backup og meta

ไข้สูง ปัญหาสุขภาพวัยเด็กที่พบบ่อยกับวิธีดูแลในเบื้องต้น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 09/11/2021

    ไข้สูง ปัญหาสุขภาพวัยเด็กที่พบบ่อยกับวิธีดูแลในเบื้องต้น

    ไข้สูง ที่เกิดขึ้นกับเด็กทารกเป็นปัญหาสุขภาพที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ โดยเฉพาะหากเด็กทารกในช่วงวัยอายุไม่เกิน 3 เดือน หากมีไข้สูง จำเป็นต้องพาลูกไปโรงพยาบาลทันที ส่วนเด็กในช่วงวัยสามเดือนเป็นต้นมา คุณพ่อคุณแม่อาจดูแลรักษาในเบื้องต้นได้ เช่น การวัดไข้ และหมั่นเช็ดตัว เป็นต้น แต่ทั้งนี้ อาจต้องคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากไข้ไม่ลด อาจต้องรีบพาไปโรงพยาบาลเช่นกัน

    ไข้สูง เกิดจากสาเหตุใด

    อาการตัวร้อนและมีไข้ถือเป็นอาการที่พบบ่อยในเด็กเล็ก ผู้ปกครองมากกว่า 60% ที่มีลูกอยู่ในวัย 6 เดือนและ 5 ปีพบว่าลูกของพวกเขาเคยมีอาการดังกล่าว

    เวลาที่เด็กตัวร้อน หมายถึง การที่ร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ โดยอาการเป็นไข้ ตัวร้อน มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเล็กน้อย เช่น ไอหรือไข้หวัด และสามารถรักษาที่บ้านได้ นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าอาการตัวร้อนจะสร้างความกังวลให้กับผู้ปกครอง แต่เด็กๆ มักจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2-3 วัน

    ไข้สูง คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไร

    ถ้าทารกอายุไม่เกิน 4 เดือน แล้วมีไข้สูง โดยมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส (100.4 องศาฟาเรนไฮต์) ควรพาเด็กไปโรงพยาบาล ส่วนเด็กที่อายุมากกว่า 4 เดือน ผู้ปกครองอาจปฏิบัติดังนี้

    วัดอุณหภูมิร่างกาย

    • วัดอุณหภูมิทางปาก สำหรับเด็กที่อายุ 4-5 เดือน สามารถใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบจุกนม ถ้าเด็กมีไข้ ร่างกายจะมีอุณหูมิสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
    • วัดอุณหภูมิทางทวารหนัก สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 4-5 เดือน อาจใช้เทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้ทางทวารหนัก เพื่อให้ได้ค่าอุณหภูมิที่แม่นยำ และหากอุณหภูมิทางทวารหนักสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส (100.4 องศาฟาเรนไฮต์) จึงหมายความว่าเด็กมีไข้
    • วัดอุณหภูมิทางรักแร้ หากวัดอุณหภูมิที่รักแร้แล้วอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส (100.4 องศาฟาเรนไฮต์) มักหมายถึงเป็นไข้สูง

    กรณีที่อุณหภูมิต่ำกว่า 38.9 องศาเซลเซียส อาจไม่จำเป็นต้องรักษาอาการไข้ ยกเว้นในกรณีที่เด็กรู้สึกไม่สบายตัว หรือมีประวัติเคยมีอาการชักเพราะไข้ นอกจากนี้ควรให้เด็กดื่มน้ำและพักผ่อนให้มาก

    ส่วนกรณีที่อุณหภูมิสูงกว่า 38.9 องศาเซลเซียส แต่น้อยกว่า 40.6 องศาเซลเซียส สามารถให้เด็กกินยาอะเซตามิโนเฟน เช่น ยี่ห้อไทลินอล อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ก่อนให้เด็กกินยา

    ข้อควรระวังคือ ไม่ควรให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปีกินยาแอสไพริน เพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคที่เป็นอันตรายต่อสมอง นอกจากนี้ควรเช็ดตัว หรือให้เด็กอาบน้ำด้วยน้ำอุ่น และไม่ควรให้ใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็ง

    กรณีที่เด็กมีไข้สูง

    ถ้าเด็กๆ มีไข้สูง จะมีอาการดังต่อไปนี้ ร่วมกับอาการตัวร้อน

    • ตัวร้อนมากกว่าปกติ เมื่อเอามืออังบริเวณหน้าผาก หลัง หรือท้อง
    • มีเหงื่อออกมากผิดปกติ
    • หน้าแดง

    ถ้าผู้ปกครองสงสัยว่าเด็กมีไข้สูง ควรวัดอุณหภูมิร่างกายด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิ เนื่องจากการเอามืออังหน้าผากเพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถบอกได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่อาจดูแลูกในเบื้องต้นเมื่อเป็นไข้ ได้ดังนี้

    • ให้ดื่มน้ำมากๆ
    • มองหาสัญญาณของภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ไม่มีน้ำตา หรือในเด็กทารกคือผ้าอ้อมเปียกน้อยลง
    • คอยตรวจสอบอาการของลูกเป็นระยะ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
    • หากอยู่ในวัยเรียน ควรลาป่วยจนกระทั่งหายดี จึงค่อยไปโรงเรียน
    • ไม่จำเป็นต้องให้ลูกถอดเสื้อผ้า หรือคอยเช็ดตัวด้วยฟองน้ำชุบน้ำอุ่น เนื่องจากทั้งสองวิธีนี้อาจไม่ได้ช่วยลดไข้
    • หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าหลายชั้น
    • ไม่ควรซื้อยามาให้ลูกรับประทานโดยไม่ปรึกษาแพทย์

    เมื่อใดควรพาลูกไปโรงพยาบาล

    • เด็กอายุ 1-2 ขวบและมีไข้สูงนานกว่า 24 ชั่วโมง
    • เด็กที่มีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส (104 องศาฟาเรนไฮต์)
    • เด็กอาเจียนซ้ำๆ หรือท้องเสียอย่างรุนแรง
    • เด็กมีอาการขาดน้ำ เช่น ผ้าอ้อมไม่เปียก ร้องไห้โดยไม่มีน้ำตา หรือปากแห้ง
    • ไข้สูงจนเกิดอาการชัก
    • ไข้สูงและมีผื่นขึ้น
    • เด็กมีความเสี่ยงเป็นพิเศษที่จะติดเชื้อร้ายแรง อย่างเด็กที่มีความผิดปกติของเลือดหรือภูมิคุ้มกัน หรือเด็กที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามปกติ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 09/11/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา