โรคติดเชื้อในเด็ก

โรคติดเชื้อในเด็ก เป็นโรคที่พบบ่อยมาก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เชื้อที่มักเป็นสาเหตุให้ลูกรักของคุณป่วย เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อปรสิต (พยาธิ) แล้วคุณพ่อคุณแม่จะช่วยลดความเสี่ยง และป้องกันลูกรักของคุณจากโรคติดเชื้อได้อย่างไรบ้าง ลองไปหาคำตอบกันเลย

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อในเด็ก

SSSS หรือ โรค 4S คืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

โรค 4S หรือ SSSS (Staphylococcal Scalded Skin Syndrome) คือ โรคติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcal Aureas) ที่ผิวหนังอย่างรุนแรง ส่วนใหญ่พบในเด็กทารกและเด็กเล็ก แต่ก็อาจพบในผู้ใหญ่ที่มีภูมิต้านทานต่ำได้เช่นกัน อาการเริ่มต้นอาจพบว่าเด็กร้องไห้งอแง อ่อนเพลีย และมีไข้ ตามมาด้วยมีผื่นแดง จากนั้นไม่กี่วัน ผื่นแดงจะกลายเป็นตุ่มน้ำและที่หลุดลอกออกเป็นแผ่น ๆ เห็นผิวด้านล่างเป็นสีแดง อาจรุนแรงจนเกิดอาการช็อกได้ หากพบว่าเด็กมีอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของโรค 4s ดังที่กล่าวไปข้างต้น หรือมีอาการผิดปกติทางผิวหนังอื่น ๆ ควรรีบพาไปพบคุณหมอโดยเร็ว เพราะหากทิ้งไว้ไม่รักษา อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] SSSS คืออะไร โรค 4S หรือ SSSS (Staphylococcal scalded skin syndrome) คือ โรคติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcal aureas) ที่ผิวหนังอย่างรุนแรง มักพบในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กทารก สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส เป็นเชื้อแบคทีเรียก่อโรคบนผิวหนังและเนื้อเยื่อ เมื่อแบคทีเรียชนิดนี้ปล่อยสารพิษเข้าสู่กระแสเลือด […]

สำรวจ โรคติดเชื้อในเด็ก


โรคติดเชื้อในเด็ก

ไข้ออกผื่น ลูกไม่สบายทีไร ผื่นขึ้นทุกครั้ง

ไข้ออกผื่น เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ส่งผลให้เกิดผื่นขึ้นตามผิวหนัง สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสกับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก ไข้เวสต์ไนล์ และโรคงูสวัดได้อีกด้วย อาการป่วยอื่น ๆ ที่อาจมาพร้อมกับไข้ออกผื่น ได้แก่ ไข้  อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อาการหนาว อาการไข้ออกผื่นส่วนใหญ่ มักเกิดขึ้นกับเด็กในช่วงวัยหัดเดิน ปริมาณผื่นจะขึ้นมากหรือน้อยอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล ไข้ออกผื่น คืออะไร ไข้ออกผื่น (Viral Exanthems) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ส่งผลให้เกิดผื่นขึ้นตามผิวหนัง มักเกิดร่วมกับอาการป่วยอื่น ๆ เช่น ไข้  อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อาการหนาว อย่างไรก็ตามอาการไข้ออกผื่นส่วนใหญ่ มักเกิดขึ้นกับเด็กในช่วงวัยหัดเดิน โดยปริมาณผื่นจะขึ้นมากหรือน้อยนั้นอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล ไข้ออกผื่น เกิดจากสาเหตุใด ไข้ออกผื่น เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน นอกจากการติดเชื้อไวรัสแล้ว ยังสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสกับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก ไข้เวสต์ไนล์ และโรคงูสวัดได้อีกด้วย ซึ่งการติดเชื้อไวรัสที่อาจทำให้เกิด อาการไข้ออกผื่น อาจจะเกิดจากโรคหรือเชื้อไวรัส ดังต่อไปนี้ โรคอีสุกอีใส ซึ่งเกิดจากไวรัสวาริเซลลา (Varicella Virus) เมื่อเด็กเป็นอีสุกอีใสจะมีตุ่มน้ำพองเล็ก ๆ ขึ้นตามบริเวณผิวหนัง ร่วมกับอาการป่วยอื่น ๆ เช่น มีไข้สูง อาเจียน ปวดศีรษะ […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

scarlet fever คือ ไข้อีดำอีแดงจากเชื้อแบคทีเรียที่มักเกิดขึ้นในเด็ก

scarlet fever คือ ไข้อีดำอีแดง เป็นอีกหนึ่งโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียมักเกิดขึ้นกับเด็กวัย 5-15 ปี โดยผู้ป่วยมักมีอาการไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ คุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่าเป็นเพียงอาการไข้หวัดธรรมดาทั่วไปของเด็กๆ ทั้งที่จริงแล้วหากลูกรักเป็นโรคนี้ควรพาไปปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยโรคและรับการรักษาอย่างถูกวิธี คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จักสังเกตและทำความรู้จักความแตกต่างของไข้อีดำอีแดงกับอาการไข้หวัดทั่ว ๆ ไป [embed-health-tool-vaccination-tool] คุณพ่อคุณแม่ควรจัก  Scarlet Fever หรือ ไข้อีดำอีแดง Scarlet Fever คือ ไข้อีดำอีแดงซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสกรุ๊ปเอ (A Streptococcus) ผู้ป่วยจะมีอาการคออักเสบ มีลักษณะเป็นผื่นแดงบนร่างกาย และมีไข้สูง โดยส่วนใหญ่จะพบในเด็กอายุระหว่าง 5-15 ปี  คุณหมออาจะใช้วิธีการรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อบรรเทาอาการ สาเหตุของไข้อีดำอีแดง สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นไข้อีดำอีแดง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส (Streptococcus) มีระยะการฟักตัว 2-5 วัน  โดยอาศัยอยู่ในปากและระบบทางเดินหายใจ แบคทีเรียจะปล่อยสารพิษออกมาทำให้ผู้ป่วยมีผื่นขึ้นตามร่างกาย  มีอาการไอ จาม เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถแพร่กระจายเชื้อโรคผ่านการสัมผัสกับละอองน้ำลาย การไอ หรือจามจากผู้ติดเชื้อ รวมถึงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน รับประทานอาหารจานเดียวกัน อาการผู้ป่วยไข้อีดำอีแดง หากลูกมีอาการเจ็บป่วย คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตดูอาการอย่างใกล้ชิด หากเป็นไข้อีดำอีแดง จะมีอาการแสดงออกดังต่อไปนี้ ผื่นแดง จะมีผื่นแดงเริ่มขึ้นที่ใบหน้าหรือลำคอและแพร่กระจายไปยังลำตัวแขนขา เมื่อสัมผัสรอยผื่นจะมีผิวหยาบคล้าย ๆ กับกระดาษทราย […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

Herpangina อาการ สาเหตุ และการรักษา

Herpangina เป็นโรคระบาดในเด็กที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บคอ เป็นไข้ อาจมีแผลที่ช่องปากบริเวณเพดาน และในโพรงคอหอยด้านหลัง อาการที่เกิดขึ้นอาจไม่รุนแรง และอาจหายได้เอง [embed-health-tool-vaccination-tool] Herpangina คืออะไร  Herpangina (โรคเฮอร์แปงไจน่า) คือ โรคระบาดในเด็กที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) อาจพบมากในเด็กอายุ 3-10 ปี รวมถึงเด็กที่ต้องไปโรงเรียน หรือต้องอยู่ที่สถานบันดูแลเด็กเล็ก หรือค่าย โรคนี้อาจเกิดขึ้นบริเวณเพดานปาก อาการที่เกิดขึ้นอาจไม่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็อาจทำให้เกิดตุ่มเล็ก ๆ ในปาก เป็นแผลในฝาก มีอาการเจ็บคอ มีไข้สูง ในเด็กทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ปี อาจสังเกตอาการของโรคเฮอร์แปงไจน่าได้ยาก เพราะในทารกบางคนอาจไม่ปรากฏอาการใด ๆ โรคเฮอร์แปงไจน่าที่เกิดในเด็กทารกอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ เช่น การบวมของสมอง การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง โดยส่วนใหญ่โรคเฮอร์แปงไจน่าอาจพบได้ในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน อาการของโรคเฮอร์แปงไจน่า อาการของโรคเฮอร์แปงไจน่าอาจแสดงให้เห็นภายใน 2-5 วัน หลังจากได้รับเชื้อ อาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และอาการอาจหายไปเองใน 7-10 วัน โดยอาการที่ปรากฏอาจมีดังนี้ มีไข้เฉียบพลัน รู้สึกเจ็บคอ รู้สึกเจ็บปวดขณะกลืนอาหาร เบื่ออาหาร […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

Mycoplasma คืออะไร

Mycoplasma คือ เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการหลอดลมอักเสบและการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน สามารถติดต่อสู่กันได้ด้วยการแพร่กระจายระหว่างคนสู่คนผ่านของเหลวในร่างกาย รวมทั้งเสมหะที่มาจากการไอ นอกจากนี้ยังอาจแพร่กระจายผ่านละอองในอากาศด้วยการจาม หรือพูดคุย การติดเชื้อ Mycoplasma มักพบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน ทั้งยังอาจเป็นสาเหตุของโรคปอดบวม แต่การติดเชื้อเหล่านี้อาจหาได้ยากในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี Mycoplasma คือ ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการติดเชื้อ Mycoplasma ประมาณ 2 ล้านครั้ง/ปี โดยไมโคพลาสมานั้น เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการหลอดลมอักเสบและการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน สามารถติดต่อสู่กันได้ด้วยการแพร่กระจายระหว่างคนสู่คนผ่านของเหลวในร่างกาย รวมทั้งเสมหะที่มาจากการไอ นอกจากนี้ยังอาจแพร่กระจายผ่านละอองในอากาศด้วยการจาม หรือพูดคุย Mycoplasma อาจแพร่กระจายได้ง่ายที่สุดในหมู่คนที่อยู่ใกล้ชิดกับคนอื่น ซึ่งรวมไปถึงผู้ที่อาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ค่ายทหาร ค่ายพัก โรงเรียน รวมไปถึงในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้เชื้อ Mycoplasma ยังสามารถแพร่กระจายไปทั่วชุมชนได้อีกด้วย การติดเชื้อ Mycoplasma มักพบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน ทั้งยังอาจเป็นสาเหตุของโรคปอดบวม แต่การติดเชื้อเหล่านี้อาจหาได้ยากในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี อาการที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กได้รับเชื้อ Mycoplasma โดยปกติแล้ว ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเชื้อ Mycoplasma อาจไม่รุนแรงในช่วงแรก แต่เมื่อผ่านไป 1-4 สัปดาห์อาการอาจจะเริ่มแย่ลง ทำให้เกิดการติดเชื้อได้หลายประเภท สำหรับโรคที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ก็คือ หลอดลมอักเสบ (Tracheobronchitis) หรือที่รู้จักทั่วไปว่า […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

อีสุกอีใสในเด็ก อาการ สาเหตุและการรักษา

อีสุกอีใสในเด็ก (Chickenpox) เป็นอาการเจ็บป่วยที่พบมากในเด็ก มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella Virus) ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวกับที่ก่อให้เกิดโรคงูสวัด โดยโรคนี้สามารถหายได้เองหลังผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์ หรือขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายและการดูแลรักษาของแต่ละคน การฉีดวัคซีนโรคอีสุกอีในเด็กจึงอาจเป็นวิธีป้องกันการเกิดโรคและป้องกันโรคแทรกซ้อนจากอีสุกอีใสได้ดีที่สุด อาการของ อีสุกอีใสในเด็ก ในช่วง 2-3 วันก่อนตุ่มอีสุกอีใสขึ้น เด็กอาจมีไข้ ปวดท้อง ปวดศีรษะ ไม่อยากอาหารและอ่อนเพลีย โดยตุ่มอีสุกอีใสจะปรากฏขึ้นหลังสัมผัสกับเชื้อประมาณ 10-21 วัน ปกติแล้วเด็กจะมีตุ่มอีสุกอีใสประมาณ 250-500 ตุ่ม จะเริ่มจากมีผื่นแดงราบขึ้นบนผิวหนัง ก่อนจะเปลี่ยนแปลงลักษณะตามระยะเวลา สามารถแบ่งได้ 3 ระยะ ได้แก่ ตุ่มนูน (Papules) มักเกิดขึ้นบริเวณใบหน้าและหน้าอก เมื่อเวลาผ่านไปตุ่มนูนก็จะแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนอื่น ๆ ตุ่มพองน้ำ (Vesicle) หลังจากผ่านไป 2-3 วัน จะเริ่มมีตุ่มน้ำพองเกิดขึ้น ลักษณะเป็นตุ่มที่มีของเหลวอยู่ด้านในขึ้นอยู่บนตุ่มนูน จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไปตุ่มน้ำพองจะแตกและมีของเหลวไหลออกมา สะเก็ด (Scabs) เมื่อตุ่มน้ำพองแตก แผลจะเริ่มแห้งเป็นสะเก็ดอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน จากนั้นสะเก็ดของตุ่มอีสุกอีใสจะหลุดออกไปเองหลังจากผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์ โดยปกติเมื่อตุ่มอีสุกอีใสตกสะเก็ดมักไม่ก่อให้เกิดแผลเป็น หากไม่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย  […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

เชื้อราในปากจากการให้นมแม่ ส่งผลกระทบอย่าไร

เชื้อราในปากจากการให้นมแม่ เป็นการติดเชื้อราที่อาจพบได้ในเด็กช่วงขวบปีแรก โดยเชื้อราอาจเกิดขึ้นได้ทั้งบริเวณหัวนมของแม่และภายในช่องปากของทารก ซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อราในปาก ทำให้เห็นเป็นฝ้าขาวที่ลิ้น เพดานปาก และกระพุ้งแก้ม โดยปัญหาที่เกิดขึ้นอาจทำให้แม่กังวลใจ ดังนั้น การเรียนรู้ถึงอาการและการรักษา อาจช่วยให้แม่สังเกตสัญญาเตือนที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้ เชื้อราในปากจากการให้นมแม่ เกิดจากอะไร ส่วนใหญ่เชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ มักพบได้ในร่างกายของทุกคน โดยอาจพบได้ในระบบทางเดินอาหาร และช่องคลอด ปกติแล้วร่างกายจะมีแบคทีเรียที่คอยควบคุมสมดุลอยู่เสมอ แต่บางครั้งเมื่อแบคทีเรียลดลงเนื่องจากสาเหตุบางประการ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะ ก็อาจทำให้เชื้อราชนิดนี้เติบโต และมีการแพร่กระจายจนส่งผลให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปากได้ อีกทั้งปัญหาการ ติดเชื้อราในปาก ยังอาจพบได้บ่อยในทารกที่ยังกินนมแม่ โดยเชื้อราช่องปากมักจะเติบโตได้ดีในที่อุ่น ชื้น และมีความหวาน ซึ่งก็คือ สภาพภายในช่องปากของทารกขณะที่กำลังดูดนมแม่นั่นเอง เนื่องจาก ภูมิคุ้มกันของทารกยังทำงานได้ไม่เต็มที่จึงทำให้ได้รับเชื้อและเกิดเป็นเชื้อราในปากขึ้น นอกจากนี้ หากทารกคลอดในขณะที่แม่เป็นเชื้อราในช่องคลอดก็อาจก่อให้เกิดเชื้อราในปากภายใน 2-3 สัปดาห์ หลังคลอดได้เช่นกัน สัญญาณที่บ่งบอกว่าแม่ติดเชื้อราในปาก สัญญาณทั่วไปของการติดเชื้อราในปากขณะให้นมลูกอาจมีดังนี้ เจ็บหัวนม โดยเฉพาะเวลาให้นมลูก หัวนมแตกบ่อย รักษาไม่หาย แม้จะเอาลูกเข้าเต้าถูกวิธีแล้วก็ตาม หัวนมเปลี่ยนสี เช่น สีซีดขึ้น แดงขึ้น ดูมันวาว รู้สึกแสบร้อนที่หัวนม โดยเฉพาะหลังให้นมเสร็จ และอาการอาจคงอยู่เป็นชั่วโมง รู้สึกคันที่บริเวณหัวนมหรือหัวนมไวต่อการสัมผัสเกินไป แค่ใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ก็ยังรู้สึกไม่สบายตัว คุณแม่อาจสังเกตเห็นอาการของการติดเชื้อราได้ที่หน้าอกข้างเดียว หรือสองข้างได้ แต่หากเป็นการติดเชื้อราในระยะแรกอาจยังไม่แสดงอาการใด […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

อีสุกอีใส ใน เด็ก มีวิธีการดูแลอย่างไรบ้าง

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (varicella-zoster virus) ซึ่งเป็นไวรัสงูสวัด (herpes virus) ประเภทหนึ่ง คนทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นอีสุกอีใสได้ แต่โดยปกติมักจะพบ อีสุกอีใส ใน เด็ก โดยเฉพาะสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี อย่างไรก็ตาม เมื่อติดเชื้ออีสุกอีใส ระบบภูมิคุ้มกันจะสร้างโปรตีนที่เรียกว่าแอนติบอดี ซึ่งทำหน้าที่ต้านไวรัสขึ้นมา ดังนั้น เมื่อผู้ใหญ่หรือ เด็กเป็นอีสุกอีใส หากมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มักไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาล แค่พักรักษาตัวที่บ้านก็เพียงพอแล้ว [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีดูแลและการรักษาอีสุกอีใสในเด็ก ลดอาการคัน เมื่อเด็กเป็นอีสุกอีใสจะมีอาการคัน แต่ไม่ควรปล่อยให้ลูกเกา เพราะอาจทำให้ผิวหนังติดเชื้อหรือเกิดแผลเป็นหลังจากตกสะเก็ด ควรบรรเทาอาการคันให้ลูกด้วยวิธีอื่น เช่น อาบน้ำที่มีส่วนผสมของข้าวโอ๊ตบดหยาบ ประคบเย็น ใช้ยาแก้แพ้ แต่พ่อแม่ควรปรึกษาคุณหมอก่อนให้ยาลูก ลดอุณหภูมิร่างกาย อาการไข้เป็นเพียงการตอบสนองตามปกติของร่างกายที่มีต่อการติดเชื้อ ซึ่งเป็นการกำจัดแบคทีเรียและไวรัสที่ทำให้เกิดโรค เมื่อเกิดอาการไม่สบาย ผู้ป่วยควรใช้เพียงยาที่ซื้อได้เองจากร้าน เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย และควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างระมัดระวัง ก่อนให้ยาใดๆ แก่เด็ก พ่อแม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน ไม่ควรให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปีใช้ยาแอสไพริน เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการเรย์ (Reye’s syndrome) ซึ่งเป็นอาการรุนแรงที่มักพบในเด็กที่ใช้ยาแอสไพริน ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ อีสุกอีใสเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะติดเชื้อหลังจากสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อ หากพบ อีสุกอีใส ใน เด็ก อย่าให้ลูกไปโรงเรียน […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

โรคมือเท้าปาก สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดได้อย่างไร

โรคมือเท้าปาก (Hand, foot and mouth disease หรือ HFMD) เป็นโรคติดเชื้อไม่รุนแรง ที่เกิดจากไวรัสค็อกแซ็กกี้ (Coxsackie virus) และเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) โรคนี้พบมากในทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และยังไม่มียารักษาเฉพาะ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมือเท้าปาก และรับมือกับโรคมือเท้าปากอย่างถูกวิธีได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีลดความเสี่ยงในการเกิด โรคมือเท้าปาก สำหรับวิธีการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมือเท้าปากอาจทำได้ ดังนี้ ลดการแพร่กระจาย โรคมือเท้าปากแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำมูก น้ำลาย และไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมือเท้าปากอาจยังคงอยู่ในทางเดินหายใจ หรือลำไส้ของผู้ป่วยได้หลายสัปดาห์หลังจากอาการทั้งหมดหายไป ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่เชื้อโรคจะแพร่กระจายจากผู้ที่ไม่มีอาการหรือสิ่งบ่งชี้ไปยังผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ทารก เด็ก โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาเฉพาะ คุณพ่อคุณแม่จึงควรลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายและการรับเชื้อของลูกด้วยการดูแลรักษาสุขอนามัยให้ดี อย่าให้ลูกเข้าใกล้ผู้ที่มีอาการป่วยหรือติดเชื้อ ไม่ให้ลูกใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น และหากลูกป่วยหรือติดเชื้อ ก็ควรให้ลูกพักรักษาตัวอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงที่ลูกจะแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น ป้องกันโรคให้ดี การป้องกันโรคมือเท้าปากที่ดีที่สุด คือ การปฏิบัติตนให้มีสุขอนามัยที่ดี การสอนเด็กเกี่ยวกับวิธีการล้างมือโดยใช้น้ำอุ่นและสบู่ สามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้เป็นอย่างมาก เด็กยังควรได้รับการสอนให้ล้างมือหลังจากหยิบสิ่งของ ใช้ห้องน้ำ และก่อนรับประทานอาหาร หรือทันทีที่เด็กสัมผัสกับสิ่งสกปรก นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกไม่ให้เอามือเข้าปากหรือสัมผัสใบหน้า หรือหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ เข้าปากโดยเด็ดขาด ที่สำคัญ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องรักษาความสะอาดของสิ่งแวดล้อมโดยรอบลูก […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

ไข้เลือดออกในเด็ก อาการและวิธีรับมือที่ควรรู้

ยุงมักเป็นสาเหตุในการแพร่กระจายของโรคไข้เดงกี่ (Dengue fever) ที่คนไทยนิยมเรียกว่าไข้เลือดออก โดยปกติแล้ว ไข้เดงกี่หรือไข้เลือดออกจะไม่รุนแรง และสามารถหายได้เองในภายในระยะเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ แต่ผู้ป่วยส่วนหนึ่งก็อาจมีอาการรุนแรง จนกลายเป็น โรคไข้เลือดออกเดงกี่ (Dengue hemorrhagic fever) ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ในปัจจุบัน สัญญาณของปัญหา ไข้เลือดออกในเด็ก หรือ ไข้เดงกี่ในเด็ก มีมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ปกครองจึงควรรับทราบถึงอาการไข้ เพื่อหาทางจัดการได้อย่างทันท่วงที สัญญาณและอาการ ในอดีต ไข้เดงกี่มักถูกเรียกว่าไข้กระดูกแตก (Breakbone fever) เนื่องจากผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักมีอาการเจ็บกระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ จนทำให้รู้สึกเหมือนกระดูกกำลังจะแตก ลูกของคุณอาจพบกับสัญญาณและอาการที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ มีไข้สูง ซึ่งอาจสูงถึง 40° องศาเซลเซียส เลือดกำเดาไหล หรือเลือดออกตามไรฟัน ลูกของคุณอาจโวยวายจากอาการปวดศีรษะรุนแรง มีอาการเจ็บนัยน์ตาด้านหลัง ในข้อต่อ กล้ามเนื้อหรือกระดูก ลำตัวส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยผื่น โดยทั่วไป ไข้เลือดออกในเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก และผู้ติดเชื้อไข้เดงกี่เป็นครั้งแรก จะมีอาการที่ไม่รุนแรง ในขณะที่ผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่และผู้ที่เคยติดเชื้อไข้เดงกี่ อาจมีอาการของโรคปานกลางจนถึงรุนแรง การวินิจฉัยไข้เลือดออกในเด็ก ไวรัสเดงกี่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจเลือด แต่คุณหมอที่มีประสบการณ์ส่วนมาก จะสามารถประเมินและวินิจฉัยโรคไข้เดงกี่ได้จากลักษณะภายนอกของลูกคุณ แต่กระนั้น การตรวจเลือดก็ยังเป็นวิธีที่แนะนำในการตรวจหาไวรัสเดงกี่ คุณหมออาจแนะนำให้คุณตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง เพื่อดูว่าเชื้อไวรัสสร้างความเสียหายรุนแรงต่อลูกของคุณแค่ไหน เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถสร้างความเสียหายแก่เกล็ดเลือด หากคุณสงสัยว่า […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม