ไบโพลาร์ในเด็ก อาจสังเกตได้จากอาการอารมณ์แปรปรวนผิดปกติ สมาธิสั้น หุนหันพลันแล่น ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย หรือมีพฤติกรรมที่ดปลี่ยนแปลงไป คุณพ่อคุณแม่ควรคอยสังเกตอาการของลูก และปรึกษาคุณหมอเพื่อหาวิธีการรับมือกับโรคไบโพลาร์ในเด็กอย่างเหมาะสม
อาการของไบโพลาร์ในเด็ก
โรคไบโพลาร์ในเด็ก เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกเพศ ทุกวัย โรคไบโพลาร์ในเด็กสามารถทำให้อารมณ์ของพวกเขามีความแปรปรวน ตั้งแต่ระดับสูงจนถึงระดับต่ำ พวกเขาอาจมีอาการสมาธิสั้น อาการสงบ หรือบางครั้งก็เกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งอาการอารมณ์แปรปรวนในเด็ก ๆ ถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่หากเด็ก ๆ มีอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญานที่บ่งบอกว่าเขามีอาการโรคไบโพลาร์
- มีอารมณ์แปรปรวนที่รุนแรง แตกต่างจากอารมณ์แปรปรวนตามปกติที่เกิดขึ้นในทุก ๆ วัน
- มีอาการสมาธิสั้น มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ก้าวร้าว หรือมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม
- มีปัญหาในการนอนหลับ หรือเป็นโรคนอนไม่หลับ
- มีอารมณ์หงุดหงิด เกือบทั้งวันในช่วงที่มีอาการซึมเศร้า
- มีความคิดที่อยากฆ่าตัวตาย
- พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องเพศหรือแสดงพฤติกรรมที่มีความสนใจทางเพศ
- รู้สึกไร้ค่า
- มีอาการร่าเริงผิดปกติ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผล
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดไบโพลาร์ในเด็ก
ยังไม่มีความชัดเจนถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ไบโพลาร์ในเด็ก แต่ปัจจัยหลาย ๆ อย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงของเด็กในการพัฒนาความผิดปกตินี้ เช่น
พันธุกรรม
การที่คนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคไบโพลาร์ เป็นหนึ่งในความน่าจะเป็นที่เป็นความเสี่ยง ที่ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุด หากสมาชิกในครอบครัวคนอื่นมีความผิดปกติของโรคไบโพลาร์ เด็กที่เกิดมาก็อาจจะมีแนวโน้มที่จะมีอาการโรคไบโพลาร์
ปัญหาระบบประสาท
โครงสร้างของสมองหรือการทำงานของสมอง ที่มีความผิดปกติสามารถทำให้เด็กมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นโรคไบโพลาร์ได้
สภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมที่เจอในชีวิตประจำวันก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไบโพลาร์ได้ หากเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความเครียด กดดัน ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไบโพลาร์
บาดแผลทางจิตใจ
การมีเหตุการณ์ในวัยเด็กที่ไม่พึงประสงค์ เกิดขึ้นซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง หรือมีเหตุการณ์ที่เป็นบาดแผลทางจิตใจที่ไม่สามารถลืมได้ ก็ช่วยเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไบโพลาร์ได้เช่นกัน เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัเด็กยอาจรวมถึงเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ครอบครัวแยกทางกัน การถูกล่วงละเมิดทางเพศ การสูญเสียของรัก
พ่อแม่ควรรับมืออย่างไรเมื่อลูกเป็นไบโพลาร์
เมื่อลูกเป็นไบโพลาร์ พ่อแม่ ผู้ปกครองมีหลายวิธีที่จะชวยให้เด็กๆ มีสุขภาพชีวิตที่ดีได้
ทำตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัด
การทำตามแผนการรักษาที่คุณหมอวางไว้ให้อย่างเคร่งครัด ทั้งการใช้ยาและวิธีการดูแลลูก พ่อแม่ต้องควบคุมให้ลูกๆ ได้รับยาในการรักษาอย่างต่อเนื่อง ตรงเวลา โดยอาจจะตั้งเวลาเมื่อลูกต้องรับประทานยา หรือติดโน้ตเตือนความจำไว้ในที่ที่มองเห็น หากเด็กๆ มีช่วงเวลาที่ต้องรับประทานยาขณะที่อยู่โรงเรียน พ่อแม่ ควรปรึกษาและขอความช่วยเหลือจากคุณครูหรือพยาบาลประจำโรงเรียน เพราะหากให้เขารับประทานเอง เด็กอาจจะลืมหรือบางโรงเรียนไม่อนุญาติให้เด็กใช้ยาเอง การแจ้งครูผู้ดูแลไว้จึงเป็นการที่ดีกว่า
สังเกตุผลข้างเคียงจากการใช้ยา
ครอบครัว คือกลุ่มคนที่ใกล้ชิดและอยู่กับเด็กๆ มากที่สุด ขณะที่พวกเขาอยู่ระหว่างการรักษา พ่อแม่ควรสังเกตอาการและผลข้างเคียงของการใช้ยาอยู่อย่างเสมอ เพราะยาสำหรับรักษาโรคไบโพลาร์ในเด็กยังมีการศึกษาและวิจัยที่น้อยเกินไป พ่อแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล ถึงผลข้างเคียงของการใช้ยา ว่าจะเกิดผลข้างเคียงใดบ้าง และควรทำอย่างไร นอกจากนี้การสังเกตอาการและผลข้างเคียงยังช่วยให้แพทย์ผู้รักษาเห็นถึงพัฒนาการและผลของการใช้ยา หากยาที่ใช้ไม่ส่งผลดีต่อการรักษา แพทย์ก็จะได้ทำการเปลี่ยนยาและวิธีการรักษา เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะกับเขา และช่วยให้เด็กมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
ขอความร่วมมือจากคุณครู
นอกจากที่บ้านแล้ว โรงเรียนก็ถือเป็นอีกสถานที่ ที่เด็กๆ ใช้ชีวิตอยู่นาน ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรขอความร่วมมือกับทางโรงเรียน เพื่อให้ช่วยดูแลลูกเป็นพิเศษ เช่น เพิ่มเวลาพักให้เขามากขึ้น หรือให้การบ้านน้อยลงเมื่อเขาอยู่ในช่วงที่เครียด หรือช่วยปรับแผนในการเรียนสำหรับเขา ในกรณีที่เด็กๆ มีอาการไบโพลาร์กำเริบ ขณะอยู่โรงเรียน พ่อแม่ควรบอกคุณครู ถึงวิธีการรับมือเบื้องต้น เมื่ออาการไบโพลาร์ในเด็กกำเริบ เพื่อรอขณะที่พ่อแม่กำลังเดินทางมารับ
สอนให้เข้ามีระเบียบในการใช้ชีวิต
[embed-health-tool-vaccination-tool]