EQ คือ ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึงความสามารถในการจัดการกับความรู้สึกต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอารมณ์ การแก้ไขปัญหา และการรับรู้อารมณ์ของตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์มีความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อน และบุคคลอื่น ๆ ในสังคม
คุณต้องการออกจากระบบใช่หรือไม่
EQ คือ ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึงความสามารถในการจัดการกับความรู้สึกต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอารมณ์ การแก้ไขปัญหา และการรับรู้อารมณ์ของตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์มีความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อน และบุคคลอื่น ๆ ในสังคม
EQ (Emotional Quotient หรือ Emotional Intelligence) หรือความฉลาดทางด้านอารมณ์ หมายถึงความสามารถในจัดการกับอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม เมื่อพบเจอกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงอาจสามารถพัฒนาศักยภาพในการดำเนินชีวิต และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้อารมณ์ การจัดการกับอารมณ์ การเข้าใจอารมณ์ของตนเองและบุคคลอื่น การตัดสินใจกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก รวมถึงยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้แน่นแฟ้น
IQ และ EQ เป็นความฉลาดทั้งคู่ แต่มีความแตกต่างกัน เพราะ IQ คือ ความฉลาดทางการเรียนรู้ด้านสติปัญญา เป็นความสามารถหลายประเภท เช่น การคิด วิเคราะห์ทางวิชาการ การใช้เหตุผล รวมถึงพวกด้านศิลปะ ด้านดนตรี ด้านกีฬา ซึ่งอาจสามารถทดสอบได้จากคะแนนสอบวัดผลระดับในโรงเรียน อย่างไรก็ตาม ความสำคัญของ EQ ก็ไม่น้อยไปกว่า IQ เพราะ EQ เป็นความสามารถในการรับรู้เข้าใจอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น สามารถควบคุมอารมณ์และยับยั้งชั่งใจ การแสดงออกอย่างเหมาะสม รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักการรอคอย
มีงานวิจัยพบว่า เด็กที่มี EQ สูงอาจจะมีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่า เนื่องจากการมีวุฒิทางด้านอารมณ์ที่ดี การจัดการแก้ไขปัญหา รวมถึงพฤติกรรมคิดเชิงบวกทำให้สุขภาพจิตแข็งแรงและนำโอกาสดี ๆ เข้ามาในชีวิต ซึ่งยังอาจส่งผลดีไปยังผู้ที่อยู่รอบข้างด้วย
การมี EQ สูง อาจมีประโยชน์มากมาย เช่น
EQ หรือความฉลาดทางอารมณ์ประกอบด้วยทักษะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
การเสริมสร้าง EQ สามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่เด็ก เพื่อให้มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่ดี ไม่กลายเป็นเด็กเกเร หรือก้าวร้าว โดยวิธีการเสริมสร้าง EQ อาจมีดังต่อไปนี้
สอนให้เด็กรู้จักและเข้าใจคำศัพท์ที่เกี่ยวกับอารมณ์ต่าง ๆ เช่น โกรธ โมโห อารมณ์เสีย เจ็บ รวมถึงอารมณ์เชิงบวก เช่น ตื่นเต้น มีความสุข ดีใจ เพื่อกระตุ้นให้เด็กสามารถสื่อสารความรู้สึกออกมาเป็นคำพูดได้ เมื่อเด็กอารมณ์เสีย หากเล่นเกมแพ้ อาจถามว่าตอนนี้รู้สึกโกรธใช่ไหม
การแบ่งปันความรู้สึกร่วมกันกับเด็ก อาจช่วยให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีเมื่อโตขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจให้เด็กอ่านหนังสือ ฟังเรื่องราวต่าง ๆ และพูดคุยกับเด็ก หรือสร้างเหตุการณ์จำลองความเห็นอกเห็นใจ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งปัน และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
การเผชิญหน้ากับความกลัวอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก ๆ อย่างไรก็ตาม สามารถสอนทักษะนี้ให้กับเด็กได้ โดยกลยุทธ์ในการจัดการกับปัญหา คือ ฝึกการหายใจลึก ๆ เพื่อช่วยให้มีสมาธิและจัดการกับความโกรธ วิตกกังวล หลังจากสงบอารมณ์แล้ว ให้เด็กเล่าปัญหาที่เกิดขึ้นให้ฟังว่าสถานการณ์ที่เผชิญมีความยากลำบากอย่างไร และบอกให้เด็กรับรู้ว่าไม่ได้เผชิญปัญหาคนเดียว อาจแนะนำลองปรึกษาผู้อื่น หรือลองคิดหาอย่างน้อย 5 วิธีเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง โดยผู้ปกครองควรระบุข้อดีและข้อเสียของการแก้ปัญหาในแต่ละวิธี เพื่อให้เด็กสามารถเลือกการจัดการกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว ควรตักเตือนด้วยถ้อยคำที่เหมาะสม และแสดงให้เด็กเห็นว่าการจัดการอารมณ์หรือความรู้สึกเชิงลบสามารถทำได้ โดยไม่ต้องแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา ไม่ควรใช้ถ้อยคำกับเด็กรุนแรงเกินไป เพราะอาจทำให้เด็กไม่มีความเชื่อมั่นในตนเองได้ และควรรับฟังเด็ก หากเด็กต้องการคำปรึกษา รวมถึงควรสอนด้วยเหตุผล
การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รู้จักวิธีประนีประนอม เข้าใจและเห็นใจผู้อื่น สามารถสื่อสารในสิ่งที่ต้องการ และทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยวิธีพัฒนาทักษะเข้าสังคม เช่น ตั้งคำถามปลายเปิด ตั้งใจฟังผู้อื่นพูด ฝึกการสบตา
การนำใจเขามาใส่ใจเรา เป็นการรับรู้ความเข้าใจและความต้องการของผู้อื่น เข้าใจผู้อื่นในมุมมองของพวกเขาในเหตุการณ์ต่าง ๆ วิธีการสร้าวความเข้าอกเข้าใจ เช่น มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ลองนึกภาพตนเองในหน้าที่อื่น ๆ พูดคุยกับผู้คนใหม่ ๆ
ใช้เครื่องมือนี้เพื่อช่วยคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณ และดูว่าคุณมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดีหรือไม่ เครื่องมือนี้ยังสามารถใช้เพื่อคำนวณค่าดัชนีมวลกายของลูกคุณได้อีกด้วย
เพศชาย
เพศหญิง
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
The Relation Between the Emotional Intelligence of Parents and Children. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042814045996?via%3Dihub. Accessed October 28, 2021
Emotional Intelligence and Mental Health in the Family: The Influence of Emotional Intelligence Perceived by Parents and Children. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7503667/. Accessed October 28, 2021
Emotional Intelligence. https://kidshealth.org/en/teens/eq.html. Accessed October 28, 2021
Emotional intelligence and organizational effectiveness. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4085815/. Accessed October 28, 2021
How to Improve Your Emotional Intelligence. https://professional.dce.harvard.edu/blog/how-to-improve-your-emotional-intelligence/. Accessed October 28, 2021
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย