backup og meta

หย่าร้าง ปัญหาครอบครัวกับวิธีรับมือสำหรับคนเป็นลูก

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/07/2023

    หย่าร้าง ปัญหาครอบครัวกับวิธีรับมือสำหรับคนเป็นลูก

    หย่าร้าง เป็นปัญหาครอบครัวที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาวะจิตใจของผู้ที่เป็นลูก พ่อแม่ที่กำลังคิดแยกทางกัน อาจต้องหาวิธีจัดการและสื่อสารกับลูกให้เข้าใจถึงเหตุผลและสภาวะที่เกิดขึ้น ปัญหาหย่าร้าง หรือครอบครัวแตกแยก อาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในชีวิตของลูก อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาได้ พ่อแม่อาจจำเป็นต้องปรึกษากันเพื่อหาวิธีช่วยให้ลูกน้อยสามารถรับมือกับการหย่าร้างของพ่อแม่ได้

    พ่อแม่ หย่าร้าง ควรบอกลูกอย่างไรดี

    เมื่อพ่อแม่หย่าร้างกัน จำเป็นต้องบอกให้ลูกรับรู้ แต่อาจไม่จำเป็นต้องอธิบายถึงรายละเอียดของการหย่าร้างหรือแยกทางกันในครั้งนี้  เพราะยิ่งเด็กรับรู้เรื่องการหย่าร้าง และความขัดแย้งของพ่อแม่มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งส่งผลเสียต่อตัวเด็กมากเท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า พ่อแม่ควรบอกเรื่องการหย่าร้างให้ลูกรู้ โดยใช้เทคนิคดังต่อไปนี้

    • ไม่พูดจาถึงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในแง่ลบ เด็กจะได้ยังคงรู้สึกรักทั้งพ่อและแม่ได้เหมือนเดิม ไม่รู้สึกแย่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
    • ต้องบอกให้ลูกรู้ว่าพ่อและแม่รักลูกมากแค่ไหน
    • บอกความจริงกับลูก แต่ควรเป็นเรื่องที่พ่อและแม่ตกลงร่วมกันและพิจารณาแล้วว่าเหมาะสมที่จะให้ลูกรับรู้
    • อธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุด และตรงประเด็นที่สุด
    • ทำให้ลูกมั่นใจว่าถึงแม้พ่อกับแม่จะแยกทางกัน แต่ความรักและความผูกพันของพ่อแม่กับลูกก็ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
    • พยายามบอกให้ลูกเข้าใจว่าอนาคตต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง และอธิบายถึงแผนชีวิตคร่าวๆ

    เรื่องที่พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อหย่าร้างกัน

    • ใช้ลูกเป็นคนส่งสารถึงอีกฝ่าย วิธีนี้จะทำให้เด็กรู้สึกว่าคนเป็นผู้ใหญ่ไม่ต้องคุยกันตรง ๆ หรือสามารถใส่ร้ายป้ายสีกันได้
    • ใช้ลูกเป็นสายลับ คอยสืบเรื่องราวความเป็นไปของอีกฝ่าย
    • นินทาว่าร้ายอีกฝ่ายให้ลูกฟัง เพราะจะส่งผลเสียกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กได้ ทั้งยังเป็นการกดดันให้เด็กรู้สึกว่าตัวเขาเองต้องเลือกข้าง ว่าจะเข้าข้างพ่อหรือแม่
    • แข่งกันตามใจลูก เช่น เมื่อพ่อบอกว่าจะซื้อรถของเล่นให้ แม่ก็บอกว่าจะซื้อคันที่ใหญ่กว่าให้เหมือนกัน เพราะอาจทำให้เด็กเลือกอยู่กับฝ่ายที่ให้ของขวัญถูกใจกว่า และไม่สนใจอีกฝ่ายได้

    ผลกระทบต่อเด็กเมื่อพ่อแม่หย่าร้าง

    ความรู้สึกของเด็กๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการที่พ่อแม่หย่าร้างกัน เช่น

    ยิ่งหากพ่อแม่หย่าร้างกันแล้ว เด็กต้องย้ายบ้านหรือย้ายโรงเรียน ก็อาจทำให้เด็กเครียดหรือเป็นกังวลยิ่งกว่าเก่า เพราะเขากลัวจะไม่ได้ติดต่อกับเพื่อนกลุ่มเดิมอีก

    อารมณ์ต่าง ๆ ของเด็กที่เกิดขึ้นเมื่อพ่อแม่หย่าร้างกัน หากปล่อยไว้นานวันอาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ร้ายแรงหรือเรื้อรังได้ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล เป็นต้น โดยสุขภาพกายและสุขภาพจิตนั้นเชื่อมโยงกัน ฉะนั้นเมื่อเด็กมีปัญหาสุขภาพจิต ก็อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพกายตามมา

    วิธีที่ช่วยให้เด็กรับมือกับการหย่าร้างได้ดีขึ้น

    เมื่อพ่อแม่หย่าร้างกัน ลูกย่อมต้องรู้สึกว่าเขาสูญเสียบางอย่างในชีวิตไป ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียพ่อหรือแม่ สูญเสียสมาชิกในครอบครัว หรือสูญเสียชีวิตประจำวันที่เคยมี และการสูญเสียก็อาจส่งผลกระทบร้ายแรงกับสุขภาพและการใช้ชีวิตของเด็กได้ คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยให้เด็กรับมือกับการหย่าร้าง หรือการสูญเสีย ด้วยวิธีเหล่านี้

    • รับฟัง พยายามให้ลูกบอกความรู้สึกที่แท้จริงออกมา และพ่อแม่ควรรับฟังอย่างตั้งใจ
    • ช่วยลูกนิยามความรู้สึกของเขา เด็ก ๆ อาจแสดงความรู้สึกไม่เป็น โดยเฉพาะเมื่อเป็นเด็กเล็ก พ่อแม่จึงต้องคอยสังเกตอารมณ์และพยายามให้เขาระบายความรู้สึกออกมาให้ได้
    • คอยส่งข่าวและข้อมูลการหย่าร้างให้ลูกรับรู้ตลอด เด็กอาจจะมีคำถามเกี่ยวกับการหย่าร้างของคุณ และอยากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อเขาถามก็ควรอธิบาย  อย่าให้ลูกรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนเกิน หรือทำให้เขารู้สึกว่าพ่อแม่พยายามปิดบังอะไรอยู่
    • ทำให้ลูกรู้ว่าการที่พ่อแม่หย่าร้างกันไม่ใช่ความผิดของเขา เพราะหากลูกคิดว่าตัวเองเป็นสาเหตุของการหย่าร้าง ก็อาจส่งผลต่อจิตใจและการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ทำให้ผลการเรียนตกต่ำ มีปัญหาทะเลาะหรือชกต่อยกับคนอื่น เป็นต้น
    • ทำให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่ยังคงรักและคอยสนับสนุนเขาเหมือนเดิม อาจแสดงให้เขาเห็นทั้งด้วยคำพูดและการกระทำ เช่น บอกรัก กอด หอมแก้ม เป็นต้น

    แม้การหย่าร้างกันของพ่อแม่จะเป็นเรื่องที่ลูกรู้สึกทำใจหรือยอมรับได้ยาก แต่หากพ่อแม่ลองทำตามคำแนะนำต่าง ๆ ข้างต้น อาจช่วยเด็กรับมือกับการหย่าร้างได้ดีขึ้น หรือหากมีแนวโน้มที่การหย่าร้างของพ่อแม่อาจสร้างปัญหาสุขภาพจิตแก่ลูก ควรปรึกษาจิตแพทย์

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/07/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา