backup og meta

ออกซิโทซิน (Oxytocin)

ออกซิโทซิน (Oxytocin)

ข้อบ่งใช้

ยา ออกซิโทซิน ใช้สำหรับ

ยาออกซิโทซิน (Oxytocin) เป็นยากระตุ้นมดลูก ยานี้ทำงานโดยการทำให้มดลูกหดตัว โดยการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของแคลเซียมภายในเซลล์กล้ามเนื้อมดลูก

ยาออกซิโทซินมักจะใช้เพื่อชักนำการคลอดลูก สำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคเบาหวาน หรือครรภ์เป็นพิษ

ยานี้ยังใช้เพื่อช่วยยุติการตั้งครรภ์ ในกรณีของการคลอดก่อนกำหนดอย่างไม่สมบูรณ์ หรือการแท้งบุตร ช่วยเพิ่มการหดตัวในช่วงระยะที่ 3 ของการคลอด และช่วยควบคุมอาการตกเลือดหลังจากคลอดบุตร

วิธีการใช้ยา ออกซิโทซิน

ยาออกซิโทซินมักจะใช้ที่โรงพยาบาล หรือคลินิกเท่านั้น

ไม่ควรใช้ยานี้หากยามีฝุ่นละออง เปลี่ยนสี หรือหากขวดยานั้นแตกเสียหาย

เก็บยานี้ กระบอกฉีดยา และเข็มฉีดยา ไว้ให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง อย่าใช้เข็มฉีดยา กระบอกฉีดยา และอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ ซ้ำ ควรกำจัดอุปกรณ์เหล่านี้ให้ดีหลังจากใช้งาน โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร เกี่ยวกับข้อบังคับท้องถิ่นสำหรับการกำจัดอย่างเหมาะสม

โปรดสอบถามผู้ดูแลสุขภาพ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับการใช้ยาออกซิโทซิน

การเก็บรักษายา ออกซิโทซิน

ยาออกซิโทซินมักจะจัดการและเก็บรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพ หากคุณใช้ยาออกซิโทซินเองที่บ้าน โปรดเก็บยาออกซิโทซินตามที่เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพกำหนด

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาออกซิโทซิน

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพร หรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของยาออกซิโทซิน หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากช่องคลอดของคุณมีขนาดเล็กเกินไป เมื่อเทียบกับขนาดศีรษะของทารกในครรภ์
  • หากทารกในครรภ์นั้นอยู่ในท่าที่ยากต่อการคลอด หรือหากคลอดยากและการคลอดนั้นไม่คืบหน้า
  • หากคุณเป็นโรคแทรกซ้อน และจำเป็นต้องมีการแทรกแซงทางการแพทย์ต่อการคลอด
  • หากคุณติดเชื้อแบคทีเรียในเลือด
  • หากคุณไม่สามารถคลอดบุตรทางมดลูก เนื่องจากสภาวะบางอย่าง (เช่น เป็นโรคเริมที่อวัยวะเพศ เป็นโรคมะเร็งปากมดลูก)

โปรดแจ้งให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพในทันที หากคุณสังเกตเห็นอาการหายใจลำบาก ผดผื่น อาการตกเลือดต่อเนื่อง หรืออัตราการเต้นของหัวใจเปลี่ยนแปลง

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาออกซิโทซินจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด X โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาออกซิโทซิน

โปรดติดต่อแพทย์ หากผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปเหล่านี้ไม่หายไป หรือรบกวนคุณ

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • การหดตัวของมดลูกรุนแรง หรือรวดเร็วมากขึ้น

โปรดรับการรักษาในทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้

  • อาการแพ้อย่างรุนแรง (ผดผื่น ลมพิษ คัน หายใจติดขัด แน่นหน้าอก อาการบวมที่ปาก ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น)
  • ปัญหาเกี่ยวกับลิ่มเลือด
  • อาการตกเลือดอย่างรุนแรง หรือต่อเนื่องหลังคลอดบุตร
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • เลือดไปรวมตัวกันที่กระดูกเชิงกราน
  • มดลูกแตก

หากคุณใช้ยานี้ขณะมีเด็กทารกในครรภ์ อาจมีผลข้างเคียงดังต่อไปนี้ อาการเลือดออกจากดวงตา หัวใจเต้นผิดปกติ ชัก หัวใจเต้นช้า

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาออกซิโทซินอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาดรอกซีโดปา (Droxidopa) อาจมีปฏิกิริยากับยานี้เนื่องจากการทำงานของยา และผลข้างเคียงของยานี้อาจจะเพิ่มเพราะยาออกซิโทซิน และอาจส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาออกซิโทซินอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาออกซิโทซินอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

  • การผ่าคลอด
  • เคยมีอาการคลอดยากหรือผ่าตัดมดลูก
  • โรคแทรกซ้อนขณะคลอดบุตร
  • มีบาดแผลจากการคลอดบุตร
  • มีอาการเลือดออกจากช่องคลอดอย่างรุนแรง
  • รกเกาะต่ำ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาออกซิโทซินสำหรับผู้ใหญ่

ภาวะตกเลือดหลังคลอด

  • ขนาดยาที่แนะนำคือ 10 หน่วย ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหลังจากคลอดรก
  • เพิ่ม 10-40 หน่วย ไม่เกิน 40 หน่วย ถึง 1000 มล. ของสารละลายฉีดเข้าหลอดเลือดดำแบบแห้ง (nonhydrating IV solution) และหยอดยาในอัตราที่จำเป็นเพื่อควบคุมภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว (Uterine atony)

การชักนำการคลอด 

  • ขนาดยาที่แนะนำคือฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ 0.5-1 หน่วยหยด (m Unit)/นาที ปรับไปที่ขนาดยา 1-2 หน่วยหยด/นาที ทุกๆ 15-60 นาทีจนกระทั่งรูปแบบการหดตัวนั้นคล้ายกับการคลอดตามปกติ (ตามปกติคือ 6 หน่วยหยด/นาที) อาจลดขนาดยาหลังจากได้ความถี่ในการหดตัวของมดลูกที่ต้องการและการคลอดนั้นคืบหน้าขยายขึ้นไปถึง 5-6 เซนติเมตร

อาการคลอดก่อนกำหนดที่ไม่สมบูรณ์หรือเลี่ยงไม่ได้ 

  • ขนาดยาที่แนะนำคือ 10-20 หน่วยหยด/นาที ไม่เกิน 30 หน่วย/12 ชั่วโมง

ขนาดยาออกซิโทซินสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาสารละลายออกซิโทซินสำหรับฉีด 10 หน่วย/มล.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยานี้โปรดติดต่อแพทย์ในทันที

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Oxytoxin. https://www.drugs.com/cdi/oxytocin.html. Accessed December 23, 2016

Oxytocin (Rx). http://reference.medscape.com/drug/pitocin-oxytocin-343132#0. Accessed December 23, 2016.

Oxytocin 10 IU/ml Solution for infusion. https://www.medicines.org.uk/emc/product/9334/smpc. Accessed 21 November 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

หลังคลอด ร่างกายคุณแม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

ระยะทารกหัวโผล่ ขณะคลอด (Birth Crowning)


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา