ทราโซโดน (Trazodone) มักใช้เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า (depression) ยานี้อาจช่วยเพิ่มอารมณ์ ความอยากอาหาร และระดับพลังงาน เช่นเดียวกันกับลดความวิตกกังวล และอาการนอนไม่หลับที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า
ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group
ทราโซโดน (Trazodone) มักใช้เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า (depression) ยานี้อาจช่วยเพิ่มอารมณ์ ความอยากอาหาร และระดับพลังงาน เช่นเดียวกันกับลดความวิตกกังวล และอาการนอนไม่หลับที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า
ยาทราโซโดน (Trazodone) มักใช้เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า (depression) ยานี้อาจช่วยเพิ่มอารมณ์ ความอยากอาหาร และระดับพลังงาน เช่นเดียวกันกับลดความวิตกกังวล และอาการนอนไม่หลับที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า ยาทราโซโดนทำงานโดยช่วยฟื้นฟูความสมดุลของสารเคมีตามธรรมชาติในสมองบางชนิด อย่างเซโรโทนิน (serotonin)
รับประทานยานี้ โดยปกติแล้วคือวันละหนึ่งหรือสองครั้ง หลังอาหารหรือหลังกินของว่าง หรือตามที่แพทย์กำหนด หากอาการง่วงซึมนั้นเป็นปัญหา และคุณรับประทานยาแค่วันละครั้ง ให้รับประทานยานี้ก่อนนอน หากคุณรับประทานยาวันละสองครั้ง การรับประทานยาหนึ่งครั้งก่อนนอน อาจช่วยได้ ควรทำตามแนวทางของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงแพทย์ อาจเริ่มต้นใช้ยาที่ขนาดต่ำ แล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดยา
รับประทานยานี้ตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด อย่าเพิ่มขนาดยา หรือรับประทานบ่อยกว่าที่กำหนด อาการของคุณจะไม่ดีไวขึ้น และความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจะเพิ่มขึ้น
ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่องตามที่กำหนด แม้คุณจะรู้สึกเป็นปกติ เพื่อให้ง่ายต่อการจำ ควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน อย่าหยุดใช้ยาโดยไม่ปรึกษากับแพทย์ อาจเกิดอาการวิตกกังวล ร้อนรน หรือปัญหากับการนอนหลับได้ หากคุณหยุดใช้ยาอย่างกะทันหัน
อาจต้องใช้เวลา 2 ถึง 4 สัปดาห์ จนกว่าจะสังเกตเห็นผลของยาอย่างเต็มที่ แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการไม่หายไปหรือแย่ลง
ยาทราโซโดนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาทราโซโดนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ไม่ควรทิ้งยาทราโซโดนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง
ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหาก
ก่อนใช้ยาทราโซโดน หากคุณเคยใช้ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มเอ็มเอโอไอ (MAO inhibitor) ในช่วง 14 วันที่ผ่านมาเนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาที่อันตรายได้ ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มเอ็มเอโอไอมีดังต่อไปนี้คือ ไอโซคาร์บอกซาซิด (Isocarboxazid) ลีเนโซลิด (linezolid) ฟีเนลซีน (phenelzine) ราซาจิลีน (rasagiline) เซเลจิลีน (selegiline) และทรานิลซัยโปรมีน (tranylcypromine) หลังจากหยุดใช้ยาทราโซโดน ควรรออย่างน้อย 14 น้อย ก่อนเริ่มต้นใช้ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มเอ็มเอโอไอ
ผู้ที่อายุน้อยอาจจะมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย เมื่อเริ่มต้นใช้ยาต้านซึมเศร้า แพทย์อาจจำเป็นต้องนัดมาเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าเป็นประจำขณะที่ใช้ยาทราโซโดน คนในครอบครัวและผู้ดูแลควรจะมีความตื่นตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และอาการ
การรับประทานยาต้านซึมเศร้ากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (SSRI) ในช่วงขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับปอดที่รุนแรง หรืออาการแทรกซ้อนอื่นๆ กับทารก แต่คุณอาจเป็นโรคซึมเศร้ากำเริบได้หากคุณใช้ยา แจ้งให้แพทย์ในทันที หากคุณตั้งครรภ์ระหว่างใช้ยาทราโซโดน อย่าเริ่มหรือหยุดใช้ยาขณะตั้งครรภ์ โดยไม่มีคำแนะนำจากแพทย์
ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้
ยาทราโซโดนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)
การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้
มักจะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่าดังต่อไปนี้
หยุดใช้ยาทราโซโดน และติดต่อแพทย์ในทันที หากมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้
หยุดใช้ยาทราโซโดน และติดต่อแพทย์ในทันที หากคุณมีอาการแข็งตัวของอวัยวะเพศที่เจ็บปวด หรือมีอาการนานกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไป อาการนี้เป็นอาการฉุกเฉิน และอาจทำให้เกิดสภาวะที่รุนแรงที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ
ติดต่อแพทย์ในทันทีหากมีอาการใหม่หรืออาการที่แย่ลง ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หรือพฤติกรรม อาการแพนิคกำเริบ มีปัญหากับการนอนหลับ หรือรู้สึกหุนหันพลันแล่น ฉุนเฉียว ร้อนรน ไม่เป็นมิตร ก้าวร้าว กระสับกระส่าย สมาธิสั้น (ทางจิตใจหรือร่างกาย) มีอาการซึมเศร้ามากขึ้น หรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง
ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร
ยาทราโซโดนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์
ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่
ยาทราโซโดนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
ยาทราโซโดนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ
โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า (Depression):
ยาเม็ดแบบออกฤทธิ์ทันที
ยาเม็ดแบบออกฤทธิ์นาน
ขนาดยาสำหรับผู้สูงอายุเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า (Depression):
ยาเม็ดแบบออกฤทธิ์ทันที
ยาเม็ดแบบออกฤทธิ์นาน
ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร
ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้
หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที
หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย