แป้งเด็ก เป็นผลิตภัณฑ์ที่อาจสร้างอันตรายให้แก่ ทารก ได้ เพราะร่างกายของทารกไม่พร้อมสำหรับการเผชิญมลภาวะ หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กรอบตัว การที่คุณแม่ใช้แป้งเด็กที่มีเนื้อละเอียด ง่ายต่อการฟุ้งกระจาย ชโลมบนร่างกายลูกรักโดยไม่ระมัดระวังก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ แแต่หากใช้แป้งฝุ่นสำหรับเด็กแรกเกิดอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยให้ปลอดภัยมากขึ้น
[embed-health-tool-vaccination-tool]
แป้งเด็ก อันตรายต่อสุขภาพ ทารก มากน้อยแค่ไหน
การใช้แป้งฝุ่น หรือแป้งเด็ก คุณแม่ส่วนใหญ่ใช้เพื่อปกป้องผดผื่น บริเวณที่อับชื้นของลูกน้อย ซึ่งจะบรรเทาอาการคันระคายเคืองไม่ให้จากอาการไม่สบายหรือจากการเสียดสีขณะใส่ผ้าอ้อม
อย่างไรก็ตาม ขนาดโมเลกุลอนุภาคของแป้งอาจเข้าไปสร้างปัญหาแก่ระบบทางเดินหายใจ จนไปถึงรบกวนการทำงานของปอด ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพเด็กทารก หรือเด็กแรกเกิดได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับ ทารก เมื่อใช้แป้งเด็ก
สาเหตุที่แป้งเด็ก อาจเข้าไปสร้างความเสียหายต่ออวัยวะภายในของทารกได้นั้น อาจมาจากส่วนประกอบบางอย่าง เช่น ทัลค์ หรือ ทัลคัม (Talcam) ที่เป็นสารใยหินที่มีคุณสมบัติด้านการดูดซับความชื้น ทำให้พื้นผิวนุ่มลื่น แต่เมื่อเด็กแรกเกิดที่มีภูมิต้านทานต่ำสูดดมบ่อยครั้ง ก็อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงร้ายแรงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ได้ ดังนี้
- โรคมะเร็งรังไข่
สารใยหิน หรือสารทัลค์ อาจมีส่วนที่ทำให้มะเร็งรังไข่ก่อตัวบริเวณอวัยวะเพศ และยิ่งใช้สารทัลค์ในบริเวณอวัยวะเพศมากเท่าไหร่ มะเร็งก็จะยิ่งเติบโตรวดเร็วมากเท่านั้น ซึ่งอาจพบได้บ่อยในเพศหญิงมากที่สุด
- ปัญหาระบบทางเดินหายใจ
การรักษาอากาศรอบตัวของทารกให้ถ่ายทเอยู่เสมอ เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ลูกรักหายใจได้สะดวก และได้รับอากาศบริสุทธิ์ในช่วงเวลาพักผ่อน แต่ขณะเดียวกันฝุ่นละอองจากแป้งที่ล่องลอย ฟุ้งกระจาย อาจทำให้เข้าไปขัดขวางตั้งแต่ระบบหายใจส่วนบน จนถึงระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง จนพวกเขาเริ่มมีเสียงหายใจดัง ฮืด ๆ และอาการไอ ถ้าหากสะสมไปเรื่อย ๆ เป็นระยะเวลานานอาจเป็นอันตรายต่อปอดในอนาคตได้เช่นกัน
- โรคปอดจากแร่ใยหิน
คุณแม่ส่วนใหญ่ประเมินอันตรายจากการใช้แป้งฝุ่นต่ำเกินไป ซึ่งทำให้ทารกมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตได้ประมาณร้อยละ 20 เลยทีเดียว รวมทั้งอาจทำให้ลูกรักป่วยเป็นโรคปอดบวม หรือโรคปอดจากแร่ใยหินได้อีกโดยผ่านการสูดดม
ใช้แป้งเด็ก อย่างไรให้ปลอดภัยต่อทารก
ถึงแม้จะหลีกเลี่ยงในการใช้แป้งฝุ่นไม่ได้มากนัก แต่ผู้ปกครองทุกคนเรียนรู้ที่จะนำแป้งเด็กมาใช้กับลูกน้อยอย่างปลอดภัยได้ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการทาแป้งบริเวณองคชาต หรืออวัยวะเพศโดยตรง และหันมาค่อย ๆ ชโลมทาบริเวณรอบข้างแทน เพื่อป้องกันการเสียดสีของผ้าอ้อม
- ระวังอย่าให้แป้งฟุ้งกระจายจนเข้าดวงตาทารก
- ทาแป้งให้ห่างจากใบหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงการสูดดม
- เก็บแป้งให้พ้นจากมือเด็กในช่วงอายุที่เด็กเริ่มพลิกตัว คลาน หยิบจับสิ่งของ
- อย่าเทแป้งลงไปบนร่างกายโดยตรง ให้เปลี่ยนเป็นการเทบนผ้าบาง ๆ และนำผ้านั้นมาลูบไล้บนร่างกายแทน
หากคุณแม่มีข้อสงสัยถึงการใช้แป้งฝุ่นบริเวณอวัยวะเพศของลูกน้อยเพื่อป้องกันการอับชื้น อาจจำเป็นที่ต้องหันมาเปลี่ยนเป็นการทาแป้งแบบครีมทดแทน หรือสามารถเข้าขอคำปรึกษาจากคุณหมอเฉพาะทางกุมารเวชศาสตร์ และเภสัชกรได้ทันที