backup og meta

ปัจจัยที่ทำให้การทำเด็กหลอดแก้วล้มเหลว

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 17/03/2022

    ปัจจัยที่ทำให้การทำเด็กหลอดแก้วล้มเหลว

    เด็กหลอดแก้ว หรือ In Vitro Fertilization: IVF เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการปฏิสนธิของไข่และอสุจิภายนอกร่างกาย จากนั้นนำตัวอ่อนไปฝังภายในมดลูกของผู้หญิง แล้วปล่อยให้ตัวอ่อนหรือทารกเจริญเติบโตตามธรรมชาติ แต่การทำเด็กหลอดแก้วอาจไม่ประสบผลสำเร็จทุกครั้งเสมอไปซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ความผิดปกติของไข่หรืออสุจิ ความผิดปกติของโครโมโซม ปัญหาในห้องปฏิบัติการ ดังนั้น คุณแม่จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการทำเด็กหลอดแก้วล้มเหลวเพื่อพิจารณาข้อดีและข้อเสียก่อนตัดสินใจทำเด็กหลอดแก้ว

    ปัจจัยที่ทำให้การทำเด็กหลอดแก้วล้มเหลว

    ตัวแปรที่สำคัญที่สุดในการทำเด็กหลอดแก้วให้ได้ผล ได้แก่ ไข่ที่แข็งแรง อสุจิที่แข็งแรง และมดลูกที่แข็งแรง ซึ่งจะเอื้อต่อการเจริญเติบโตของทารก ในหลายกรณีที่การทำเด็กหลอดแก้วล้มเหลว มีสาเหตุมากกว่าหนึ่งประการ คุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะดูที่ลักษณะของตัวอ่อน และประเมินอัตราการเจริญเติบโตตามปกติ เมื่อพบสาเหตุแล้ว คุณหมอจะพูดคุยกับครอบครัว เพื่อวางแผนการป้องกัน ซึ่งการทำเด็กหลอดแก้วไม่ได้ผลนั้นอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

    ความผิดปกติของไข่

    ความผิดปกติของไข่ มักเกิดขึ้นเมื่อเซลล์มีการแบ่งตัว และไม่มีการสร้างสำเนาโครโมโซมอย่างเหมาะสม ก่อให้เกิดความเสียหาย ส่งผลให้เกิดการกระจายตัวที่ผิดปกติของโครโมโซม เกิดตัวอ่อนที่ผิดปกติ ซึ่งความผิดปกตินี้พบได้บ่อยในผู้หญิงช่วงวัยกลางคน

    อสุจิที่ผิดปกติ

    ถึงแม้ว่าโอกาสที่จะพบอสุจิผิดปกติ นั้นมีน้อยกว่าการพบไข่ที่ผิดปกติ แต่หากพบว่าอสุจิมีภาวะผิดปกติ  ระดับความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซมจะส่งผลให้เกิดความล้มเหลวได้มากกว่า เพราะเมื่ออสุจิไม่แข็งแรง จะไม่สามารถผสมกับไข่ได้

    วิธีการเลือกตัวอ่อน

    ไข่หรือตัวอ่อนที่ได้รับการฝังตัวในร่างกายผู้หญิง จะได้รับการคัดเลือกโดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ โดยยึดตามหลักเกณฑ์สามประการในการเลือกตัวอ่อน ได้แก่ ระยะของเซลล์ คุณภาพของตัวอ่อน และอัตราการแบ่งตัวของเซลล์

    อย่างไรก็ดี เป็นเรื่องยากที่จะระบุได้ว่า ตัวเลือกที่เลือกนั้นสมบูรณ์แบบ  โดยตัวอ่อนที่ดีที่สุดคุณหมอจะเลือกได้โดยยึดตามการศึกษาในห้องปฏิบัติการ และสุ่มเลือกตัวอ่อนที่ดีที่สุดแต่ไม่สามารถรับรองความสมบูรณ์ของตัวอ่อนได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

    ความผิดปกติของโครโมโซม

    เช่นเดียวกับการตั้งครรภ์ตามปกติที่ตัวอ่อนมีโอกาสเกิดความผิดปกติทางโครโมโซม ทั้งนี้เกิดขึ้นได้จากยีนที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่ หรือเกิดการพัฒนาผิดปกติระหว่างที่ตัวอ่อนมีการแบ่งตัว ทำให้หยุดเจริญเติบโตได้

    ปัจจัยทางห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำเด็กหลอดแก้ว

    ห้องปฏิบัติการซึ่งเป็นที่เลี้ยงตัวอ่อนมักจะมีการควบคุมสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดี ผู้เชี่ยวชาญในห้องปฏิบัติการจำเป็นต้องควบคุมความเข้มข้นของออกซิเจน ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ ความชื้น ค่า pH อุณหภูมิ และแสงสว่าง ท่ามกลางปัจจัยอื่น ๆ อย่างเคร่งครัด ความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับปัจจัยดังกล่าวนี้ อาจทำให้ตัวอ่อนเสียชีวิตได้

    อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้วครั้งที่สอง

    หากการทำเด็กหลอดแก้วในครั้งแรกล้มเหลว และต้องการทำเด็กหลอดแก้วครั้งที่สอง สิ่งแรกที่ต้องดำเนินการก็คือ การตรวจสอบกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วครั้งแรก และหาสาเหตุที่ทำให้ล้มเหลว จากข้อค้นพบเหล่านี้ ผู้หญิงหลายรายสามารถทำเด็กหลอดแก้วครั้งที่สองประสบผลสำเร็จ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้ว ได้แก่

    • อายุของผู้หญิง
    • คุณภาพของไข่และอสุจิ
    • จำนวนของไข่และอสุจิ
    • คุณภาพของกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว
    • คุณภาพของห้องปฏิบัติการทำเด็กหลอดแก้ว
    • ทักษะของผู้เชี่ยวชาญในห้องปฏิบัติการทำเด็กหลอดแก้ว
    • อุปกรณ์ที่มี
    • สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
    • สภาพมดลูก
    • อัตราการเจริญเติบโตของตัวอ่อน
    • คุณสมบัติทางพันธุกรรมและทางโครโมโซมของตัวอ่อน

    เมื่อเปรียบเทียบกับการทำเด็กหลอดแก้วครั้งแรก อัตราความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้วครั้งที่สองจะต่ำกว่าเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่เอื้ออำนวย และการเตรียมความพร้อมของคุณหมออาจสร้างโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

    คุณหมอและผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาปัจจัยดังกล่าว และผลลัพธ์ที่ได้จากการทำเด็กหลอดแก้วครั้งแรก เพื่อให้โอกาสที่จะเกิดความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้วครั้งที่สองเป็นไปได้มากที่สุด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 17/03/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา