โรคเซลิแอคในเด็ก เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศทุกวัย โดยมีแนวโน้มสูงที่จะเกิดจากการสืบทอดทางพันธุกรรม เพื่อให้แน่ใจว่าลูกของคุณมีแนวโน้มเป็นโรคเซลิแอคหรือไม่ มาลองอ่านบทความนี้แล้วคุณจะรู้ว่าโรคเซลิแอคแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร
โรคเซลิแอคในเด็ก คืออะไร?
โรคเซลิแอค (Celiac disease) เป็นโรคภูมิต้านทานตนเองที่ร้ายแรง มีแนวโน้มสูงที่จะเกิดจากการสืบทอดทางพันธุกรรม ซึ่งเกิดจากการกินกลูเตน คือ โปรตีนที่พบในอาหารจำพวกแป้งหรือข้าว ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันเข้าไปโจมตีลำไส้เล็กจนเกิดความเสียหายของวิลลี่ (Villi) ในลำไส้เล็ก โดยวิลลี่ (Villi) มีหน้าที่ช่วยในการดูดซึมสารอาหาร เมื่อได้รับความเสียหายสารอาหารจะไม่สามรถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างเหมาะสม จนอาจนำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการ สูญเสียความหนาแน่นของกระดูก การแท้งบุตร ภาวะมีบุตรยาก โรคระบบประสาท หรือแม้แต่โรคมะเร็งบางชนิด ในเด็กการดูดซึมที่ผิดปกติอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กได้
อาการ โรคเซลิแอคในเด็ก
อาการของโรคเซลิแอค (Celiac disease) อาจแตกต่างกันระหว่างในเด็กและผู้ใหญ่ โดยอาการที่แสดงในเด็กจะมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาทางเดินอาหารมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนี้
- คลื่นไส้อาเจียน
- ท้องเสียเรื้อรัง
- ท้องบวม
- ท้องผูก
- มีแก๊ส
- อุจจาระสีซีด มีกลิ่นเหม็น
เมื่อร่างกายไม่สามารถดูดซับสารอาหารได้อาจส่งผลต่อ
- การเจริญเติบโตของทารก
- เคลือบฟันเสียหาย
- น้ำหนักลดลง
- โรคโลหิตจาง
- หงุดหงิดง่าย
- มีอาการทางระบบประสาท เช่น โรคสมาธิสั้น ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ปวดหัว กล้ามเนื้อขาดการประสานงาน อาการชัก
หากลูกของคุณมีอาการท้องร่วง รู้สึกไม่สบายท้อง เป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ควรรีบพบหมอทันที หรือถ้ามีอาการหงุดหงิดง่าย อุจจาระสีซีดมีกลิ่นเหม็น เจริญเติบโตช้าร่วมด้วยก็อย่านิ่งนอนใจเช่นเดียวกัน
การรักษา
โรคเซลิแอค (Celiac disease) มักรักษาด้วยการงดอาหารจำพวกที่มีกลูเตนเพื่อป้องกันความเสียหายของเยื่อบุลำไส้ เพราะกลูเตนจะส่งผลร้ายในระยะยาวให้กับร่างกายสำหรับผู้ที่เป็นโรคเซลิแอคในเด็ก
อาการของลูกจะเริ่มดีขึ้นเมื่อคุณจัดการกับอาหารโดยไม่มีกลูเตนเป็นส่วนประกอบ แต่อาจต้องใช้ระยะเวลาถึง 2 ปีกว่าที่ระบบย่อยอาหารจะกลับมาเป็นปกติ และควรพาลูกของคุณเข้าพบหมอเพื่อรับคำปรึกษาในการรักษา หรือในบางคนหมออาจเสริมวิตามินและแร่ธาตุเพื่อป้องกันหรือแก้ไขโรคเซลิแอคได้
ภาวะแทรกซ้อน
เมื่อไม่ได้รับการรักษาโรคเซลิแอคอย่างถูกต้องอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ดังนี้
- ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้เพียงพอ และอาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง น้ำหนักลด ในเด็กอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตได้
- กระดูกอ่อนตัว เมื่อร่างกายไม่ได้รับการดูดซึมแคลเซียมและวิตามินดีอย่าเหมาะสมอาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนหรือโรคกระดูกอ่อนในเด็ก
- ภาวะมีบุตรยากและการแท้งบุตร ในระยะยาวการดูดซึมแคลเซียมและวิตามินดีไม่เหมาะสมสามารถนำไปสู่ปัญหาการสืบพันธ์ได้
- แพ้แลคโตส (Lactose) เมื่อลำไส้เล็กเกิดความเสียหายอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องร่วงหลังรับประทานอาหาร
- โรคมะเร็ง หากลูกของคุณเป็นโรคเซลิแอคแต่ไม่ได้งดอาหารจำพวกกลูเตน อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งบางชนิดได้ เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในลำไส้เล็ก และมะเร็งลำไส้เล็ก
- ปัญหาทางระบบประสาท สามารถพัฒนาไปสู่อาการชัก หรือโรคระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral neuropathy)
[embed-health-tool-vaccination-tool]