backup og meta

อาหารที่เสี่ยงทำให้เด็กเป็นโรคภูมิแพ้ และอาหารบรรเทาอาการภูมิแพ้

อาหารที่เสี่ยงทำให้เด็กเป็นโรคภูมิแพ้ และอาหารบรรเทาอาการภูมิแพ้

ปฏิกิริยาความไวต่อสารกระตุ้นการแพ้  (IgE-mediated)ได้รับอิทธิพลมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม มลพิษ การเลี้ยงดู รวมไปถึงการที่คุณแม่รับประทาน โดเยเฉพาะถ้าเป็น อาหารที่เสี่ยงทำให้เด็กเป็นโรคภูมิแพ้ ก็จะสามารถส่งผลไปยังทารกในครรภ์ รวมถึงส่งผลต่อองค์ประกอบของน้ำนมแม่ด้วย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า สารอาหาร และโภชนาการ สามารถส่งผลทางอ้อม ต่อการพัฒนาของอาการแพ้ รวมไปถึง โรคภูมิแพ้ ในระหว่างการพัฒนามดลูกหลังคลอด ในระหว่างการให้นมบุตร หรือการให้นมขวดหลังจากหย่านมได้อีกด้วย

สังเกตอาการของโรคภูมิแพ้ได้อย่างไร

อาการและความรุนแรงของ โรคภูมิแพ้ จะมีความแตกต่างกันไป บางครั้งอาจจะไม่รุนแรง แต่บางครั้งอาจเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง ที่เรียกว่าแอแนฟิแล็กซิส (Anaphylaxis) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลัน เมื่อร่างกายได้รับสารกระตุ้นบางอย่าง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น การสังเกตอาการแพ้ ที่เกิดขึ้นกับลูก จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมาก ซึ่งอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังนี้

  • ผื่นขึ้นบนผิวหนัง มีอาการคัน และเป็นลมพิษ
  • บวมบริเวณริมฝีปากและลำคอ
  • หายใจถี่ หายใจลำบาก หายใจเสียงดัง รวมถึงหายใจทางปาก
  • วิงเวียนศีรษะ และเป็นลม
  • ปวดท้อง อาเจียน และท้องเสีย

อาหารที่เสี่ยงทำให้เด็กเป็นโรคภูมิแพ้ ที่พบบ่อยที่สุด

อาหาร 8 ชนิดที่จะกล่าวต่อไปนี้ ทำให้เกิดอาการแพ้ หรือ โรคภูมิแพ้ ในเด็กได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาหารเหล่านั้นมีดังนี้

  • นม
  • ไข่
  • ถั่วลิสง
  • ถั่วเหลือง
  • ต้นถั่ว เช่น อัลมอนด์ วอลนัท พีแคน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และถั่วพิสตาชิโอ
  • ข้าวสาลี
  • ปลา เช่น ปลาแบส ปลาลิ้นหมา ปลาคอด
  • หอย หอยเชลล์ ปู กุ้ง

อาหารที่ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้

ความจริงแล้วยังไม่มีอาหารใดที่สามารถรักษาอาการแพ้ได้ แต่ทั้งนี้ อาหาร และ สารอาหาร ที่รับประทานเข้าไปอาจจะส่งผลต่ออาการแพ้และ โรคภูมิแพ้ ที่เป็นอยู่ ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารเหล่านี้ อาจจะช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ได้

ไขมันดี

ไขมันดี ที่กล่าวถึงนี้ ได้แก่ กรดไขมันโอเมก้า 3 และกรดไขมันโอเมก้า 6 เป็น 2 สิ่งที่ร่างกายต้องการ กรดไขมันโอเมก้า 3 นั้น สามารถพบได้ใน ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า และปลาซาร์ดีน เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเชีย และวอลนัท ซึ่งช่วยลดการอักเสบ ลดความเสี่ยงของโรคหอบหืด และโรคภูมิแพ้ในเด็ก

ขิง

โรคภูมิแพ้ หรือ อาการภูมิแพ้อันไม่พึงประสงค์หลายอย่าง มาจากปัญหาการอักเสบ เช่น อาการบวม ระคายเคืองในทางเดินจมูก ตา และลำคอ ซึ่งขิงสามารถช่วยลดอาการเหล่านี้ได้ตามธรรมชาติ นอกจากนั้น ขิง ยังช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ และปวดข้อ ได้อีกด้วย

เกสรผึ้ง

เกสรผึ้ง ไม่ได้เป็นเพียงอาหารสำหรับผึ้ง แต่มนุษย์ก็สามารถรับประทานได้ด้วย ส่วนผสมของเกสรผึ้ง ได้แก่ เอนไซม์ น้ำหวาน น้ำผึ้ง ละอองเกสรดอกไม้ และแว็กซ์ ซึ่งมักจะถูกขาย เพื่อรักษาโรคไข้ละอองฟาง นอกจากนั้น เกสรผึ้ง ยังมีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ ต้านเชื้อรา และยาต้านจุลชีพในร่างกาย นอกจากนั้นเกสรผึ้ง ยังสามารถยับยั้งการกระตุ้นการทำงานของเซลล์ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการป้องกันอาการแพ้

ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว

ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว มักจะมีวิตามินซีสูง ซึ่งสามารถช่วยป้องกันโรคหวัด รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็น โรคภูมิแพ้ อีกด้วย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ การรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง จะช่วยลดการเกิดโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่เกิดจากละอองเกสรดอกไม้หรือจากพืชนั่นเอง

ขมิ้น

อย่างที่ทราบกันดีว่า ขมิ้น สามารถช่วยต้านอาการอักเสบได้ดี เพราะอุดมไปด้วยเคอร์คูมิน (Curcumin) นอกจากนั้นยังช่วยลดอาการบวม และระคายเคือง ของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ได้อีกด้วย

อาการภูมิแพ้ในเด็กไม่ใช่เรื่องล้อเล่น ดังนั้นโปรดสังเกตลูกของคุณว่ามีอาการแพ้อาหารชนิดใดบ้าง และดูแลด้วยการให้ทานอาหารที่มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการของ โรคภูมิแพ้ ในเด็ก เพื่อสุขภาพของลูกน้อยแสนสำคัญของคุณพ่อคุณแม่

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

These 7 Foods Might Help Alleviate Seasonal Allergy Symptoms. https://www.healthline.com/health/seasonal-allergies-best-foods. Accessed October 16, 2019

Nutrition and Allergic Diseases. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5537876/. Accessed October 16, 2019

Eat to Ease Your Allergies. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/features/eat-to-ease-allergies#1. Accessed October 16, 2019

New Diagnosis of Food Allergy. https://www.kidswithfoodallergies.org/page/newly-diagnosed.aspx. Accessed October 16, 2019

 

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/04/2022

เขียนโดย กัญญ์วรา ยุทธ์ธนพิริยะ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความเชื่อผิด ๆ เรื่อง โรคภูมิแพ้อาหาร เชื่อแบบนี้อาจเป็นอันตรายได้!

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจากการแพ้อาหาร เกิดขึ้นได้อย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย กัญญ์วรา ยุทธ์ธนพิริยะ · แก้ไขล่าสุด 29/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา