backup og meta

ห้องน้ำสาธารณะ กับเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ไม่ต้องเสี่ยงกับการติดเชื้อโรค

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ห้องน้ำสาธารณะ กับเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ไม่ต้องเสี่ยงกับการติดเชื้อโรค

    ห้องน้ำสาธารณะ คือสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ยามไปใช้ชีวิตนอกบ้าน แต่เราสามารถป้องกันการติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ ด้วยขั้นตอนการใช้ที่ถูกวิธีดังต่อไปนี้

    10 ขั้นตอนดีๆ ในการหลีกเลี่ยงเชื้อโรคใน ห้องน้ำสาธารณะ

    ขั้นตอนที่ 1: หาห้องน้ำสาธารณะคู่ใจ

    คุณควรสอดส่องหาห้องน้ำสาธารณะสะอาดๆ ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ๆ คุณไปทำธุระนอกบ้าน เพื่อใช้เป็นที่บำบัดทุกข์ในยามคับขัน และไม่ต้องเสี่ยงกับการเปิดเข้าไปในห้องน้ำ แล้วต้องกรีดร้องด้วยความตกใจกลัว โดยห้องน้ำคู่ใจนั้นอาจจะเป็นห้องน้ำของโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ร้านกาแฟ หรือร้านอาหารเจ้าประจำของคุณก็ได้

    ขั้นตอนที่ 2: ย่างเท้าเข้าห้องอย่างถูกวิธี

    พยายามอย่างแตะต้องหรือสัมผัสกับพื้นผิวใดๆ โดยตรง เริ่มจากที่จับประตูไปเลย เนื่องจากผลการศึกษาวิจัยระบุว่า ผู้คนจำนวน 95 เปอร์เซ็นต์ล้างมือกันอย่างไม่ถูกต้อง จึงมีสิทธิ์ที่เชื้อโนโรไวรัส (ที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย และอาเจียน) เชื้อคลอสไทรเดียม ดิฟิซายล์ (ที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียขั้นรุนแรง) และเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ กำลังรอให้คุณนำมือไปสัมผัสอยู่ก็ได้

    เคล็ดลับคือใช้กระดาษทิชชู่ ผ้าพันคอ หรือแม้แต่แขนเสื้อของคุณ เป็นตัวปกป้องไม้ให้มือต้องไปสัมผัสโดยตรง โดยอาจใช้ข้อศอก แขนเสื้อ หรือไหล่ในการผลักประตูให้เปิดออก หรือใช้มือข้างที่ไม่ถนัดในการสัมผัสกับประตูห้องน้ำ

    ขั้นตอนที่ 3: จัดการกับเรื่องกลิ่น

    พยายามอย่าให้โมเลกุลของกลิ่นลอยเข้ารูจมูกคุณได้ ถ้ามีสเปรย์ปรับกลิ่นอยู่ในมือก็นำออกมาใช้ซะ แต่ถ้าไม่มีก็ใช้กระดาษทิชชู่ แขนเสื้อ แขนตัวเอง หรือผ้าพันคอบางๆ ปิดจมูกเอาไว้ การสูดหายใจผ่านข้อพับแขนของตัวเองอาจช่วยให้กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ มีกลิ่นที่ซอฟท์ลงก็ได้นะ

    ขั้นตอนที่ 4: เดินตรงเข้าไปที่โถส้วม

    คุณควรใช้เทคนิคเดียวกันกับขั้นตอนที่สอง พร้อมกับจดจำให้ขึ้นใจว่า อย่าแตะต้องอะไรด้วยมือเปล่าๆ เด็ดขาดในนั้นไม่มีอะไรที่ปลอดภัยสำหรับคุณเลย ถ้าคนที่ใช้ห้องน้ำก่อนคุณกดชักโครก น้ำในโถชักโครกก็อาจกระเซ็นขึ้นมาในอากาศ แล้วเกาะติดอยู่ที่ไหนซักแห่งในนั้น แถมเชื้อแบคทีเรียจากอุจจาระพวกนั้น ยังอาจมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกหลายชั่วโมงด้วย

    ขั้นตอนที่ 5: เข้าไปยังที่นั่ง

    คุณควรสำรวจตรวจตาที่นั่งบนโถชักโครกให้ดีก่อนนั่ง โดยมองหาส่วนที่มีความชื้นหรือมีสีแปลกๆ ซึ่งอาจเป็นคราบปัสสาวะ อุจจาระ หรือเลือด ซึ่งคุณไม่ควรเสี่ยงที่จะนั่งทับลงไปเด็ดขาด รวบกระดาษทิชชูในห้องน้ำมาเช็ดที่นั่งให้สะอาด ก่อนจะปูกระดาษรองนั่งลงไป ซึ่งถ้าห้องน้ำนั้นไม่มีกระดาษปูนั่น ก็ใช้กระดาษทิชชูในห้องน้ำนั่นแหละวางแปะไปที่ทั่วที่นั่ง แล้วถึงค่อยนั่งลงได้

    ขั้นตอนที่ 6: กดชัดโครก

    หลังจากทำธุระเสร็จแล้ว ก็ใช้กระดาษทิชชู่ในห้องน้ำเป็นตัวสัมผัสกับปุ่มหรือคันโยกสำหรับชักโครก แล้วโยนกระดาษชำระนั้นลงไปในโถชักโครกด้วยเลย 

    ขั้นตอนที่ 7: ก้าวเท้าออกจากประตู

    ขั้นตอนนี้คุณก็ควรใช้กระดาษทิชชูในห้องน้ำเป็นตัวสัมผัสกับที่จับประตู เวลาเปิดประตูห้องน้ำออกเหมือนกันด้วย

    ขั้นตอนที่ 8: ล้างมือให้สะอาด

    นี่คือขั้นตอนที่สำคัญที่สุด! คุณควรล้างมือตามวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง และควรใช้กระดาษทิชชูในการปิดและเปิดก๊อกน้ำ เนื่องจากอาจมีคนบางคนที่มีคราบอุจจาระติดมือมาแล้วเปิดปิดก๊อกน้ำก่อนหน้าคุณก็ได้ นอกจากนี้ก็ควรใช้กระดาษทิชชู่กดปุ่มให้สบู่ไหลลงมาบนมือคุณด้วยนะ การใช้น้ำกับสบู่ล้างมือ น่าจะช่วยลดเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียลงได้ 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าไม่มีสบู่ในห้องน้ำ ก็ใช้เจลทำความสะอาดมือแบบไม่ต้องใช้น้ำซะ ซึ่งถ้าเป็นไปได้ก็ควรพกเจลล้างมือแบบนี้ติดตัวคุณไปทุกที่ด้วย

    ขั้นตอนที่ 9: ทำให้มือแห้ง

    ถ้าในห้องน้ำมีที่เป่ามือให้แห้ง ก็ใช้ที่เป่ามือให้แห้งซะ หรือถ้าไม่มีก็ใช้กระดาษทิชชูนั่นแหละเช็ดให้แห้ง แต่ถ้าโชคร้ายจริงๆ ที่หากระดาษทิชชูไม่ได้ ก็เช็ดกับเสื้อผ้าที่คุณใส่อยู่นั่นแหละ อย่างน้อยก็ยังสะอาดกว่าสิ่งต่างๆ ที่วางอยู่ในห้องน้ำสาธารณะล่ะ

    ขั้นตอนที่ 10: เดินออกจากห้องน้ำ

    อย่าลืมคว้ากระดาษทิชชู่แถวๆ อ่างล้างมือ มาใช้จับลูกบิดประตูให้เปิดออกด้วยนะ แล้วโยนทิ้งลงในถังขยะที่อยู่ใกล้ที่สุด แต่ถ้าหากระดาษทิชชูไม่ได้ ก็พยามหาวิธีที่จะไม่ต้องสัมผัสกับประตูห้องน้ำโดยตรง และถ้าจำเป็นก็อาจต้องใช้เจลทำความสะอาดมืออีกรอบหลังออกจากห้องน้ำมาได้แล้ว

    Hello Health Groupไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา