โรคดีซ่านในเด็ก (Jaundice) เป็นโรคที่อาจพบได้บ่อยในเด็กทารก ส่งผลทำให้เด็กมีภาวะตัวเหลืองตามผิวหนังและตาขาว ทั้งยังอาจลุกลามไปยังบริเวณอื่น ๆ เช่น หน้าอก หน้าท้อง แขน ขา แต่มักไม่ก่อให้เกิดอันตราย โรคดีซ่านในเด็กแรกเกิดอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นถึงจำนวนบิลิรูบินที่ก่อตัวขึ้นมากเกินไปในระดับเลือดของเด็กแรกเกิด
สาเหตุของ โรคดีซ่านในเด็ก
โรคดีซ่านในเด็ก คือ ภาวะตัวเหลืองตามผิวหนังหรือตาขาว โดยอาจเริ่มจากส่วนใบหน้าและลุกลามเป็นส่วนอื่น ๆ อย่าง หน้าอก หน้าท้อง แขน ขา เมื่อมีระดับของบิลิรูบิน (Bilirubin) สูง
ในขณะที่เด็กยังอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ ตับของคุณแม่อาจทำลายบิลิรูบินให้กับทารกในครรภ์ เมื่อทารกคลอดออกมาตับของทารกจะทำหน้าที่ทำลายบิลิรูบินเอง แต่ตับของเด็กวัยแรกเกิดอาจไม่สามารถทำลายบิลิรูบินได้เร็วพอ จึงนำไปสู่การสะสมของบิลิรูบิน เนื่องจาก บิลิรูบินเป็นสารประกอบสีเหลือง จำนวน ซึ่งหากมีจำนวนที่มากขึ้นอาจก่อให้เกิดภาวะตกเหลืองตามผิวหนังหรือตาขาวได้
โดยโรคดีซ่านมักเกิดในทารกที่คลอดก่อนกำหนด เมื่อตับของเด็กทารกยังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต หรือเมื่อเด็กทารกไม่ได้รับน้ำนมแม่อย่างเพียงพอ นอกจากนั้น ยังอาจเกิดจากการที่น้ำนมอาจมีสิ่งแปลกปลอมปนอยู่และกระตุ้นให้เกิดโรคดีซ่าน
โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคดีซ่านในเด็ก อาจเกิดจากการที่เซลล์เม็ดเลือดแดงปล่อยบิลิรูบินในระหว่างกระบวนการแตกตัว และบิลิรูบินจะถูกทำลายโดยตับ นอกจากนั้นยังอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น
- ท่อน้ำดีอักเสบหรืออุดตัน จึงไม่สามารถขับบิลิรูบินออกจากร่างกายได้
- การติดเชื้อหรือการอักเสบของตับ
- โรคโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก ซึ่งอาจเพิ่มความเร็วของการแตกตัวเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคดีซ่านในเด็กได้
- โรคกิลเบิร์ต (Gilbert’s Syndrome) ปรากฎขึ้นและขัดขวางการขับน้ำดีออกจากร่างกาย
- ดีซ่านในตับระยะเริ่มแรก อาจมีสาเหตุมาจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle Cell Anemia) ไข้มาลาเรีย ภาวะเม็ดเลือดแดงป่องจากพันธุกรรม (Hereditary Sperocytosis)
- โรคตับอักเสบเอ ตับอักเสบบี และตับอักเสบซี อาจนำไปสู่โรคดีซ่านในเด็ก เนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกได้
การรักษาโรคดีซ่านในเด็ก
โดยปกติแล้ว โรคดีซ่านในเด็กอาจหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม คุณหมออาจแนะนำวิธีการบางอย่างที่อาจช่วยในการรักษาโรคดีซ่านในเด็ก เช่น
- ให้นมมากขึ้น ยิ่งเด็กดื่มนมแม่มากเท่าไหร่ เด็กก็จะยิ่งขับถ่ายบ่อยมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งอาจช่วยขับบิลิรูบินออกจากร่างกาย และช่วยลดอาการตัวเหลืองได้
- หมออาจแนะนำให้เด็กเข้ารับการตรวจเอกซเรย์ ซึ่งอาจช่วยในการขับบิลิรูบินออกทางปัสสาวะได้
- หากการรักษาโรคดีซ่านในเด็กวิธีอื่น ๆ ยังไม่ได้ผล นั่นอาจเป็นสัญญาณว่า อาการของโรคอยู่ในขั้นรุนแรง และจำเป็นต้องรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายเลือด โดยคุณหมออาจเปลี่ยนถ่ายเลือดของเด็กออกมาจำนวนหนึ่ง และแทนที่ด้วยเลือดของผู้บริจาค
[embed-health-tool-vaccination-tool]