  • มีปัญหาด้านพัฒนาการและการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • สัญญาณของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

    หญิงตั้งครรภ์ที่มี ภาวะรกลอกก่อนกำหนด มักจะพบสัญญาณสุขภาพดังต่อไปนี้

    • รู้สึกไม่สบายตัว
    • ปวดท้องหรือปวดหลังอย่างกะทันหัน
    • กดและเจ็บบริเวณท้อง
    • มดลูกหดตัวกะทันหัน
    • มีเลือดออกมากทางช่องคลอด 

    โดยอาการดังกล่าวจะเริ่มแย่ลงเรื่อย ๆ หากไม่ได้รับการรักษาจากคุณหมอ ดังนั้น หากพบว่ามีอาการดังกล่าวตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ไปจนถึงในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มักเกิด ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด บ่อยที่สุด ควรไปพบคุณหมอทันที

    ปัจจัยเสี่ยงเกิดรกลอกตัวก่อนกำหนด

    ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

    อย่างไรก็ตาม การมีปัจจัยเสี่ยงไม่ได้หมายความว่าคุณแม่ตั้งครรภ์จะเสี่ยงต่อ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด เสมอไป เพียงแต่ระหว่างการตั้งครรภ์ ควรได้รับการตรวจและวินิจฉัยจากคุณหมอเป็นระยะ ๆ เพื่อความปลอดภัยต่อตัวแม่และเด็กในครรภ์ 

    รกลอกตัวก่อนกำหนด รักษาได้หรือไม่

    ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ไม่สามารถที่จะทำการรักษาโดยการใส่รกใหม่เข้าไปในครรภ์ได้ใหม่ คุณหมอมักรักษา ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ตามความรุนแรงของอาการ และอายุครรภ์ โดยอาจใช้วิธีดังต่อไปนี้ 

  • มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด เมื่ออายุครรภ์ได้ 24-34 สัปดาห์ และไม่มีอาการที่รุนแรง ไม่มีการเสียเลือดที่มากเกินไปจนอยู่ในระดับอันตราย คุณหมออาจพิจารณาให้ยาเพื่อเร่งการพัฒนาปอดของทารก และถ้าคุณแม่ไม่มีเลือดออกทางช่องคลอด คุณหมอมักให้กลับบ้านได้ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการรุนแรง เช่น มีเลือดออกมาก ควรอยู่โรงพยาบาลและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคุณหมอ จนกว่าอาการจะคงที่และสามารถกลับบ้านได้
  • มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด เมื่ออายุครรภ์ได้ 34 สัปดาห์ หรือใกล้คลอด หากเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดในระยะนี้คุณหมออาจให้ยาเร่งคลอดและทำการผ่าตัดคลอด เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลร้ายต่อสุขภาพคุณแม่และทารก
  • รกลอกตัวก่อนกำหนด ป้องกันได้หรือไม่

    ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดไม่สามารถป้องกันได้ เนื่องจากเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ที่อาจนำไปสู่ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดได้ ดังนี้

    • เลิกสูบบุหรี่
    • รักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
    • ไม่เสพยาเสพติดหรือยาที่ผิดกฎหมาย
    • ไม่ประมาทและระมัดระวังอุบัติเหตุต่าง ๆ อยู่เสมอ

    ภาวะความผิดปกติขณะตั้งครรภ์อย่าง ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ถือเป็นภาวะอันตรายทั้งต่อสุขภาพของแม่และเด็ก ดังนั้น ขณะตั้งครรภ์คุณแม่ควรหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกายอยู่เสมอ และเมื่อเกิดความผิดปกติใด ๆ ขึ้น ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยทันที

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 28/11/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา