backup og meta

แพ้วัคซีน ในเด็ก คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้อย่างไร

แพ้วัคซีน ในเด็ก คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้อย่างไร

วัคซีน มีความสำคัญในการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ต่อสู้กับเชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรีย ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรวมถึงโรคร้ายแรง ถึงแม้วัคซีนจะเป็นสิ่งจำเป็น แต่สำหรับบางคนอาจก่อให้เกิดอาการ แพ้วัคซีน หลังฉีดได้ โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีอาการแพ้ต่อสิ่งต่าง ๆ ดังนั้น หลังจากที่คุณพ่อคุณแม่พาลูกเข้ารับการฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว ควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น และเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาทันที

[embed-health-tool-vaccination-tool]

อาการแพ้วัคซีน

อาการแพ้วัคซีนในระดับไม่รุนแรงอาจส่งผลให้มีอาการบวมแดงบริเวณที่ได้รับการฉีด มีผื่นขึ้นตามตัว และอาจมีไข้ระดับต่ำ แต่หากมีอาการแพ้อย่างรุนแรง อาจก่อให้เกิดอาการหลังฉีดภายในไม่กี่นาที และควรรับการรักษาจากคุณหมอทันที ดังนี้

  • หายใจหอบ หายใจถี่
  • วิงเวียนศีรษะ
  • ไอ อาเจียน
  • ระดับความดันโลหิตต่ำ
  • ท้องเสีย
  • หัวใจเต้นแรง
  • เกิดลมพิษ
  • ผิวซีด
  • คอบวม

ผู้ที่มีความเสี่ยง แพ้วัคซีน

ผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้อาหารอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะแพ้วัคซีน เนื่องจากวัคซีนบางชนิดอาจมีส่วนประกอบจากอาหารที่ทำให้แพ้ เช่น โปรตีนชนิดเดียวกับที่อยู่ในไข่ ดังนั้นหากมีประวัติการแพ้อาหาร ต่อไปนี้ ควรแจ้งให้คุณหมอทราบก่อนการฉีด

วัคซีนบางชนิดมีโปรตีนไข่ เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคหัด โรคคางทูม และโรคหัดเยอรมัน รวมถึงวัคซีนที่ไม่ใช่วัคซีนพื้นฐาน อย่างวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง และวัคซีนป้องกันโรคไข้ไทฟอยด์

หากแพ้เจลาติน ควรแจ้งให้คุณหมอทราบก่อนฉีดวัคซีน เพราะมีวัคซีนหลายชนิดที่มีส่วนผสมของเจลาติน เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส วัคซีนป้องกันโรคหัด โรคคางทูม และโรคหัดเยอรมัน วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน

  • กลุ่มคนที่แพ้ยีสต์

ยีสต์ชนิด Saccharomyces cerevisiae ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นยีสต์ชนิดที่ทำให้ขนมปังหรือเบเกอรี่ฟูขึ้น และยังใช้ในการหมักเบียร์ ผู้ที่แพ้ยีสต์ชนิดนี้เสี่ยงที่จะแพ้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) เพราะในวัคซีนมียีสต์ชนิดนี้อยู่หรือที่เรียกว่าเบเกอร์ยีสต์ (Bakers’ yeast)

วิธีหลีกเลี่ยงอาการแพ้วัคซีน

ผู้ที่แพ้อาหาร หรือมีประวัติแพ้วัคซีน ควรปฏิบัติดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนที่มีส่วนผสมที่ตนเองแพ้ และควรปรึกษาคุณหมอเพื่อเลือกฉีดวัคซีนที่ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้
  • รับประทานยาแก้แพ้ เพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการแพ้ที่จะเกิดขึ้นหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรปรึกษาคุณหมอก่อนรับการฉีดวัคซีน
  • ควรฉีดวัคซีนในโรงพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น เกิดการแพ้อย่างรุนแรง
  • เช็กอาการหลังฉีดของตนเอง หากพบว่ามีอาการผิดปกติ หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก ควรแจ้งให้คุณหมอทราบอย่างทันที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Does my child need a flu shot this year?. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/expert-answers/flu-shots/faq-20058448. Accessed on August 7, 2018.

Thinking about getting your child the flu vaccine? Here’s what you need to know. https://theconversation.com/thinking-about-getting-your-child-the-flu-vaccine-heres-what-you-need-to-know-94393. Accessed on August 7, 2018.

10 Things for Parents to Know About the 2017-2018 Flu Vaccine. https://www.healthychildren.org/English/safety-prevention/immunizations/Pages/Prepare-Your-Family-for-Flu-Season.aspx. Accessed on August 7, 2018.

How do vaccines work?. https://www.who.int/news-room/feature-stories/detail/how-do-vaccines-work?gclid=Cj0KCQjww4OMBhCUARIsAILndv6P9nSaboCBtvl7aZbokjC8EyQeWmcHV2ClW6oU2-E2N4NYdjzKdXkaAgguEALw_wcB.Accessed on August 7, 2018.

วัคซีนไข้หวัดใหญ่. https://www.moph.go.th/index.php/news/read/1269. Accessed on August 7, 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/11/2022

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

โรคตาขี้เกียจในเด็ก สาเหตุ การรักษา และการตรวจดวงตาในเด็ก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 21/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา