ผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กมีความบกพร่องทางสติปัญญา
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาอาจขาดการเรียนรู้หรือเรียนรู้ได้ช้ากว่าปกติ ผลกระทบจากการเรียนรู้ได้ช้า เด็กมักรู้สึกหงุดหงิดตัวเองเมื่อไม่สามารถทำในสิ่งที่ต้องการได้อย่างคล่องตัว หรือไม่ได้ดั่งใจต้องการ จนอาจล้มเลิกความตั้งใจหรือไม่พยายามทำสิ่งนั้น ๆ ต่อ อีกทั้งความบกพร่องทางสติปัญญายังอาจส่งผลให้เด็กถูกกลั่นแกล้งด้วยการกระทำหรือคำพูด ซึ่งอาจกระทบต่อจิตใจ ทำให้เด็กเครียดหรือซึมเศร้า จนอาจถึงขั้นคิดฆ่าตัวตายได้
วิธีดูแล เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
วิธีดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีดังนี้
- ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา พฤติกรรม ภาษา และกายภาพ ควรพาเด็กเข้ารับการฟื้นฟูและกระตุ้นพัฒนาการ ซึ่งคุณหมอจะจัดโปรแกรมบำบัดที่เหมาะสมกับอาการและช่วงวัยของเด็ก ดังนี้
- เด็กแรกเกิดถึง 6 ปี อาจทำกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ข้อต่อต่าง ๆ ทั้งข้อเล็กและข้อใหญ่ แขน ขา และลำตัว กระตุ้นให้เด็กมีการเคลื่อนไหวที่ดี และอาจกระตุ้นให้เด็กช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น การจับสิ่งของอย่างช้อน แปรงสีฟัน และการฝึกให้เปล่งเสียง ออกเสียง
- เด็กช่วงอายุ 7-15 ปี เป็นกลุ่มเด็กวัยเรียน ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงเรียนและรูปแบบการสอนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา อย่างไรก็ตาม เด็กอาจจำเป็นต้องได้รับการบำบัดเพิ่มเติมจากคุณหมอด้วย
- เด็กช่วงอายุ 15-18 ปี คุณหมออาจฝึกพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการเข้าสังคม เช่น การปฏิบัติตามคำสั่ง วินัยการตรงต่อเวลา มารยาทในสังคม การรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อให้เด็กใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยทำงาน
ส่งเสริมการทำกิจกรรมที่เพิ่มทักษะการเข้าสังคม เช่น การเรียนศิลปะเป็นกลุ่ม กระตุ้นให้เด็กช่วยเหลือตัวเอง แต่ควรอยู่ภายใต้การดูแลของคนในครอบครัว เพื่อป้องกันอันตราย มีส่วนร่วมกับการฝึกฝนตามที่คุณหมอแนะนำ เพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้เด็กเมื่ออยู่ที่บ้าน ให้ความรัก ความอบอุ่นแก่เด็ก จะช่วยให้เด็กรู้สึกถึงความมั่นคง และเป็นการส่งเสริมกำลังใจให้เด็กอยากเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย