backup og meta

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำได้อย่างไร และประโยชน์ของนมแม่

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำได้อย่างไร และประโยชน์ของนมแม่

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นเรื่องที่คุณแม่ยุคใหม่หันมาให้ความสนใจมากขึ้น ในขณะเดียวกันความต้องการที่จะให้นมลูกก็กลายเป็นอุปสรรคสำหรับผู้หญิงยุคใหม่ที่ถึงแม้ว่าจะพึ่งคลอดลูกแต่ก็ยังมีภาระที่จะต้องไปทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับผลวิจัยที่บอกว่า กว่า 70% ของพนักงานที่เป็นคุณแม่นั้นยังจะต้องให้นมลูกอยู่ ทั้งที่จริงแล้วหากเตรียมตัวและวางแผนเป็นอย่างดีก็สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เพราะปัจจุบันนี้มีเครื่องมือและเทคนิคใหม่ๆ ที่เป็นตัวช่วยคุณแม่ได้

[embed-health-tool-heart-rate]

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำได้อย่างไร

  • เตรียมการล่วงหน้า

หลังคลอดลูกไม่นาน หากคุณแม่คนไหนต้องรีบกลับไปทำงาน แต่ต้องการที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรปรึกษากับหัวหน้าหรือนายจ้างหากต้องการจะนำทารกมาไว้ที่ทำงาน การจัดตารางงาน เวลาเดินทางไปและกลับให้สอดคล้องกับเวลาที่ต้องการ เพื่อจะได้แบ่งเวลาการทำงานและการเลี้ยงลูกได้ลงตัว

  • จัดตารางเวลาให้เหมาะสม

เรื่องนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นอาจจะต้องมีการปั๊มนมทุกๆ 20 นาที หรืออาจจะเป็นชั่วโมง ในส่วนนี้ก็ขึ้นอยู่กับร่างกายของคุณแม่แต่ละคน จึงควรที่จะต้องมีตารางเวลาเพื่อจดบันทึก เนื่องจากงานของคุณแม่บางคนอาจจะต้องออกไปนอกสถานที่ หรืออาจจะมีประชุมซึ่งอาจจะกลายเป็นปัญหาได้

  • จัดการเรื่องสถานที่ให้ลงตัว

สถานที่ในการปั๊มนมสำหรับคุณแม่ ควรที่จะต้องเป็นห้องที่สะอาด หรืออาจจะต้องเป็นห้องที่มีความเป็นส่วนตัว เพราะฉะนั้นหากจำเป็นต้องมีการปั๊มน้ำนมในที่ทำงาน ควรเลือกใช้ห้องของเจ้านายที่สนิทและควรที่จะต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้น แต่จะดีที่สุดหากคุณมีห้องทำงานส่วนตัว หรือควรมีการปั๊มน้ำนมสำรองไว้ตั้งแต่ที่บ้านก่อนจะออกไปทำงาน

  • อุปกรณ์สำหรับปั๊มน้ำนม

สำหรับคุณแม่ที่ต้องการที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรที่จะต้องมีที่ปั๊มนม เพราะจะช่วยลดระยะเวลาลงไปได้มาก และยังช่วยให้ปั๊มนมได้เพียงพอที่จะแช่เย็นไว้สำหรับให้ลูกดื่มได้ในครั้งต่อไปด้วย

ประโยชน์ของน้ำนมแม่

แม้จะต้องแบ่งเวลาไปทำงาน หรือใช้เวลากับการทำงานมากกว่าการเลี้ยงลูกก็ตาม ควรที่จะให้ลูกได้ดื่มน้ำนมแม่ เพื่อสุขภาพที่ดีและประโยชน์ในการเจริญเติบโตของเด็ก น้ำนมแม่อาจมีประโยชน์ ดังนี้

  • เป็นแหล่งของสารอาหารที่มีประโยชน์

สำหรับทารกที่มีอายุอยู่ในช่วง 6 เดือนแรกหลังจากคลอด น้ำนมแม่มีทุกอย่างที่ลูกน้อยต้องการ ยกเว้นวิตามินดี นมแม่มีโปรตีนสูงช่วยในการเจริญเติบโตของทารก และอุดมไปด้วยสารประกอบอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ นมแม่ย่อยง่ายทำให้ทารกดูดซึมสารอาหารได้เป็นอย่างดี

  • มีสารภูมิต้านทานที่จำเป็น

น้ำนมแม่เต็มไปด้วยแอนติบอดี หรือสารภูมิต้านทาน โดยเฉพาะ อิมมูโนโกลบิน เอ (Immunoglobin A) ซึ่งช่วยป้องกันหรือต่อสู้กับความเจ็บป่วยในทารกได้

  • ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่บอกว่า ทารกดื่มนมแม่จะมีสุขภาพแข็งแรง ทั้งนี้เพราะในน้ำนมแม่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหรือการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น โรคหูชั้นกลางอักเสบ การติดเชื้อทางเดินหายใจ โรคหวัด การติดเชื้อในลำไส้  ลดภาวะทารกเสียชีวิตอย่างกะทันหัน (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS) โรคภูมิแพ้ โรคท้องร่วง โรคลำไส้อักเสบ โรคเบาหวาน โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในวัยเด็ก

  • ช่วยลดภาวะโรคอ้วน

ทารกที่ดื่มนมแม่มีอัตราของการเป็นโรคอ้วนต่ำกว่าทารกที่ดื่มนมชนิดอื่น ๆ เพราะน้ำนมแม่มีฮอร์โมนเลปติน  (Leptin) ที่ช่วยระงับความหิว และเพิ่มแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ให้มีประโยชน์มากขึ้น

  • นมแม่ทำให้ลูกฉลาด

การให้ทารกดื่มนมแม่ น้ำนมแม่จะส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารก และลดความเสี่ยงของปัญหาทางด้านการเรียนรู้ในอนาคต

  • ประหยัดเงินและประหยัดเวลา

นมแม่ไม่มีต้นทุนใด ๆ และไม่ต้องเสียเวลาออกไปซื้อจากข้างนอก หากทารกหิวนม คุณแม่ให้นมลูกได้ทันที ทั้งยังเก็บน้ำนมเอาไว้ใช้ในครั้งต่อ ๆ ไปได้อีกด้วย ส่วนในเรื่องการปั๊มนมเก็บไว้ล่วงหน้านั้นจะช่วยในการประหยัดระยะเวลาลงไปได้มาก เพราะถ้าหากว่าคุณแม่นั้นไม่สะดวกที่จะให้นมลูก ก็ยังมีนมที่ปั๊มเอาไว้แล้วมาให้ทารกแทนได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

นมแม่แน่แค่หกเดือน จริงหรือ?. https://www.unicef.org/thailand/th/stories/นมแม่แน่แค่หกเดือน-จริงหรือ. Accessed October 14, 2021.

The Benefits of Breastfeeding for Baby & for Mom. https://my.clevelandclinic.org/health/articles/15274-the-benefits-of-breastfeeding-for-baby–for-mom. Accessed October 14, 2021.

Breastfeeding. https://www.webmd.com/parenting/baby/nursing-basics#1. Accessed October 14, 2021.

Benefits of breastfeeding. https://www.nhs.uk/conditions/baby/breastfeeding-and-bottle-feeding/breastfeeding/benefits/.  Accessed October 14, 2021.

Breastfeeding attachment techniques. https://raisingchildren.net.au/newborns/breastfeeding-bottle-feeding/how-to-breastfeed/attachment-techniques. Accessed October 14, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/11/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปั๊มนม ให้ถูกวิธีควรทำอย่างไร และวิธีเก็บน้ำนมแม่ที่เหมาะสม

ให้นมลูก นานเกิน 1 ปี มีประโยชน์อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 23/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา