backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

กินอาหารไม่ตรงเวลา รู้ไหมเสี่ยงต่อสุขภาพหลายประการ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 09/11/2022

กินอาหารไม่ตรงเวลา รู้ไหมเสี่ยงต่อสุขภาพหลายประการ

ด้วยสภาพสังคมปัจจุบันที่ทุกอย่างเต็มไปด้วยความเร่งรีบและรวดเร็ว ส่งผลให้การดำเนินชีวิตประจำวันของคนเราจำเป็นต้องรีบเร่งตามไปด้วยอย่างเสียไม่ได้ จนหลายครั้งก็ทำให้เราต้องเลือกที่จะตัดหรือข้ามกิจวัตรประจำวันที่สำคัญหลาย ๆ อย่างไป โดยเฉพาะการรับประทานอาหาร ที่เมื่อยุ่งมาก ๆ เราก็มักจะหลงลืมเวลา ทำให้ กินอาหารไม่ตรงเวลา อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งแม้จะไปทดแทนเอาในมื้อต่อ ๆ ไปได้ แต่การกินอาหารไม่ตรงเวลาเป็นประจำ อาจมีผลเสียต่อสุขภาพได้ วันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อสุขภาพเมื่อกินอาหารไม่ตรงเวลามาฝากค่ะ

ทำไมเราควร กินข้าวให้ตรงเวลา

การกินอาหารให้ตรงเวลา เป็นเรื่องที่ถือว่ามีความสำคัญต่อระบบร่างกายในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้

เสริมการทำงานของระบบเผาผลาญ

การรับประทานอาหารจะช่วยให้ระบบในร่างกายเริ่มวงจรการทำงานได้เป็นปกติ แต่เมื่ออดอาหาร หรือ กินข้าวไม่ตรงเวลา ไม่ว่าจะในมื้อใดก็ตาม ร่างกายจะรู้สึกขาดพลังงาน ระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะเริ่มทำงานช้าลง โดยเฉพาะการเผาผลาญที่จะทำงานช้าลงกว่าปกติ  ทำให้เผาผลาญแคลอรีได้น้อย ผู้ที่กำลังลดน้ำหนักหากต้องการลดน้ำหนักอย่างเห็นผลจึงไม่ควรอดอาหาร

เสริมพลังงานแก่ร่างกาย

การกินอาหารให้ตรงเวลา จะช่วยให้ระยะเวลาหลังจากนั้นร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอที่จะไปหล่อเลี้ยงระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยให้รู้สึกกระฉับกระเฉง มีพลังงานเพียงพอพร้อมต่อการทำกิจกรรม มากไปกว่านั้น ยังช่วยให้มีสมาธิอีกด้วย

ช่วยลดการกินจุกจิก

การรับประทานอาหารให้ตรงเวลาจะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานในแต่ละมื้ออย่างเพียงพอ จะช่วยลดความอยากอาหารในมื้อต่อไป ทำให้ไม่กินจุกจิก หรือกินมากขึ้นในมื้อต่อไปเพื่อทดแทนพลังงานให้แก่ร่างกาย ซึ่งตรงกันข้ามกับการ กินข้าวไม่ตรงเวลา ที่เสี่ยงจะทำให้หิวบ่อย หรือกินจุกจิกมากขึ้น

ป้องกันการขาดสารอาหาร

การรับประทานอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อและทุกวัน จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและเพียงพอ การอดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง หรือการ กินข้าวไม่ตรงเวลา อาจทำให้ในวันนั้นร่างกายได้รับสารอาหารบางอย่างไม่เพียงพอ และถ้าหากทำจนติดเป็นนิสัย ก็เสี่ยงที่จะประสบกับภาวะขาดสารอาหารบางชนิด เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน หรือวิตามินต่าง ๆ ได้

กินอาหารไม่ตรงเวลา เสี่ยงต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

การ กินข้าวไม่ตรงเวลา บ่อย ๆ ในระยะยาวอาจมีผลเสียต่อสุขภาพได้หลายประการ ดังนี้

กินข้าวไม่ตรงเวลา มีผลต่อน้ำตาลในเลือด

หากอดอาหาร หรือ กินข้าวไม่ตรงเวลา เป็นประจำ ร่างกายจะไม่ได้รับคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นพลังงานสำคัญของร่างกาย เมื่อระดับคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมีความผันผวนเช่นนี้ ก็จะเกิดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน มากไปกว่านั้น สมองยังจำเป็นต้องใช้กลูโคสเพื่อกระตุ้นการทำงานของสมอง หากระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจะทำให้สมองทำงานได้ช้าลงด้วย

มีผลต่อระบบย่อยอาหาร

การ กินข้าวไม่ตรงเวลา จะทำให้ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ ไม่มีอาหารและสารอาหารให้ระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหารได้ทำหน้าที่ตามปกติ เสี่ยงที่จะเป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือแผลในกระเพาะอาหาร

ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง

การ กินข้าวไม่ตรงเวลา จะทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ช้าลง เผาผลาญแคลอรีน้อยลง ร่างกายจึงได้รับพลังงานไม่เต็มที่ มีผลให้ระบบต่าง ๆ เกิดความผิดปกติ เช่น ร่างกายรู้สึกเหนื่อยล้า ความเครียด ความดันโลหิตต่ำ ท้องผูก

กินข้าวไม่ตรงเวลา เสี่ยงต่อโรคอ้วน

เมื่ออดอาหาร จะทำให้ความอยากอาหารมื้อต่อไปเพิ่มมากขึ้น เสี่ยงที่แคลอรีจะพุ่งเกินพิกัด และถ้าหากมีพฤติกรรม กินข้าวไม่ตรงเวลา เป็นประจำก็จะมีผลต่อน้ำหนัก ในระยะยาวอาจเสี่ยงต่อโรคอ้วนได้

กินอาหารไม่ตรงเวลา ควรแก้ไขอย่างไร

เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • หากไม่สะดวกรับประทานอาหารมื้อใหญ่ในมื้อนั้น ๆ ให้พยายามแบ่งอาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ กินหลาย ๆ เวลา เพื่อไม่ให้ร่างกายหิวโหย
  • หากมีภารกิจประจำวันที่แสนยุ่งเหยิง ควรพกของว่างติดตัวไว้เสมอ เช่น ผลไม้ ขนมปัง นม โยเกิร์ต เพื่อให้มีอาหารรองท้อง ลดอาการหิวโหยระหว่างวัน
  • เน้นของว่างที่มีโปรตีนและไฟเบอร์ เพราะจะทำให้ร่างกายอิ่มได้นานขึ้น
  • หากรู้ล่วงหน้าว่าจะไม่มีเวลามากพอในการกินอาหาร ควรเตรียมอาหารหรือของว่างไว้ล่วงหน้า เพื่อจะได้ไม่ต้องอดอาหารในวันนั้น
  • อย่าอดอาหาร พยายามรับประทานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • ตั้งเวลาเพื่อเตือนว่าถึงเวลาที่ควรกินอาหารแล้ว และควรปฏิบัติตามระยะเวลาที่ตั้งไว้ พยายามอย่า กินข้าวไม่ตรงเวลา บ่อย ๆ เพราะจะติดเป็นนิสัยและแก้ได้ยาก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 09/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา