backup og meta

furosemide คือ ยาอะไร ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

furosemide คือ ยาอะไร ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

Furosemide คือ ยาฟูโรซีไมด์ ใช้เพื่อขับน้ำส่วนเกินภายในร่างกาย หรือภาวะบวมน้ำ (Edema) ที่เกิดจากสภาวะ เช่น หัวใจวาย โรคตับ และโรคไต ยานี้ช่วยลดอาการบางอย่าง เช่น อาการหายใจไม่อิ่ม และอาการบวมที่แขน ขา และช่องท้อง

[embed-health-tool-bmi]

ข้อบ่งใช้ ฟูโรซีไมด์

ยา ฟูโรซีไมด์ ใช้สำหรับ

furosemide คือ ยาที่ใช้เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง การลดระดับความดันโลหิต จะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และปัญหาเกี่ยวกับไต ยาฟูโรซีไมด์เป็นยาขับน้ำ หรือยาขับปัสสาวะ (Diuretic) ที่ทำให้ปัสสาวะมากขึ้น ช่วยให้ร่างกายกำจัดน้ำและเกลือส่วนเกิน

การใช้งานในด้านอื่น

ในส่วนนี้จะมีวิธีการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุมัติจากผู้เชี่ยวชาญ ให้ปรากฏอยู่บนมีอยู่ในฉลากยา แต่คุณหมออาจสั่งให้คุณใช้ได้ หากได้รับสั่งยานี้ ควรใช้ยาเพื่อรักษาอาการเท่าที่อยู่ในส่วนนี้ ตามที่หมอสั่งเท่านั้น ยาฟูโรซีไมด์ อาจใช้เพื่อลดภาวะระดับของแคลเซียมในเลือดที่เพิ่มขึ้นสูง (hypercalcemia)

วิธีการใช้

  • รับประทาน ยาฟูโรซีไมด์ ตามที่แพทย์กำหนด พร้อมกับอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหาก โดยปกติ คือวันละ 1 หรือ 2 ครั้ง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยานี้ภายใน 4 ชั่วโมงก่อนนอน เพื่อป้องกันปัสสาวะในเวลากลางคืนบ่อยจนเกินไป
  • ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพ อายุ และการตอบสนองต่อการรักษา สำหรับเด็ก ขนาดยานั้นขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวอีกด้วย ผู้สูงอายุมากจะเริ่มต้นใช้ยาที่ขนาดต่ำ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง อย่าเพิ่มขนาดยา หรือใช้ยาบ่อยกว่าที่กำหนด
  • รับประทานยาฟูโรซีไมด์เป็นประจำ เพื่อรับประโยชน์จากยาสูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำ ควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน ควรใช้ยาฟูโรซีไมด์อย่างต่อเนื่อง แม้จะรู้สึกเป็นปกติดี

หากใช้ยาเหล่านี้ ควรเว้นระยะจากการใช้ยาฟูโรซีไมด์อย่างน้อย 2 ชั่วโมง

  • ยาซูคราลเฟต (Sucralfate)
  • คอเลสไทรามีน (cholestyramine)
  • คอเลสทิพอล (colestipol) สามารถลดการดูดซึม ยาฟูโรซีไมด์ ได้

แจ้งให้คุณหมอทราบ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง (เช่น ระดับความดันโลหิตยังคงสูงอยู่หรือเพิ่มขึ้น)

วิธีการเก็บรักษา furosemide คือ อะไร

ยาฟูโรซีไมด์ ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็งยา ฟูโรซีไมด์ บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาฟูโรซีไมด์ลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง เมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ furosemide คือ อะไร

ข้อควรรู้ก่อนใช้ furosemide คือ 

  • แจ้งให้คุณหมอทราบ หากแพ้ยาฟูโรซีไมด์ ยาซัลฟา หรือยาอื่น ๆ
  • แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับยาที่คุณกำลังใช้ หรือตั้งใจจะใช้ ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์และยาที่หาซื้อเอง โดยเฉพาะยาอื่นๆ สำหรับภาวะความดันโลหิตสูง เช่น ยาแอสไพริน ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) เช่น ยาเพรดนิโซโลน (prednisone) ยาไดจอกซิน (digoxin) อย่างลานอกซิน (Lanoxin), ยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) อย่างอินโดซิน (Indocin), ยาลิเทียม (lithium) อย่างเอสคาลิธ (Eskalith) หรือลิธโทบิด (Lithobid), ยาสำหรับโรคเบาหวาน, โพรเบเนซิด (Probenecid) อย่างเบเนมิด (Benemid) และวิตามินต่างๆ หากคุณใช้ยาคอเลสไทรามีน (cholestyramine) หรือยาคอเลสทิพอล (colestipol) ควรใช้ยาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หลังจากใช้ ยาฟูโรซีไมด์
  • แจ้งให้คุณหมอทราบ หากเป็นอยู่หรือเคยเป็นโรคเบาหวาน โรคเกาต์ โรคไต หรือโรคตับ
  • แจ้งให้คุณหมอทราบ หากตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร หากตั้งครรภ์ขณะใช้ยาฟูโรซีไมด์ให้ติดต่อคุณหมอทันที
  • หากกำลังจะรับการผ่าตัด รวมไปถึงการผ่าตัดทำฟัน แจ้งให้ทันตแพทย์ทราบว่า กำลังใช้ยาฟูโรซีไมด์
  • พยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดดโดยไม่จำเป็นหรือนานเกินไป และสวมใส่เสื้อผ้าป้องกัน แว่นกันแดด และทาครีมกันแดด ยาฟูโรซีไมด์ทำให้ผิวมีปฏิกิริยาไวต่อแสงแดดมากยิ่งขึ้น

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเพียงพอ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาคุณหมอเพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาฟูโรซีไมด์ จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C จัดโดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ furosemide คือ

รับการรักษาในทันทีหากมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ผื่นลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

ควรหยุดใช้ ยาฟูโรซีไมด์ และติดต่อคุณหมอในทันที หากมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้

  • มีเสียงอื้อในหู สูญเสียการได้ยิน
  • มีอาการคัน เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระเป็นสีดินเหนียว ดีซ่าน (ผิวและดวงตาเป็นสีเหลือง)
  • มีอาการปวดอย่างรุนแรงที่กระเพาะอาหารส่วนบน และแพร่กระจายไปยังหลัง คลื่นไส้และอาเจียน
  • น้ำหนักลด ปวดตัว มีอาการชา
  • มีอาการบวม น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัสสาวะน้อยกว่าปกติหรือไม่ปัสสาวะเลย
  • ปวดหน้าอก มีอาการไอพร้อมกับเป็นไข้ครั้งใหม่ หรือแย่ลงกว่าเดิม หายใจติดขัด
  • ผิวซีด มีรอยช้ำ เลือดออกผิดปกติ รู้สึกวิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว มีปัญหากับการรวบรวมสมาธิ
  • ระดับของโพแทสเซียมต่ำ (สับสน อัตราหัวใจเต้นไม่เท่ากัน กระหายน้ำอย่างรุนแรง ปัสสาวะเพิ่มขึ้น รู้สึกไม่สบายที่ขา กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือรู้สึกกระโผลกกระเผลก)
  • ระดับของแคลเซียมต่ำ รู้สึกเป็นเหน็บรอบๆ ริมฝีปากกล้ามเนื้อแน่นหรือหดตัว ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์มากเกินไป
  • ปวดหัว รู้สึกไม่มั่นคง อ่อนแรง หรือหายใจตื้น
  • ปฏิกิริยาของผิวที่รุนแรง – เป็นไข้ เจ็บคอ บวมที่ใบหน้าหรือลิ้น แสบร้อนที่ดวงตา เจ็บผิว ตามด้วยผดผื่นสีแดงหรือสีม่วงที่ผิวหนังที่แพร่กระจาย (โดยเฉพาะที่ใบหน้าหรือร่างกายส่วนบน) และทำให้เกิดแผลพุพองหรือผิวลอก

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่ามีดังนี้

  • ท้องร่วง ท้องผูก ปวดกระเพาะ
  • มึนงง รู้สึกตาลาย
  • มีอาการคันหรือผดผื่นในระดับเบา

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้ามีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับคุณหมอหรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาฟูโรซีไมด์ อาจเกิดอันตรกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ควรจะบอกคุณหมอหรือเภสัชกรว่ากำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่าง ๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยา โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคุณหมอ

หากกำลังใช้ยาซูคราลเฟต (sucralfate) อย่างคาราเฟต (Carafate) ควรใช้อย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนหรือหลังจากใช้ยาฟูโรซีไมด์

แจ้งให้คุณหมอทราบเกี่ยวกับยาอื่นที่กำลังใช้ โดยเฉพาะยาเหล่านี้

  • ซิสพลาติน (Cisplatin) อย่างพลาทินอล (Platinol)
  • ไซโคลสปอริน (Cyclosporin) อย่างนีโอรอล (Neoral) เจนกราฟ (Gengraf) แซนดิมมูน Sandimmune)
  • กรดเอธาครีนิก (ethacrynic acid) อย่างเอเดคริน (Edecrin)
  • ลิเทียม (lithium) อย่างเอสคาลิท (Eskalith) ลิทโทบิด Lithobid)
  • เมโธเทรกเซท (methotrexate) อย่างรูเมเทรก (Rheumatrex) เทรกซอล (Trexall)
  • ยาเฟนิโทอิน (phenytoin) อย่างไดแลนทิน (Dilantin)
  • ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาอะมิคาซิน (amikacin) อย่างอะมิคิน (Amikin), ยาเซฟดิเนียร์ (cefdinir) อย่างอมนิเซฟ (Omnicef), ยาเซฟโพรซิล (cefprozil) อย่างเซฟซิล (Cefzil), ยาเซฟูรอกซิม (cefuroxime) อย่างเซฟทิน (Ceftin), ยาเซฟาเลกซิน (cephalexin) อย่างเคเฟรก (Keflex), ยาเจนตามัยซิน (gentamicin) อย่างจารามัยซิน (Garamycin), ยากานามัยซิน (kanamycin) อย่างกานเทรก (Kantrex), ยานีโอมัยซิน (neomycin) อย่างมัยซิฟราดิน (Mycifradin), นีโอฟราดิน (Neo Fradin), นีโอแท็บ (Neo Tab), ยาสเตรปโตมัยซิน (streptomycin), ยาโทบรามัยซิน (tobramycin) อย่างเน็บซิน (Nebcin), โทบิ (Tobi)
  • ยาสำหรับโรคหัวใจหรือความดันโลหิต เช่น ยาอะมิโอดาโรน (amiodarone) อย่างคอร์ดาโรน (Cordarone), เพเซโรน (Pacerone), ยาเบนาซีพริล (benazepril) อย่างโลเทนซิน (Lotensin), ยาแคนดีซาร์แทน (candesartan) อย่างอะทาแซนด์ (Atacand), ยาอิโพรซาร์แทน (eprosartan) อย่างเทเวเทน (Teveten), ยาอีนาลาพริล (enalapril) อย่างวาโซเทค (Vasotec), ยาเออร์บีซาร์แทน (irbesartan) อย่างอะวาโพร (Avapro), อะวาไลด์ (Avalide), ยาลิซิโนพริล (lisinopril) อย่างพรินิวิล (Prinivil), เซสทริล (Zestril), ยาลอซาร์แทน (losartan) อย่างโคซาร์ (Cozaar), ไฮซาร์ (Hyzaar), ยาโอล์มีซาร์แทน (olmesartan) อย่างเบนิคาร์ (Benicar), ยาควินาพริล (quinapril) อย่างแอคคูพริล (Accupril), ยาไรมิพริล (ramipril) อย่างอัลเทส (Altace), ยาเทลมิซาร์แทน (telmisartan) อย่างไมคาร์ดิส (Micardis), ยาวาลซาร์แทน (valsartan) อย่างไดโอแวน (Diovan) และอื่นๆ
  • ยาระบาย เช่น เมตามิวซิล (Metamucil) มิลค์ออฟแมกนีเซีย (Milk of Magnesia) โคเลซ (Colace) ดัลโคแลกซ์ (Dulcolax) เอ็บซัมซอลท์ (Epsom salts) เซนนา (senna) และอื่น ๆ
  • ยาซาลิไซเลต (salicylates) เช่น แอสไพริน, ไดซาลซิด (Disalcid), โดนส์พิล (Doan’s Pills), โดโลบิด (Dolobid), ซาลเฟรก (Salflex), ไตรโคซาล (Tricosal) และอื่น ๆ
  • ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroids) เช่น เพรดนิโซโลน (Prednisolone) และอื่นๆ

ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่รายชื่อของยาทั้งหมด อาจมียาอื่นที่อาจเกิดปฏิกิริยากับยาฟูโรซีไมด์ได้ แจ้งให้คุณหมอทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่กำลังใช้อยู่ ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่หาซื้อเอง วิตามิน และสมุนไพรต่าง ๆ อย่าเริ่มใช้ยาใหม่โดยไม่แจ้งให้คุณหมอทราบ

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาฟูโรซีไมด์ อาจมีปฏิกิริยากับอาหาร หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาฟูโรซีไมด์ อาจส่งผลให้อาการโรคแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้คุณหมอหรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • อาการแพ้ยาซัลฟา เช่น ซัลฟาเมทอกซาโซน (sulfamethoxazole), ซัลฟาซาลาซีน (sulfasalazine), ซัลฟิซ็อกซาโซน (sulfisoxazole), อะซูลฟิดีน (Azulfidine®), แบคทริม (Bactrim®), แจนไทรซิน (Gantrisin®), หรือเซ็บทรา (Septra®)
  • ภาวะโลหิตจาง
  • ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ และการขับถ่ายปัสสาวะ
  • ภาวะขาดน้ำ
  • โรคเบาหวาน
  • โรคเกาต์
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน
  • ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง
  • ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ
  • ภาวะคลอรีนในเลือดต่ำ
  • ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
  • ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ
  • ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ
  • ภาวะความดันโลหิตต่ำ
  • ภาวะของเหลวในกระแสเลือดต่ำ
  • โรคตับขั้นรุนแรง เช่น โรคตับแข็ง
  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Systemic lupus erythematosus)
  • โรคเสียงอื้อในหู (Tinnitus)
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากกระเพาะปัสสาวะบีบตัวผิดปกติ ต่อมลูกหมากโต ท่อปัสสาวะแคบ —ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเนื่องจากอาจทำให้อาการเหบ่านี้แย่ลงได้
  • ปัสสาวะขัด (Anuria) —ไม่ควรใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีอาการนี้
  • ภาวะโปรตีนในเลือดต่ำ (Hypoproteinemia) เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับไต
  • โรคไตจากสารทึบรังสี (Radiocontrast nephropathy) —อาจทำให้ผลข้างเคียงรุนแรงขึ้น
  • โรคไตขั้นรุนแรง—ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ประสิทธิภาพของยาอาจเพิ่มขึ้น เพราะกำจัดยาออกจากร่างกายได้ช้าลง

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาฟูโรซีไมด์สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการท้องมาน (Ascites)

  • ขนาดยาเริ่มต้น รับประทาน 20 ถึง 80 มก. ต่อครั้ง
  • ขนาดยาปกติ เพิ่มขนาดยาขึ้นไปถึง 20 ถึง 40 มก./ครั้ง ทุกๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมงจนได้ผลที่ต้องการ ระยะระหว่างการให้ยาแต่ละครั้งตามปกติคือ 1 หรือ 2 ครั้งต่อวัน ขนาดยาสูงสุดคือ 600 มก.
  • ฉีดเข้าหลอดเลือด/ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 10 ถึง 20 มก. หนึ่งครั้งนานกว่า 1 ถึง 2 นาที อาจให้ยาซ้ำในขนาดที่คล้ายคลึงกันภายใน 2 ชั่วโมงหากมีการตอบสนองที่ไม่เพียงพอ ตามด้วยให้ยาซ้ำอีกครั้งหากการตอบสนองยังคงไม่เพียงพอภายในอีก 2 ชั่วโมงถัดไป ขนาดยาฉีดเข้าหลอดเลือดครั้งสุดท้ายอาจเพิ่มถึง 20 ถึง 40 มก. จนกว่าจะได้ขนาดยาที่มีประสิทธิภาพ ขนาดยาสำหรับครั้งเดียวมากเกินกว่า 200 มก. นั้นไม่ค่อยจำเป็น
  • หยอดยาเข้าหลอดเลือดอย่างต่อเนื่อง ฉีดยาเริ่มต้นเข้าทันที 0.1 มก./กก. ตามด้วย 0.1 มก./กก./ชั่วโมง เพิ่มเป็นสองเท่าทุก ๆ 2 ชั่วโมง จนถึงขนาดยาสูงสุดคือ 0.4 มก./กก./ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาาภาวะหัวใจวาย (Congestive Heart Failure)

  • ขนาดยาเริ่มต้น รับประทาน 20 ถึง 80 มก. ต่อครั้ง
  • ขนาดยาปกติ เพิ่มขนาดยาขึ้นไปถึง 20 ถึง 40 มก./ครั้ง ทุก ๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมงจนได้ผลที่ต้องการ ระยะระหว่างการให้ยาแต่ละครั้งตามปกติคือ 1 หรือ 2 ครั้งต่อวัน ขนาดยาสูงสุดคือ 600 มก.
  • ฉีดเข้าหลอดเลือด/ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 10 ถึง 20 มก. หนึ่งครั้งนานกว่า 1 ถึง 2 นาที อาจให้ยาซ้ำในขนาดที่คล้ายคลึงกันภายใน 2 ชั่วโมง หากมีการตอบสนองที่ไม่เพียงพอ ตามด้วยให้ยาซ้ำอีกครั้ง หากการตอบสนองยังคงไม่เพียงพอภายในอีก 2 ชั่วโมงถัดไป ขนาดยาฉีดเข้าหลอดเลือดครั้งสุดท้ายอาจเพิ่มถึง 20 ถึง 40 มก. จนกว่าจะได้ขนาดยาที่มีประสิทธิภาพ ขนาดยาสำหรับครั้งเดียวมากเกินกว่า 200 มก. นั้นไม่ค่อยจำเป็น
  • หยอดยาเข้าหลอดเลือดอย่างต่อเนื่อง: ฉีดยาเริ่มต้นเข้าทันที 0.1 มก./กก. ตามด้วย 0.1 มก./กก./ชั่วโมง เพิ่มเป็นสองเท่าทุกๆ 2 ชั่วโมง จนถึงขนาดยาสูงสุดคือ 0.4 มก./กก./ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการบวมน้ำ (Edema)

  • ขนาดยาเริ่มต้น รับประทาน 20 ถึง 80 มก. ต่อครั้ง
  • ขนาดยาปกติ เพิ่มขนาดยาขึ้นไปถึง 20 ถึง 40 มก./ครั้ง ทุกๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมงจนได้ผลที่ต้องการ ระยะระหว่างการให้ยาแต่ละครั้งตามปกติคือ 1 หรือ 2 ครั้งต่อวัน ขนาดยาสูงสุดคือ 600 มก.
  • ฉีดเข้าหลอดเลือด/ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 10 ถึง 20 มก. หนึ่งครั้งนานกว่า 1 ถึง 2 นาที อาจให้ยาซ้ำในขนาดที่คล้ายคลึงกันภายใน 2 ชั่วโมงหากมีการตอบสนองที่ไม่เพียงพอ ตามด้วยให้ยาซ้ำอีกครั้งหากการตอบสนองยังคงไม่เพียงพอภายในอีก 2 ชั่วโมงถัดไป ขนาดยาฉีดเข้าหลอดเลือดครั้งสุดท้ายอาจเพิ่มถึง 20 ถึง 40 มก. จนกว่าจะได้ขนาดยาที่มีประสิทธิภาพ ขนาดยาสำหรับครั้งเดียวมากเกินกว่า 200 มก. นั้นไม่ค่อยจำเป็น
  • หยอดยาเข้าหลอดเลือดอย่างต่อเนื่อง: ฉีดยาเริ่มต้นเข้าทันที 0.1 มก./กก. ตามด้วย 0.1 มก./กก./ชั่วโมง เพิ่มเป็นสองเท่าทุก ๆ 2 ชั่วโมง จนถึงขนาดยาสูงสุดคือ 0.4 มก./กก./ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาความดันโลหิตสูง (Hypertension)

  • ขนาดยาเริ่มต้น รับประทาน 20 ถึง 80 มก. ต่อครั้ง
  • ขนาดยาปกติ เพิ่มขนาดยาขึ้นไปถึง 20 ถึง 40 มก./ครั้ง ทุกๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมงจนได้ผลที่ต้องการ ระยะระหว่างการให้ยาแต่ละครั้งตามปกติคือ 1 หรือ 2 ครั้งต่อวัน ขนาดยาสูงสุดคือ 600 มก.
  • ฉีดเข้าหลอดเลือด/ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 10 ถึง 20 มก. หนึ่งครั้งนานกว่า 1 ถึง 2 นาที อาจให้ยาซ้ำในขนาดที่คล้ายคลึงกันภายใน 2 ชั่วโมงหากมีการตอบสนองที่ไม่เพียงพอ ตามด้วยให้ยาซ้ำอีกครั้งหากการตอบสนองยังคงไม่เพียงพอภายในอีก 2 ชั่วโมงถัดไป ขนาดยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำครั้งสุดท้ายอาจเพิ่มถึง 20 ถึง 40 มก. จนกว่าจะได้ขนาดยาที่มีประสิทธิภาพ ขนาดยาสำหรับครั้งเดียวมากเกินกว่า 200 มก. นั้นไม่ค่อยจำเป็น
  • หยอดยาเข้าหลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่อง ฉีดยาเริ่มต้นเข้าทันที 0.1 มก./กก. ตามด้วย 0.1 มก./กก./ชั่วโมง เพิ่มเป็นสองเท่าทุก ๆ 2 ชั่วโมง จนถึงขนาดยาสูงสุดคือ 0.4 มก./กก./ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะปัสสาวะน้อยแบบไม่อุดตัน (Nonobstructive Oliguria)

  • ขนาดยาเริ่มต้น รับประทาน 20 ถึง 80 มก. ต่อครั้ง
  • ขนาดยาปกติ เพิ่มขนาดยาขึ้นไปถึง 20 ถึง 40 มก./ครั้ง ทุก ๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมงจนได้ผลที่ต้องการ ระยะระหว่างการให้ยาแต่ละครั้งตามปกติคือ 1 หรือ 2 ครั้งต่อวัน ขนาดยาสูงสุดคือ 600 มก.
  • ฉีดเข้าหลอดเลือด/ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 10 ถึง 20 มก. หนึ่งครั้งนานกว่า 1 ถึง 2 นาที อาจให้ยาซ้ำในขนาดที่คล้ายคลึงกันภายใน 2 ชั่วโมงหากมีการตอบสนองที่ไม่เพียงพอ ตามด้วยให้ยาซ้ำอีกครั้งหากการตอบสนองยังคงไม่เพียงพอภายในอีก 2 ชั่วโมงถัดไป ขนาดยาฉีดเข้าหลอดเลือดครั้งสุดท้ายอาจเพิ่มถึง 20 ถึง 40 มก. จนกว่าจะได้ขนาดยาที่มีประสิทธิภาพ ขนาดยาสำหรับครั้งเดียวมากเกินกว่า 200 มก. นั้นไม่ค่อยจำเป็น
  • หยอดยาเข้าหลอดเลือดอย่างต่อเนื่อง ฉีดยาเริ่มต้นเข้าทันที 0.1 มก./กก. ตามด้วย 0.1 มก./กก./ชั่วโมง เพิ่มเป็นสองเท่าทุก ๆ 2 ชั่วโมง จนถึงขนาดยาสูงสุดคือ 0.4 มก./กก./ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะปอดบวมน้ำ (Pulmonary edema)

  • ขนาดยาเริ่มต้น รับประทาน 20 ถึง 80 มก. ต่อครั้ง
  • ขนาดยาปกติ เพิ่มขนาดยาขึ้นไปถึง 20 ถึง 40 มก./ครั้ง ทุก ๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมงจนได้ผลที่ต้องการ ระยะระหว่างการให้ยาแต่ละครั้งตามปกติคือ 1 หรือ 2 ครั้งต่อวัน ขนาดยาสูงสุดคือ 600 มก.
  • ฉีดเข้าหลอดเลือด/ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 10 ถึง 20 มก. หนึ่งครั้งนานกว่า 1 ถึง 2 นาที อาจให้ยาซ้ำในขนาดที่คล้ายคลึงกันภายใน 2 ชั่วโมงหากมีการตอบสนองที่ไม่เพียงพอ ตามด้วยให้ยาซ้ำอีกครั้งหากการตอบสนองยังคงไม่เพียงพอภายในอีก 2 ชั่วโมงถัดไป ขนาดยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำครั้งสุดท้ายอาจเพิ่มถึง 20 ถึง 40 มก. จนกว่าจะได้ขนาดยาที่มีประสิทธิภาพ ขนาดยาสำหรับครั้งเดียวมากเกินกว่า 200 มก. นั้นไม่ค่อยจำเป็น
  • หยอดยาเข้าหลอดเลือดอย่างต่อเนื่อง ฉีดยาเริ่มต้นเข้าทันที 0.1 มก./กก. ตามด้วย 0.1 มก./กก./ชั่วโมง เพิ่มเป็นสองเท่าทุกๆ 2 ชั่วโมง จนถึงขนาดยาสูงสุดคือ 0.4 มก./กก./ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะไตวาย (Renal Failure)

  • ขนาดยาเริ่มต้น รับประทาน 20 ถึง 80 มก. ต่อครั้ง
  • ขนาดยาปกติ เพิ่มขนาดยาขึ้นไปถึง 20 ถึง 40 มก./ครั้ง ทุกๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมงจนได้ผลที่ต้องการ ระยะระหว่างการให้ยาแต่ละครั้งตามปกติคือ 1 หรือ 2 ครั้งต่อวัน ขนาดยาสูงสุดคือ 600 มก.
  • ฉีดเข้าหลอดเลือด/ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 10 ถึง 20 มก. หนึ่งครั้งนานกว่า 1 ถึง 2 นาที อาจให้ยาซ้ำในขนาดที่คล้ายคลึงกันภายใน 2 ชั่วโมงหากมีการตอบสนองที่ไม่เพียงพอ ตามด้วยให้ยาซ้ำอีกครั้งหากการตอบสนองยังคงไม่เพียงพอภายในอีก 2 ชั่วโมงถัดไป ขนาดยาฉีดเข้าหลอดเลือดครั้งสุดท้ายอาจเพิ่มถึง 20 ถึง 40 มก. จนกว่าจะได้ขนาดยาที่มีประสิทธิภาพ ขนาดยาสำหรับครั้งเดียวมากเกินกว่า 200 มก. นั้นไม่ค่อยจำเป็น
  • หยอดยาเข้าหลอดเลือดอย่างต่อเนื่อง ฉีดยาเริ่มต้นเข้าทันที 0.1 มก./กก. ตามด้วย 0.1 มก./กก./ชั่วโมง เพิ่มเป็นสองเท่าทุก ๆ 2 ชั่วโมง จนถึงขนาดยาสูงสุดคือ 0.4 มก./กก./ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อสำหรับการปลูกถ่ายไต (Renal Transplant)

  • ขนาดยาเริ่มต้น รับประทาน 20 ถึง 80 มก. ต่อครั้ง
  • ขนาดยาปกติ เพิ่มขนาดยาขึ้นไปถึง 20 ถึง 40 มก./ครั้ง ทุกๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมงจนได้ผลที่ต้องการ ระยะระหว่างการให้ยาแต่ละครั้งตามปกติคือ 1 หรือ 2 ครั้งต่อวัน ขนาดยาสูงสุดคือ 600 มก.
  • ฉีดเข้าหลอดเลือด/ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 10 ถึง 20 มก. หนึ่งครั้งนานกว่า 1 ถึง 2 นาที อาจให้ยาซ้ำในขนาดที่คล้ายคลึงกันภายใจ 2 ชั่วโมงหากมีการตอบสนองที่ไม่เพียงพอ ตามด้วยให้ยาซ้ำอีกครั้งหากการตอบสนองยังคงไม่เพียงพอภายในอีก 2 ชั่วโมงถัดไป ขนาดยาฉีดเข้าหลอดเลือดครั้งสุดท้ายอาจเพิ่มถึง 20 ถึง 40 มก. จนกว่าจะได้ขนาดยาที่มีประสิทธิภาพ ขนาดยาสำหรับครั้งเดียวมากเกินกว่า 200 มก. นั้นไม่ค่อยจำเป็น
  • หยอดยาเข้าหลอดเลือดอย่างต่อเนื่อง ฉีดยาเริ่มต้นเข้าทันที 0.1 มก./กก. ตามด้วย 0.1 มก./กก./ชั่วโมง เพิ่มเป็นสองเท่าทุก ๆ 2 ชั่วโมง จนถึงขนาดยาสูงสุดคือ 0.4 มก./กก./ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะปัสสาวะน้อย (Oliguria)

  • ขนาดยาเริ่มต้น รับประทาน 20 ถึง 80 มก. ต่อครั้ง
  • ขนาดยาปกติ เพิ่มขนาดยาขึ้นไปถึง 20 ถึง 40 มก./ครั้ง ทุก ๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมงจนได้ผลที่ต้องการ ระยะระหว่างการให้ยาแต่ละครั้งตามปกติคือ 1 หรือ 2 ครั้งต่อวัน ขนาดยาสูงสุดคือ 600 มก.
  • ฉีดเข้าหลอดเลือด/ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 10 ถึง 20 มก. หนึ่งครั้งนานกว่า 1 ถึง 2 นาที อาจให้ยาซ้ำในขนาดที่คล้ายคลึงกันภายใน 2 ชั่วโมงหากมีการตอบสนองที่ไม่เพียงพอ ตามด้วยให้ยาซ้ำอีกครั้งหากการตอบสนองยังคงไม่เพียงพอภายในอีก 2 ชั่วโมงถัดไป ขนาดยาฉีดเข้าหลอดเลือดครั้งสุดท้ายอาจเพิ่มถึง 20 ถึง 40 มก. จนกว่าจะได้ขนาดยาที่มีประสิทธิภาพ ขนาดยาสำหรับครั้งเดียวมากเกินกว่า 200 มก. นั้นไม่ค่อยจำเป็น
  • หยอดยาเข้าหลอดเลือดอย่างต่อเนื่อง ฉีดยาเริ่มต้นเข้าทันที 0.1 มก./กก. ตามด้วย 0.1 มก./กก./ชั่วโมง เพิ่มเป็นสองเท่าทุกๆ  2 ชั่วโมง จนถึงขนาดยาสูงสุดคือ 0.4 มก./กก./ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia)

  • รับประทาน 10 ถึง 40 มก. วันละ 4 ครั้ง
  • ฉีดยาเข้าหลอดเลือด 20 ถึง 100 มก. ทุก ๆ 1 ถึง 2 ชั่วโมงนานกว่า 1 ถึง 2 นาที

ขนาดยาฟูโรซีไมด์สำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคบวมน้ำ (Edema)

ทารกแรกเกิด

  • รับประทาน ชีวสมมูล (Bioavailability) ประมาณ 20% เคยมีการใช้ขนาดยา 1 มก./กก./ครั้ง 1 ถึง 2 ครั้ง/วัน
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าหลอดเลือด

หมายเหตุ การดูดซึมที่สำคัญภายในวงจรไฟฟ้าของเครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (Extracorporeal Membrane Oxygenation) หลีกเลี่ยงการให้ยาโดยตรงในวงจรไฟฟ้า อาจต้องให้ยาในขนาดที่สูงเพื่อให้ได้ผลขับปัสสาวะที่เพียงพอ

อายุครรภ์ต่ำกว่า 31 สัปดาห์

  • 1 มก./กก./ครั้ง ทุก ๆ 24 ชั่วโมง อาจมีการตรวจสอบการสะสมและความเสี่ยงในการเป็นพิษที่เพิ่มขึ้นกับการใช้ยาในขนาดที่มากกว่า 2 มก./กก. หรือให้ยาในขนาดยา 1 มก./กก. บ่อยกว่าทุกๆ 24 ชั่วโมง

อายุครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 31 สัปดาห์

  • 1 ถึง 2 มก./กก./ครั้ง ทุก ๆ 12 ถึง 24 ชั่วโมง
  • หยอดยาเข้าหลอดเลือดอย่างต่อเนื่อง: 0.2 มก./กก./ชั่วโมง เพิ่มขนาดยา 0.1 มก./กก./ชั่วโมง ทุก ๆ 12 ถึง 24 ชั่วโมงจนถึงอัตราการหยอดยาสูงสุดที่ 0.4 มก./กก./ชั่วโมง

ภาวะปอดบวมน้ำ

  • สูดดม 1 ถึง 2 มก./กก./ครั้ง เจือจางในน้ำเกลือธรรมดา 2 มล. หนึ่งครั้ง

ทารกและเด็ก

  • รับประทาน 2มก./กก. วันละครั้ง หากไม่ได้ผลอาจเพิ่มขนาดยาที่ 1 ถึง 2 มก./กก./ครั้ง ทุกๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมง ห้ามเกิน 6 มก./กก./ครั้ง ในกรณีส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องให้ยาเกิน 4 มก./กก. หรือให้ยาบ่อยเกินกว่าวันละ 1 ถึง 2 ครั้ง
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าหลอดเลือดดำ 1 ถึง 2 มก./กก./ครั้ง ทุกๆ 6 ถึง 12 ชั่วโมง
  • หยอดยาเข้าหลอดเลือดอย่างต่อเนื่อง 0.05 มก./กก./ชั่วโมง ปรับขนาดยาเพื่อให้ได้รับผลทางการแพทย์

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • สารละลายสำหรับฉีด 10 มก./มล. (2 มล. 4 มล. 10 มล.)
  • สารละลายสำหรับฉีด [ไม่มีสารกันบูด] 10 มก./มล. (10 มล.)
  • สารละลายสำหรับรับประทาน 8 มก./มล. (5 มล. 500 มล.) 10 มก./มล. (60 มล. 120 มล.)
  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน 20 มก. 40 มก. 80 มก.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Furosemide https://www.drugs.com/furosemide.html. Accessed July 17, 2023.

Furosemide injection http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/furosemide- injection-route/description/drg-20071261. Accessed July 17, 2023.

Furosemide http://www.webmd.com/drugs/2/drug-5512- 8043/furosemide-oral/furosemide- –oral/details. Accessed July 17, 2023.

Furosemide. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682858.html. Accessed September 28, 2023.

About furosemide. https://www.nhs.uk/medicines/furosemide/about-furosemide/. Accessed September 28, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/09/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวานลงไต ความสัมพันธ์ระหว่างไตและโรคเบาหวานที่ควรรู้

ผู้ป่วยโรคตับอักเสบดื่มแอลกอฮอล์ ได้หรือเปล่านะ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 28/09/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา