เด็กวัยก่อนเข้าเรียน ส่วนมากมักอยู่ในช่วงอายุ 2-5 ปี โดยก่อนที่พวกเขาจะออกสู่สังคมเจอผู้คนแปลกใหม่ และห่างไกลจากคุณพ่อคุณแม่แล้ว ผู้ปกครองควรเตรียมตัวสร้างวินัยพื้นฐานให้ลูกรัก ได้เข้าใจถึงการใช้ชีวิตที่เด็ก ๆ อาจต้องไปเจอ ไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน การแบ่งปันสิ่งของ อยู่ในระเบียบกฎโรงเรียน เป็นต้น วิธีง่าย ๆ ที่ผู้ปกครองสามารถเริ่มปรับวินัยของเด็ก ๆ ให้ลองนำไปฝึกพวกเขาวันละนิดมีอะไรบ้าง
[embed-health-tool-child-growth-chart]
พฤติกรรมส่วนใหญ่ของ เด็กวัยก่อนเข้าเรียน
ส่วนใหญ่ในช่วงวัยก่อนเข้าเรียน มักมีพฤติกรรมที่จะแสดงให้ผู้ปกครองได้เห็นว่า พวกเขากำลังมีความต้องการอิสระมากขึ้น และค่อนข้างอยากรู้อยากเห็นสิ่งแปลกใหม่ ถึงแม้จะมีความเชื่อกันว่าเด็ก ๆ มักจะสอนระเบียบวินัย และเชื่อฟังผู้ใหญ่ง่าย แต่ขณะเดียวกันก็อาจเป็นไปได้ค่อนข้างยากในเด็กบางคน เพราะพวกเขาชอบที่จะตัดสินใจทำตามความรู้สึกตนเองเสมอ ดังนั้นผู้ปกครองทุกคนจึงอาจจำเป็นต้องปล่อยให้เด็ก ๆ เผชิญกับปัญหาด้วยตนเอง โดยมีคุณคอยสังเกตการณ์ และตักเตือนเล็กน้อยอยู่ข้าง ๆ เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่ส่งผลให้เกิดอันตราย
อีกทั้งในเด็กบางคนถึงจะมีความรักอิสระมากเพียงใด แต่ก็ยังมีความกังวลเล็กน้อยอยู่บ้าง เมื่อต้องเข้าไปเผชิญกับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนมากหน้าหลายตาที่ไม่ใช่ครอบครัวขณะอยู่โรงเรียน เช่น คุณครู และเพื่อน ๆ ช่วงวัยเดียวกัน ทางออกพื้นฐานที่ผู้ปกครองควรทำ คือการพูดคุยในสิ่งที่ลูกจะต้องไปพบเจอตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้พวกเขารู้ล่วงหน้า และอาจปรับตัวได้ไวขึ้นเมื่อถึงเวลาต้องเข้าไปชีวิตร่วมกับเด็กคนอื่น ๆ
วิธีสร้างวินัยให้ เด็กวัยก่อนเข้าเรียน
การฝึกให้ลูกอยู่ในระเบียบวินัยเป็นการสอนให้พวกเขาได้รับรู้ว่าควรมีพฤติกรรมเช่นใดในการชีวิตแต่ละวัน เพื่อให้ถูกละเว้นจากการลงโทษ และเป็นที่รักของทุกคนมากกว่าการได้รับการกระทำเชิงลบจากบุคคลอื่น ๆ เมื่อเขาเติบโตขึ้น โดยเริ่มจากวิธีต่าง ๆ ทั้ง 5 วิธี ดังนี้
- กำหนดข้อจำกัดในการลงโทษอย่างเหมาะสม โดยที่ไม่ใช้ความรุนแรงมากจนเกินไป
- รับฟังความเห็นซึ่งกัน และกัน จะเป็นการช่วยทำให้เด็กไม่มีความเครียด และกล้าที่จะอธิบายเหตุผล หรือเสนอแนะข้อตกลงเกี่ยวกับวินัย
- สอนให้เด็ก ๆ รู้จักสำนึกผิดด้วยคำพูดเชิงสอน หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดรุนแรงที่ส่งผลต่อจิตใจลูกรัก
- ให้รางวัล หรือคำชมเชย เมื่อพวกเขามีพฤติกรรมที่ดี เพื่อเป็นกำลังใจให้เด็ก ๆ ทำตามระเบียบวินัยได้อย่างไม่รู้สึกเหมือนโดนบังคับ หรือจำใจที่จะต้องทำ
- สังเกตพฤติกรรมเด็ก ๆ บ่อยครั้ง เนื่องจากเด็กมักมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมรอบข้าง บางครั้งหากเด็กมีพฤติกรรมไปในทางที่ไม่ดี คุณอาจต้องพูดคุยกับลูก ๆ พร้อมตักเตือน หรือให้ข้อเสนอแนะ พร้อมนำสิ่งเหล่านี้มาวางแผนกำหนดการปฏิบัติตนตามวินัยเสียใหม่
หากผู้ปกครองต้องการคำปรึกษา หรือวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม สามารถเข้าขอรับคำแนะนำจากกุมารแพทย์ ได้ และบอกถึงรายละเอียดพฤติกรรมของพวกเขาเบื้องต้น เพื่อรับการแก้ไขปัญหาจากคุณหมอได้อย่างตรงจุด
คำแนะนำป้องกันการเกิดปัญหา เด็กทำผิดวินัย
คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องมีการสื่อสารกับลูก ๆ อยู่เสมอ ทำให้พวกเขารู้สึกว่ามีคนรับฟัง และพร้อมให้คำแนะนำ มากกว่าการบีบบังคับ หรือการใช้บทลงโทษรุนแรง เพราะอาจส่งผลต่อจิตใจแก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัย จนส่งผลให้เด็กรู้สึกหวาดกลัว ในบางกรณีก็อาจไปกระตุ้นให้พวกเขาอยากจะทำผิด หรือเดินไปในทางที่ไม่ดีได้เพิ่มขึ้นได้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เด็กทำผิดวินัยจนนำไปสู่เหตุการณ์รุนแรง คุณพ่อคุณแม่ รวมไปถึงผู้ปกครองทุกคนควรเลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่ ตักเตือนถึงสิ่งผิดที่ไม่ควรกระทำ หรือหากเผลอทำก็ควรได้รับการแก้ไขพฤติกรรม พร้อมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันให้ลูกรักรู้สึกอบอุ่น และรู้สึกปลอดภัยเสมอเมื่ออยู่กับคุณ