backup og meta

เป็นแผลในกระเพาะอาหาร มีวิธีป้องกันและรักษาได้อย่างไรบ้าง

เป็นแผลในกระเพาะอาหาร มีวิธีป้องกันและรักษาได้อย่างไรบ้าง

หนึ่งในอาการทางสุขภาพที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารที่เรามักจะพบกันได้บ่อย ๆ ก็คือ แผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้หากมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อระบบทางเดินอาหาร แต่ถ้าจู่ ๆ เราก็เป็นแผลในกระเพาะอาหารขึ้นมาล่ะ จะมีวิธีรับมืออย่างไรได้บ้าง หากสงสัยกันล่ะก็ วันนี้ Hello คณหมอ มีสาระน่ารู้และวิธีการรับมือเมื่อ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร มาฝากค่ะ

แผลในกระเพาะอาหารคืออะไร

แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) เกิดจากการที่เยื่อบุในกระเพาะอาหารถูกทำลายจากกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร หรือบางครั้งอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (Helicobacter Pylori) การรับประทานยาแอสไพริน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด หรือแม้แต่การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดจัด ก็สามารถก่อให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้เช่นเดียวกัน 

แผลในกระเพาะ อาหารสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

  • แผลในกระเพาะอาหารที่เกิดขึ้นด้านในของกระเพาะอาหาร (Gastric ulcers)
  • แผลในกระเพาะอาหารที่เกิดบนเยื่อบุลำไส้เล็ก (Duodenal ulcer)

อาการของแผลในกระเพาะอาหารเป็นอย่างไร

ผู้ที่เป็น แผลในกระเพาะอาหาร มักจะมีอาการดังต่อไปนี้

อาการปวดของ แผลในกระเพาะอาหาร สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยา อาการปวดก็อาจกลับมาได้อีกครั้ง หรืออาจทำให้มีอาการปวดท้องในตอนกลางคืน

เป็นแผลในกระเพาะอาหาร จะรักษาได้อย่างไร

แผลในกระเพาะอาหาร สามารถหายเองได้ แต่ก็สามารถที่จะกลับมาเป็นอีกครั้งได้เช่นกัน แพทย์จำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุเพื่อที่จะได้ทำการรักษาได้อย่างตรงจุด โดยอาจใช้วิธีการรักษาดังต่อไปนี้

  • หากสาเหตุในการเกิด แผลในกระเพาะอาหาร มาจากติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์ก็จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • รักษาโดยการให้รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • รักษาโดยการให้รับประทานยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร
  • รักษาโดยการให้รับประทานยาป้องกันเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ

อย่างไรก็ตาม แผลในกระเพาะอาหาร อาจรักษาไม่หาย ถ้าหาก

  • ไม่รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
  • เชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรเกิดการดื้อยา
  • สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • หากเป็นแผลที่เกิดจากการใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มสเตียรอยด์เป็นประจำ
  • มีการผลิตกรดในกระเพาะอาหารมากจนเกินไป
  • หากเป็นแผลที่เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นที่ไม่ใช่เชื้อเอชไพโลไร
  • เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • มีอาการทางสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก เช่น โรคโครห์น (Crohn’s Disease)

วิธีป้องกันไม่ให้ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร

เราสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะเป็น แผลในกระเพาะอาหาร ได้ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตง่าย ๆ ดังนี้

  • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
  • เลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่จะไปเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร และยังอาจรบกวนการทำงานของเยื่อบุในกระเพาะอาหารอีกด้วย
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะก่อให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหารและลำไส้
  • รับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดแต่พอดี เพราะอาหารที่มีรสชาติเผ็ดร้อน สามารถก่อให้เกิดการอักเสบในกระเพาะอาหารได้
  • ผ่อนคลายความเครียดอยู่เสมอ เพราะความเครียดอาจส่งผลต่อกระเพาะอาหาร และเสี่ยงต่อการอักเสบภายในกระเพาะอาหารได้

เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

ไปพบคุณหมอทันทีหากคุณมีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง หรืออาการปวดท้องเนื่องจาก แผลในกระเพาะอาหาร ไม่ดีขึ้นแม้จะรับประทานยาแก้ปวดแล้วก็ตาม เพราะหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา แผลในกระเพาะอาหาร อาจจะมีอาการรุนแรงขึ้น แล้วนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น

  • การตกเลือดภายใน
  • กระเพาะอาหารเป็นรู
  • การอุดตันในทางเดินอาหาร
  • โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

 

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Peptic ulcer. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/peptic-ulcer/symptoms-causes/syc-20354223#:~:text=Peptic%20ulcers%20are%20open%20sores,the%20inside%20of%20the%20stomach. Accessed January 22, 2021.

Peptic Ulcer. https://www.healthline.com/health/peptic-ulcer. Accessed January 22, 2021.

What Is a Peptic Ulcer?. https://www.webmd.com/digestive-disorders/peptic-ulcer-overview#1. Accessed January 22, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/02/2021

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทารกท้องอืด แก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ รับมือได้อย่างไรบ้าง

แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 01/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา