backup og meta

คุณพ่อมือใหม่ ควรเตรียมตัวอย่างไรเมื่อจะมีลูก

คุณพ่อมือใหม่ ควรเตรียมตัวอย่างไรเมื่อจะมีลูก

แน่นอนว่า การมีลูก ถือเป็นความใฝ่ฝันสำหรับหลาย ๆ ครอบครัวเป็นอย่างมาก แต่เมื่อเหล่าคุณผู้ชายทั้งหลายจะต้องกลายเป็น คุณพ่อมือใหม่ ควรจะต้องเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง อาจเป็นข้อสงสัยที่เกิดขึ้นกับหลาย ๆ คน เนื่องจากการเตรียมความพร้อมในการเป็นคุณพ่อมือใหม่ตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยให้รับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

คุณพ่อมือใหม่ ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

เมื่อรู้ว่าจะได้เป็น คุณพ่อมือใหม่ อย่างแรกที่จะเปลี่ยนไปก็คือชีวิตของคุณผู้ชายนั่นเอง ซึ่งการจะเป็นคุณพ่อมือใหม่ได้ อาจมีดังนี้

เริ่มต้นด้วยการหาข้อมูลต่าง ๆ

แม้คุณผู้ชายอาจจะไม่ใช่คนที่อุ้มท้อง แต่ก็ไม่ได้หวายความว่าจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์การตั้งครรภ์และการเกิดของลูกน้อย ดังนั้น ลองเข้าไปศึกษาข้อมูลต่าง ๆ จากการอ่านหนังสือ กลุ่มออนไลน์ หรือรับข่าวสารจากการตั้งครรภ์ เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวถูกหากภรรยากำลังประสบกับอาการระหว่างการตั้งครรภ์ หรือ อาการแพ้ท้อง การทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านี้จะทำให้สามารถช่วยสนับสนุนภรรยาได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ ควรศึกษาถึงเรื่องการทำคลอดในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการคลอดธรรมชาติ การผ่าคลอด รวมถึงเรื่องของการดูแลทารก การเลี้ยงลูกด้วยนม การเปลี่ยนผ้าอ้อม และอื่น ๆ เพราะเมื่อถึงเวลาที่เกิดขึ้นจริง จะทำให้สามารถรับมือได้อย่างราบรื่นขึ้น รวมถึงยังควรทำสิ่งเหล่านี้

  • เรียนรู้พื้นฐานในชั้นเรียนคลอดบุตร
  • พูดคุยกับภรรยาเกี่ยวกับการจัดการความเจ็บปวดระหว่างคลอด
  • เรียนรู้การนวดเพื่อช่วยให้ภรรยารู้สึกดีขึ้น
  • ชมสถานที่ที่มาการวางแผนการเกิด
  • ศึกษาเส้นทางที่ดีที่สุดไปยังสถานที่ที่ฝากครรภ์เอาไว้
  • เตรียมหมายเลขสำคัญเอาไว้ในโทรศัพท์

รักษาสุขภาพให้ดี

ก่อนที่ลูกน้อยจะเกิดมา เป็นเวลาที่ดีที่สุดที่จะมุ่งเน้นไปยังสุขภาพของตัวเอง หากสูบบุหรี่ก็ควรพยายามเลิก เพราะการที่ทารกในครรภ์ได้รับควันบุหรี่ตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้ ตรวจสอบนิสัยการกินว่าเป็นอย่างไร

การกินอาหารที่ดีจะช่วยเติมพลังให้กับการเป็นคุณพ่อมือใหม่ ลองเพิ่มอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์เข้าไปในมื้ออาหาร และพยายามไปพบคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพของตัวเอง

ใช้เวลาที่พิเศษกับภรรยา

ตั้งแต่วินาทีที่รู้ว่ากำลังจะมีลูก แน่นอนว่ากำลังจะมีความสุขเพิ่มขึ้น แต่เมื่อชีวิตจะกลายเป็น 3 คน ต้องอย่าลืมว่าช่วง 3 เดือนแรกพ่อและแม่จะมีเวลาให้กันไม่มากนัก ดังนั้น ช่วงเวลาก่อนที่ลูกน้อยจะคลอดออกมา ทั้งคู่จึงควรใช้ช่วงเวลานี้ร่วมกันให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ การใช้เวลาร่วมกันจะช่วยให้สายสัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้นนั่นเอง

จัดการเรื่องบ้านและรถยนต์

ในช่วงที่ภรรยากำลังตั้งครรภ์ พลังงานอาจจะลดลง ซึ่งคุณผู้ชายอาจช่วยได้โดยการเตรียมบ้านและรถยนต์เอาไว้ให้พร้อมกำลังลูก ดังนี้

พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการเป็นพ่อแม่

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะพูดคุยกับภรรยาในเรื่องที่เกี่ยวกับประเภทของการเป็นพ่อเป็นแม่ที่วางแผนเอาไว้ ลองพูดคุยถึงเรื่องของการดูแลลูกว่าอยากจะดูแลลูกอย่างไร อยากให้ลูกนอนในเปล หรือในห้องของตัวเองทันทีที่พาลูกกลับบ้านหรือไม่

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงการวางแผนเท่านั้น เพราะเมื่อคลอดลูกออกมาแล้วบางอย่างอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่การพูดคุยถึงเรื่องระเบียบวินัยและสิ่งต่าง ๆ จะช่วยทำให้ทั้งคู่ดูแลลูกไปในทิศทางเดียวกัน

ลองตัดสินใจว่าอยากจะเป็นพ่อแบบไหน

ใช่ทุกคนที่จะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพ่อของตัวเอง ถ้าโชคดีมีพ่อที่ยอดเยี่ยม บางครั้งคุณผู้ชายอาจจะอยากเป็นเหมือนพ่อของตัวเองก็ได้ ลองค้นหาแบบอย่างความเป็นพ่อของตัวเองว่าอยากจะเป็นคุณพ่อแบบไหน แล้วลองตัดสินใจดูว่าจะเป็นอย่างไร

เข้าร่วมชั้นเรียนเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูก

การไปเข้าร่วมชั้นเรียนเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูก จะทำให้รู้ได้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับลูกน้อยบ้าง แล้วจะทำให้รู้สึกมั่นใจที่จะรับบท คุณพ่อมือใหม่ นอกจากนี้ การเข้าร่วมชั้นเรียนเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกอาจทำให้ได้เคล็ดลับในการดูแลลูกกลับมา นอกจากการเข้าร่วมชั้นเรียนเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูก ลองทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

  • เรียนรู้วิธีการให้อาหารแก่เด็ก
  • เรียนรู้วิธีเปลี่ยนผ้าอ้อม เพื่อให้ภรรยาได้พักผ่อน
  • ลองหาหนังสือที่ชื่นชอบในวัยเด็ก เพื่อเอาไว้อ่านให้ลูกฟัง
  • อ่านข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กในอีกหลายปีข้างหน้า

จัดเตรียมกระเป๋าให้พร้อมสำหรับไปโรงพยาบาล

แน่นอนว่าคุณแม่ทุกคนจะต้องเก็บกระเป๋าเอาไว้ให้พร้อมก่อนที่จะคลอดลูก ซึ่งเหล่าคุณผู้ชายก็ควรจะต้องเตรียมกระเป๋าเอาไว้ให้พร้อมเช่นเดียวกัน สำหรับของที่ควรเตรียมเอาไว้ให้พร้อม มีดังนี้

  • โทรศัพท์มือถือและที่ชาร์จแบต แน่นอนว่าคงต้องการโทรศัพท์มือถือติดตัวเอาไว้ตลอดสำหรับกรณีฉุกเฉิน รวมถึงเก็บรูปภาพและความประทับใจต่าง ๆ และเมื่อแบตเตอรี่เหลือน้อย แน่นอนว่าก็ต้องการที่ชาร์จแบตเตอรี่อย่างแน่นอน
  • นิตยสารที่ชื่นชอบ อาจพกนิตยสารที่ชื่นชอบไปโรงพยาบาล เพื่อเอาไว้อ่านระหว่างที่รอคอย จะไม่ต้องนั่งมองนาฬิกาเพียงอย่างเดียว
  • ผ้าห่มและหมอน บางครั้งคุณอาจจะต้องไปนอนค้างที่โรงพยาบาล แนะนำว่าควรเตรียมผ้าห่มและหมอนของตัวเองไปด้วย เพื่อจะได้รู้สึกสบายมากขึ้น
  • ของขบเคี้ยว ในระหว่างที่รอลูกน้อยออกมาดูโลก การกินของว่างที่โปรดปรานอาจช่วยให้รู้สึกสงบขึ้นได้
  • แล็ปท็อปหรือแท็บเล็ต สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้อ่านสิ่งที่ต้องการ หรือใช้ในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงรับส่งอีเมลต่าง ๆ ในขณะที่กำลังรอลูกน้อยคลอดออกมานั่นเอง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

10 Things Every Dad-to-Be Must Do to Prepare for Fatherhood. https://www.babygaga.com/10-things-every-dad-to-be-must-do-to-prepare-for-fatherhood/. Accessed May 28, 2020

HOW CAN I PREPARE FOR BECOMING A DAD?. https://www.dad.info/article/how-can-i-prepare-for-becoming-a-dad. Accessed May 28, 2020

Dad’s To-Do List: Getting Ready for Baby. https://www.webmd.com/baby/dads-to-do-list-getting-ready-for-baby. Accessed May 28, 2020

Becoming a Father. https://kidshealth.org/en/parents/father.html. Accessed May 28, 2020

New dad: Tips to help manage stress. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/new-dad/art-20045880. Accessed May 28, 2020

Becoming a dad: adjusting to fatherhood. https://raisingchildren.net.au/grown-ups/fathers/early-days/becoming-a-dad. Accessed May 28, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/04/2023

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกไม่ยอมนอน คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร

สัญญาณออทิสติกในวัยรุ่น และวิธีดูแลที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 09/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา