จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด (Retinopathy of Prematurity : ROP) เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่จอตาในส่วนที่ไวต่อแสง (เรตินา) ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด อาจทำให้มีปัญหาทางสายตา หรือตาบอดได้
[embed-health-tool-due-date]
คำจำกัดความ
จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด คืออะไร
จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่จอตา ในส่วนที่ไวต่อแสง (เรตินา) ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด
ในผู้ที่มีอาการรุนแรงหลอดเลือดจอประสาทตาที่ผิดปกติจะขยายเข้าไปในสารคล้ายวุ้น (น้ำวุ้นตา) ส่งผลให้จอประสาทตาเป็นแผล ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้
พบได้บ่อยเพียงใด
จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอดพบได้ในทารกก่อนคลอด
อาการ
อาการของจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด
สัญญาณหลายอย่างของโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอดเกิดขึ้นภายในดวงตา จักษุแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลดวงตาจะตรวจดวงตาอย่างละเอียดในทารกที่มีความเสี่ยงเข้าข่ายโรคดังกล่าว ซึ่งสัญญาณอาการที่บ่งบอกว่าทารกเข้าข่ายจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด
- การเคลื่อนไหวความผิดปกติของดวงตา
- รูม่านตาสีขาว
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากทารกในครรภ์มีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์
สาเหตุ
สาเหตุของจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด
จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอดเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดจอประสาทตาในดวงตาของทารกที่คลอดกำหนด
จากการศึกษาที่นำโดยจักษุแพทย์โรงพยาบาลเด็กบอสตัน Lois Smith, MD, PhD พบว่า จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอดอาจเกิดจากการได้รับสารเคมีจากแม่ในครรภ์ในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก ๆ รวมถึงปัจจัยการเจริญเติบโตของอินซูลินและหลอดเลือด
ปัจจัยเสี่ยงของจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด
- มารดาที่มีอายุครรภ์ 30 สัปดาห์หรือน้อยกว่าเมื่อเทียบกับอายุครรภ์ตามครบกำหนด 38-42 สัปดาห์
- เด็กทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิด 1,500 กรัม โดยตามปกติทารกต้องมีน้ำตามเกณฑ์ 2,000 กรัม
- โรคโลหิตจาง
- การติดเชื้อ
- โรคหัวใจ
- เชื้อชาติ
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด
การตรวจคัดกรองทารกที่เป็นโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด จะไม่เริ่มขึ้นจนกว่าทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีอายุ 4-9 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงจะตรวจบริเวณดวงตาเพื่อดูความผิดปกติที่เกิดขึ้น
การรักษาจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด
วิธีการรักษาจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด จะขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของผู้ป่วย ซึ่งมีทั้งวิธีการรักษาแบบดั้งเดิมและแบบผสมผสาน ดังนี้
- การรักษาด้วยเลเซอร์ แพทย์จะเลเซอร์บริเวณรอบ ๆ ขอบจอประสาทตา อาจต้องใช้การดมยาสลบ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อทารกที่คลอดก่อนกำหนด
- การบำบัดด้วยความเย็น เป็นวิธีการรักษาแบบดั้งเดิม เพื่อหยุดการกระจายตัวของหลอดเลือดที่ออกมาเกินขอบของจอประสาทตาเรตินา
- รักษาด้วยยา แพทย์อาจแนะนำยากลุ่ม anti-vascular endothelial growth factor (anti-VEGF) เพื่อต้านการเจริญเติบโตของเยื่อบุผนังหลอดเลือด ลดการเจริญเติบโตของหลอดเลือดจอประสาทตา เช่น ยารานิบิซูแมบ (Ranibizumab)
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอดสามารถทำได้ ดังนี้
- ในระหว่างตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์อยู่เสมอเพื่อลดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
- หากคุณแม่ทราบว่าทารกของตนคลอดก่อนกำหนด หรือมีน้ำหนักตัวน้อย คุณแม่ควรปรึกษาจักษุแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตาเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อรับการรักษาแต่เนิ่น ๆ