backup og meta

โรคมือเท้าปาก สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดได้อย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 21/11/2022

    โรคมือเท้าปาก สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดได้อย่างไร

    โรคมือเท้าปาก (Hand, foot and mouth disease หรือ HFMD) เป็นโรคติดเชื้อไม่รุนแรง ที่เกิดจากไวรัสค็อกแซ็กกี้ (Coxsackie virus) และเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) โรคนี้พบมากในทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และยังไม่มียารักษาเฉพาะ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมือเท้าปาก และรับมือกับโรคมือเท้าปากอย่างถูกวิธีได้

    วิธีลดความเสี่ยงในการเกิด โรคมือเท้าปาก

    สำหรับวิธีการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมือเท้าปากอาจทำได้ ดังนี้

    ลดการแพร่กระจาย

    โรคมือเท้าปากแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำมูก น้ำลาย และไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมือเท้าปากอาจยังคงอยู่ในทางเดินหายใจ หรือลำไส้ของผู้ป่วยได้หลายสัปดาห์หลังจากอาการทั้งหมดหายไป ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่เชื้อโรคจะแพร่กระจายจากผู้ที่ไม่มีอาการหรือสิ่งบ่งชี้ไปยังผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ทารก เด็ก โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาเฉพาะ คุณพ่อคุณแม่จึงควรลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายและการรับเชื้อของลูกด้วยการดูแลรักษาสุขอนามัยให้ดี อย่าให้ลูกเข้าใกล้ผู้ที่มีอาการป่วยหรือติดเชื้อ ไม่ให้ลูกใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น และหากลูกป่วยหรือติดเชื้อ ก็ควรให้ลูกพักรักษาตัวอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงที่ลูกจะแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น

    ป้องกันโรคให้ดี

    การป้องกันโรคมือเท้าปากที่ดีที่สุด คือ การปฏิบัติตนให้มีสุขอนามัยที่ดี การสอนเด็กเกี่ยวกับวิธีการล้างมือโดยใช้น้ำอุ่นและสบู่ สามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้เป็นอย่างมาก เด็กยังควรได้รับการสอนให้ล้างมือหลังจากหยิบสิ่งของ ใช้ห้องน้ำ และก่อนรับประทานอาหาร หรือทันทีที่เด็กสัมผัสกับสิ่งสกปรก นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกไม่ให้เอามือเข้าปากหรือสัมผัสใบหน้า หรือหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ เข้าปากโดยเด็ดขาด

    ที่สำคัญ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องรักษาความสะอาดของสิ่งแวดล้อมโดยรอบลูก ฝึกนิสัยทำความสะอาดพื้นผิวของสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน และของเล่นของเด็กด้วยสบู่และน้ำอย่างสม่ำเสมอ

    ข้อควรปฏิบัติหากลูกติดเชื้อโรคมือเท่าปาก

    หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่า ลูกมีอาการต่าง ๆ เช่น มีไข้ เจ็บคอ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกอยู่บ้าน ไม่ไปโรงเรียนหรือสถานที่สาธารณะ ในขณะที่ดูแลเด็ก ๆ ควรสังเกตสิ่งบ่งชี้และอาการของสมาชิกครอบครัวคนอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกปิดปากและจมูก เวลาไอหรือจาม และไม่รับประทานอาหารร่วมกันกับคนอื่น ๆ ในครอบครัว เพราะการฝึกให้ลูกมีสุขปฏิบัติที่ดีอยู่เสมออาจช่วยป้องกันให้เด็ก ๆ ห่างไกลจากโรคนี้ได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 21/11/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา