backup og meta

Enoxaparin (อีนอกซาพาริน) ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

Enoxaparin (อีนอกซาพาริน) ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

Enoxaparin (อีนอกซาพาริน) เป็นยาที่ใช้เพื่อป้องกันและรักษาลิ่มเลือดที่อันตราย ยานี้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจวาย ยานี้ช่วยให้เลือดของคุณไหลเวียนได้ดีโดยการลดการทำงานของโปรตีนที่ทำให้เลือดแข็งตัวภายในเลือด

[embed-health-tool-bmi]

ข้อบ่งใช้ Enoxaparin

Enoxaparin ใช้สำหรับ

อีนอกซาพาริน (Enoxaparin) เป็นยาที่ใช้เพื่อป้องกันและรักษาลิ่มเลือดที่อันตราย ยานี้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจวาย ยานี้ช่วยให้เลือดของคุณไหลเวียนได้ดีโดยการลดการทำงานของโปรตีนที่ทำให้เลือดแข็งตัวภายในเลือด ยาอีนอกซาพารินเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) เป็นยาเฮพาริน (Heparin) ประเภทหนึ่ง

สภาวะที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดได้มีทั้งการผ่าตัดบางประเภท (เช่น ผ่าตัดเข่า/สะโพกเทียม ผ่าตัดที่ช่องท้อง) อยู่ในสภาวะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เป็นเวลานาน โรคหัวใจวายบางประเภท และอาการเจ็บหน้าอกที่เรียกว่าอาการปวดเค้นหัวใจชนิดไม่คงที่ (unstable angina) สำหรับสภาวะบางอย่างนั้น อาจต้องใช้ยาอีนอกซาพารินร่วมกับยาเจือจางเลือดอื่นๆ

วิธีการใช้ยาอีนอกซาพาริน

ฉีด อีนอกซาพาริน เข้าใต้ผิวหนังตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติคือวันละหนึ่งหรือสองครั้งที่บริเวณช่องท้อง (อย่างน้อย 2 นิ้วเหนือจากสะดือ) อย่าฉีดยานี้เข้าในกล้ามเนื้อ ขนาดยาและระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์และการตอบสนองต่อการรักษา ขนาดยายังอาจจะขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนักตัวอีกด้วยสำหรับสภาวะบางประเภท ใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรใช้ยานี้ในเวลาเดียวกันทุกวัน

หากคุณใช้ยานี้เองที่บ้าน ควรเรียนรู้วิธีการเตรียมตัวและวิธีการใช้ทั้งหมดจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพและบรรจุภัณฑ์ยา ก่อนใช้ยานี้ควรตรวจสอบยาเพื่อดูว่ามีฝุ่นละอองหรือเปลี่ยนสีหรือไม่ หากมีไม่ควรใช้ยานั้น ก่อนฉีดยาในแต่ละครั้งควรทำความสะอาดบริเวณที่จะฉีดยาด้วยการเช็ดแอลกอฮอล์ เปลี่ยนบริเวณที่ฉีดยาทุกครั้งเพื่อลดการบาดเจ็บใต้ผิวหนัง เพื่อลดอาการช้ำ อย่าขยี้บริเวณที่ฉีดยาหลังจากฉีดยา ควรเรียนรู้วิธีการเก็บและกำจัดอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างปลอดภัย

ผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพยังอาจจะฉีดยานี้เข้าหลอดเลือดดำตามที่แพทย์กำหนด

การเก็บรักษายาอีนอกซาพาริน

อีนอกซาพาริน ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาอีนอกซาพารินบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาอีนอกซาพารินลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูก สอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา Enoxaparin

ก่อนใช้ยาอีนอกซาพาริน แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ต่อยานี้ หรือแพ้ต่อยาเฮพาริน (heparin) หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อหมูหรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนประกอบไม่ออกฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะอาการตกเลือดอย่างรุนแรง ลิ้นหัวใจเทียม โรคไต โรคตับ ความผิดปกติของเลือดหรืออาการเลือดออก (เช่น จำนวนเกล็ดเลือดต่ำ) จำนวนเกล็ดเลือดต่ำหลังจากใช้ยาเฮพาริน โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรงควบคุมไม่ได้ ปัญหาเกี่ยวกับดวงตาบางประเภท เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic retinopathy) ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะหรือลำไส้บางประเภท เช่น กำลังมีแผลหรือเพิ่งมีแผล เพิ่งผ่านการผ่าตัดกระดูกสันหลังหรือผ่านการเจาะไขสันหลัง ปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง เช่น กระดูกสันหลังผิดรูป เพิ่งผ่านการผ่าตัดดวงตา สมอง หรือไขสันหลัง

ควรจำกัดปริมาณการดื่มสุราขณะใช้ยานี้เนื่องจากอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร

ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ)

เพื่อลดโอกาสในการเกิดรอยบาด รอยช้ำ หรือการบาดเจ็บ ควรระมัดระวังในการใช้ของมีคม เช่น มีดโกนและกรรไกรตัดเล็บ และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรม เช่น กีฬาที่ต้องมีการปะทะกัน

ผู้สูงอายุอาจจะมีปฏิกิริยาไวต่อผลข้างเคียงของยานี้ได้มากกว่า โดยเฉพาะอาการตกเลือด

ระหว่างการตั้งครรภ์ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยา ผู้หญิงตั้งครรภ์และมีลิ้นหัวใจเทียมควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายานี้สามารถส่งผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้หรือไม่ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

ยาอีนอกซาพาริน จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา.

อาจเกิดอาการระคายเคือง ปวด รอยช้ำ รอยแดง และอาการบวมระดับเบาตรงบริเวณที่ฉีดยา และยังอาจเกิดอาการเหนื่อยล้าหรืออาการไข้อีกด้วย หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้นโปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้เนื่องจากคำนวณแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

ยานี้สามารถทำให้เกิดอาการเลือดออกได้หากยานี้ส่งผลมากเกินไปต่อโปรตีนที่ทำให้เลือดแข็งตัว โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากคุณมีสัญญาณของอาการตกเลือด เช่น มีอาการปวด บวม หรือไม่สบายผิดปกติ อาการเลือดออกผิดปกติหรือเป็นเวลานาน มีรอยช้ำง่ายหรือผิดปกติ ปัสสาวะสีคล้ำ อุจจาระสีดำ ปวดหัวอย่างรุนแรง สับสน การมองเห็นเปลี่ยนแปลง วิงเวียนผิดปกติ หมดสติ ชัก อ่อนแรง ชา

การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้ ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ) วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่ยามิฟีพริสโตน (mifepristone)

ในบางครั้งยานี้จะใช้ร่วมกับยาเจืองจางเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือดอื่นๆ เช่น ยาแอสไพริน ยาโคลพิโดเกรล (clopidogrel) หรือยาวาฟาริน (warfarin) เมื่อแพทย์สั่งให้คุณใช้ยาเหล่านี้ร่วมกัน คุณจะต้องรับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเพื่อลดความเสี่ยงในการตกเลือด ควรไปตามนัดของแพทย์และห้องแล็บทุกครั้ง

ควรอ่านฉลากยาทั้งยาตามใบสั่งแพทย์และยาที่หาซื้อเองทั้งหมดอย่างละเอียด เนื่องจากยาเหล่านี้อาจจะมีส่วนผสมของยาบรรเทาอาการปวดหรือลดไข้ อย่างยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ยานาพรอกเซน (naproxen) หรือยาแอสไพริน ซึ่งเมื่อใช้ร่วมกับยาอีนอกซาพารินแล้ว อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการเลือดออกหรือมีผลต้านเกล็ดเลือดได้ แต่ควรใช้ยาแอสไพรินขนาดต่ำที่แพทย์สั่งให้ใช้สำหรับเหตุผลทางการแพทย์ เช่น ใช้เพื่อป้องกันโรคหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองต่อไป (ขนาดยาโดยปกติคือ 81-325 มก. ต่อวัน) โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ยาอีนอกซาพารินอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาอีนอกซาพารินอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาอีนอกซาพารินอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาอีนอกซาพารินสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (Deep Vein Thrombosis)

  • ผู้ป่วยนอก 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • ผู้ป่วยใน 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 12 ชั่วโมง หรือ1.5 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังวันละครั้งในเวลาเดียวกันทุกวัน
  • ระยะเวลาการรักษา อย่างน้อย 5 วันและจนกว่าจะได้รับผล ไอเอ็นอาร์ [INR] 2 ถึง 3 ระยะเวลาโดยเฉลี่ยคือ 7 วัน เคยมีการรักษานานถึง 17 วันในการทดลองแบบควบคุม
  • คำแนะนำ ในการรักษาทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ควรเริ่มต้นการรักษาด้วยยาวาฟารินโซเดียม เมื่อเหมาะสม (โดยปกติคือภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากเริ่มใช้ยาอีนอกซาพาริน)
  • การใช้งาน เพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดดำอุดตันเฉียบพลันที่ไม่ได้เป็นโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (pulmonary embolism) ในผู้ป่วยนอกเมื่อใช้ร่วมกับยาวาฟารินโซเดียม
  • เพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดดำอุดตันเฉียบพลันที่เป็นหรือไม่ได้เป็นโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดในผู้ป่วยในเมื่อใช้ร่วมกับยาวาฟารินโซเดียม

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน

  • 40 มก. ฉีดใต้ผิวหนังวันละครั้ง
  • ระยะเวลาการรักษา โดยปกติคือ 6 ถึง 11 วัน เคยมีการใช้ยานานถึง 14 วันในการทดลองทางการแพทย์
  • การใช้งาน เพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอุดตันในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดดำอุดตันเนื่องจากผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรุนแรงขณะที่มีอาการป่วยเฉียบพลัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย

  • อาการปวดเค้นหัวใจชนิดไม่คงที่และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด Non Q Wave
  • 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 12 ชั่วโมง ใช้ร่วมกับการรับประทานยาแอสไพริน (100 ถึง 325 มก. วันละครั้ง)
  • ระยะเวลาการรักษา อย่างน้อย 2 วัน และจนกว่าจะมีอาการคงตัว ระยะเวลาปกติคือ 2 ถึง 8 วัน เคยมีการใช้ยานานถึง 12.5 วันในการทดลองทางการแพทย์
  • การใช้งาน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนขาดเลือดของอาการปวดเค้นหัวใจชนิดไม่คงที่และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดnon Q wave เมื่อใช้ร่วมกับยาแอสไพริน

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดคลื่นไฟฟ้าส่วน ST เพิ่มขึ้นเฉียบพลัน (STEMI)

  • 30 มก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำทันทีหนึ่งครั้ง ร่วมกับ 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังหนึ่งครั้ง ตามด้วย 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 12 ชั่วโมง (สูงสุด 100 มก. สำหรับสองครั้งแรกเท่านั้น ตามด้วย 1 มก./กก. สำหรับครั้งที่เหลือ)
  • ระยะเวลาการรักษา ยังไม่ทราบระยะเวลาที่ดีที่สุด แต่อาจจะนานกว่า 8 วัน
  • คำแนะนำ เมื่อใช้ร่วมกับยาสลายลิ่มเลือด (thrombolytic) ควรให้ยาอีนอกซาพาริน 15 นาทีก่อนและ 30 นาทีหลังจากเริ่มให้ยาสลายลิ่มเลือด
  • ผู้ป่วยทุกรายควรรับประทานยาแอสไพริน (75 ถึง 325 มก. วันละครั้ง เว้นเสียแต่จะห้ามใช้)
  • สำหรับผู้ป่วยที่ใช้การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (PCI) หากการให้ยาอีนอกซาพารินใต้ผิวหนังครั้งสุดท้ายนั้นห่างจากเวลาในการขยายบอลลูนน้อยกว่า 8 ชั่วโมง ก็ไม่จำเป็นต้องให้ยาเพิ่ม หากนานเกิน 8 ชั่วโมง ควรฉีดยาขนาด 0.3 มก./กก. เข้าหลอดเลือดดำทันที
  • การใช้งาน เพื่อป้องกันการกำเริบของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดคลื่นไฟฟ้าส่วน ST เพิ่มขึ้นเฉียบพลันที่ใช้ยาสลายลิ่มเลือดและจัดการด้วยยาหรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน เมื่อกำลังใช้ร่วมกับยาแอสไพริน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการปวดเค้นหัวใจ (Angina Pectoris)

อาการปวดเค้นหัวใจชนิดไม่คงที่และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด non Q wave

  • 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 12 ชั่วโมง ใช้ร่วมกับการรับประทานยาแอสไพริน (100 ถึง 325 มก. วันละครั้ง)
  • ระยะเวลาการรักษา อย่างน้อย 2 วัน และจนกว่าจะมีอาการคงตัว ระยะเวลาปกติคือ 2 ถึง 8 วัน เคยมีการใช้ยานานถึง 12.5 วันในการทดลองทางการแพทย์
  • การใช้งาน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนขาดเลือดของอาการปวดเค้นหัวใจชนิดไม่คงที่และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดไม่มีคลื่น Q เมื่อใช้ร่วมกับยาแอสไพริน

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดคลื่นไฟฟ้าส่วน ST เพิ่มขึ้นเฉียบพลัน

  • 30 มก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำทันทีหนึ่งครั้ง ร่วมกับ 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังหนึ่งครั้ง ตามด้วย 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 12 ชั่วโมง (สูงสุด 100 มก. สำหรับสองครั้งแรกเท่านั้น ตามด้วย 1 มก./กก. สำหรับครั้งที่เหลือ)
  • ระยะเวลาการรักษา ยังไม่ทราบระยะเวลาที่ดีที่สุด แต่อาจจะนานกว่า 8 วัน
  • คำแนะนำ เมื่อใช้ร่วมกับยาสลายลิ่มเลือด ควรให้ยาอีนอกซาพาริน 15 นาทีก่อนและ 30 นาทีหลังจากเริ่มให้ยาสลายลิ่มเลือด
  • ผู้ป่วยทุกรายควรรับประทานยาแอสไพริน (75 ถึง 325 มก. วันละครั้ง เว้นเสียแต่จะห้ามใช้)
  • สำหรับผู้ป่วยที่ใช้การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน หากการให้ยาอีนอกซาพารินใต้ผิวหนังครั้งสุดท้ายนั้นห่างจากเวลาในการขยายบอลลูนน้อยกว่า 8 ชั่วโมง ก็ไม่จำเป็นต้องให้ยาเพิ่ม หากนานเกิน 8 ชั่วโมง ควรฉีดยาขนาด 0.3 มก./กก. เข้าหลอดเลือดดำทันที
  • การใช้งาน เพื่อป้องกันการกำเริบของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดคลื่นไฟฟ้าส่วน ST เพิ่มขึ้นเฉียบพลันที่ใช้ยาสลายลิ่มเลือดและจัดการด้วยยาหรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน เมื่อกำลังใช้ร่วมกับยาแอสไพริน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษากลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome)

อาการปวดเค้นหัวใจชนิดไม่คงที่และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด non Q wave

  • 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 12 ชั่วโมง ใช้ร่วมกับการรับประทานยาแอสไพริน (100 ถึง 325 มก. วันละครั้ง)
  • ระยะเวลาการรักษา อย่างน้อย 2 วัน และจนกว่าจะมีอาการคงตัว ระยะเวลาปกติคือ 2 ถึง 8 วัน เคยมีการใช้ยานานถึง 12.5 วันในการทดลองทางการแพทย์
  • การใช้งาน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนขาดเลือดของอาการปวดเค้นหัวใจชนิดไม่คงที่และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดไม่มีคลื่น Q เมื่อใช้ร่วมกับยาแอสไพริน

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดคลื่นไฟฟ้าส่วน ST เพิ่มขึ้นเฉียบพลัน

  • 30 มก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำทันทีหนึ่งครั้ง ร่วมกับ 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังหนึ่งครั้ง ตามด้วย 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 12 ชั่วโมง (สูงสุด 100 มก. สำหรับสองครั้งแรกเท่านั้น ตามด้วย 1 มก./กก. สำหรับครั้งที่เหลือ)
  • ระยะเวลาการรักษา ยังไม่ทราบระยะเวลาที่ดีที่สุด แต่อาจจะนานกว่า 8 วัน
  • คำแนะนำ เมื่อใช้ร่วมกับยาสลายลิ่มเลือด ควรให้ยาอีนอกซาพาริน 15 นาทีก่อนและ 30 นาทีหลังจากเริ่มให้ยาสลายลิ่มเลือด
  • ผู้ป่วยทุกรายควรรับประทานยาแอสไพริน (75 ถึง 325 มก. วันละครั้ง เว้นเสียแต่จะห้ามใช้)
  • สำหรับผู้ป่วยที่ใช้การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน หากการให้ยาอีนอกซาพารินใต้ผิวหนังครั้งสุดท้ายนั้นห่างจากเวลาในการขยายบอลลูนน้อยกว่า 8 ชั่วโมง ก็ไม่จำเป็นต้องให้ยาเพิ่ม หากนานเกิน 8 ชั่วโมง ควรฉีดยาขนาด 0.3 มก./กก. เข้าหลอดเลือดดำทันที
  • การใช้งาน เพื่อป้องกันการกำเริบของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดคลื่นไฟฟ้าส่วน ST เพิ่มขึ้นเฉียบพลันที่ใช้ยาสลายลิ่มเลือดและจัดการด้วยยาหรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน เมื่อกำลังใช้ร่วมกับยาแอสไพริน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอุดตันหลังจากผ่าตัดสะโพกเทียม

  • 30 มก. ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 12 ชั่วโมง ถ้าหากมีกลไกการห้ามเลือด (hemostasis) เกิดขึ้น ควรเริ่มให้ยา 12 ถึง 14 ชั่วโมงหลังจากการผ่าตัด สำหรับการผ่าตัดสะโพกเทียม อาจพิจารณาให้ยาขนาด 40 มก. ฉีดใต้ผิวหนังวันละครั้ง ให้ยา 12 ชั่วโมงก่อนเริ่มการผ่าตัด หลังจากช่วงเริ่มต้นป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอุดตันหลังจากการผ่าตัดสะโพกเทียมแล้ว ควรป้องกันต่อโดยให้ยาในขนาด 40 มก. ฉีดใต้ผิวหนังวันละครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์
  • ระยะเวลาการรักษา โดยปกติคือ 7 ถึง 10 วัน เคยมีการใช้ยานานถึง 14 วันในการทดลองทางการแพทย์
  • การใช้งาน เพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอุดตันสำหรับผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดสะโพกเทียม ระหว่างและหลังจากการรักษาตัวที่โรงพยาบาล
  • เพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอุดตันในผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดเข่าเทียม

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดดำอุดตันหลังจากผ่าตัดเข่าเทียม

  • 30 มก. ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 12 ชั่วโมง ถ้าหากมีกลไกการห้ามเลือดเกิดขึ้น ควรเริ่มให้ยา 12 ถึง 14 ชั่วโมงหลังจากการผ่าตัด สำหรับการผ่าตัดสะโพกเทียม อาจพิจารณาให้ยาขนาด 40 มก. ฉีดใต้ผิวหนังวันละครั้ง ให้ยา 12 ชั่วโมงก่อนเริ่มการผ่าตัด หลังจากช่วงเริ่มต้นป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอุดตันหลังจากการผ่าตัดสะโพกเทียมแล้ว ควรป้องกันต่อโดยให้ยาในขนาด 40 มก. ฉีดใต้ผิวหนังวันละครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์
  • ระยะเวลาการรักษา โดยปกติคือ 7 ถึง 10 วัน เคยมีการใช้ยานานถึง 14 วันในการทดลองทางการแพทย์
  • การใช้งาน เพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอุดตันสำหรับผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดสะโพกเทียม ระหว่างและหลังจากการรักษาตัวที่โรงพยาบาล
  • เพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอุดตันในผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดเข่าเทียม

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอุดตันหลังจากผ่าตัดช่องท้อง

  • 40 มก. ฉีดใต้ผิวหนังหนึ่งครั้งโดยเริ่มให้ยา 2 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด
  • ระยะเวลาการรักษา โดยปกติคือ 7 ถึง 10 วัน เคยมีการใช้ยานานถึง 12 วันในการทดลองทางการแพทย์
  • การใช้งาน เพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอุดตันสำหรับผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดช่องท้องที่มีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดดำอุดตัน

ขนาดยาสำหรับผู้สูงอายุเพื่อรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย

  • อายุ 75 ปีขึ้นไป
  • ขนาดยาเริ่มต้น 0.75 มก./กก. ฉีดยาใต้ผิวหนังทุกๆ 12 ชั่วโมง (สูงสุด 75 มก. สำหรับสองครั้งแรก ตามด้วย 0.75 มก./กก. สำหรับครั้งที่เหลือ)
  • คำแนะนำ อย่าให้ยาโดยการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำในทันที
  • ไม่มีการปรับขนาดยาสำหรับข้อบ่งใช้อื่นๆ เว้นเสียแต่ว่าการทำงานของไตจะบกพร่อง
  • การใช้งาน เพื่อรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดคลื่นไฟฟ้าส่วน ST เพิ่มขึ้นเฉียบพลัน

การปรับขนาดยาสำหรับไต

  • ไตบกพร่องระดับเบาถึงปานกลาง (ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ [CrCl] 30 ถึง 80 มล./นาที) ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวัง
  • ไตบกพร่องระดับรุนแรง (ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์น้อยกว่า 30 มล./นาที)
  • เพื่อการป้องกันสำหรับการผ่าตัดในช่องท้อง 30 มก. ฉีดใต้ผิวหนังวันละครั้ง
  • เพื่อการป้องกันสำหรับการผ่าตัดสะโพกเทียมหรือเข่าเทียม 30 มก. ฉีดใต้ผิวหนังวันละครั้ง
  • เพื่อการป้องกันสำหรับผู้ป่วยเฉียบพลัน 30 มก. ฉีดใต้ผิวหนังวันละครั้ง
  • เพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดดำอุดตันเฉียบพลันที่ไม่ได้เป็นโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดสำหรับผู้ป่วยนอก (ใช้ร่วมกับยาวาฟาริน) 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังวันละครั้ง
  • เพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดดำอุดตันเฉียบพลันที่เป็นหรือไม่ได้เป็นโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดสำหรับผู้ป่วยใน (ใช้ร่วมกับยาวาฟาริน) 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังวันละครั้ง
  • เพื่อการป้องกันภาวะแทรกซ้อนขาดเลือดของอาการปวดเค้นหัวใจชนิดไม่คงที่และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดไม่มีคลื่น Q (ใช้ร่วมกับยาแอสไพริน) 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังวันละครั้ง
  • เพื่อรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดคลื่นไฟฟ้าส่วน ST เพิ่มขึ้นเฉียบพลันในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 75 ปี (ใช้ร่วมกับยาแอสไพริน) 30 มก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำทันทีหนึ่งครั้ง ร่วมกับ 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังหนึ่งครั้ง ตามด้วย 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังวันละครั้ง
  • เพื่อรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดคลื่นไฟฟ้าส่วน ST เพิ่มขึ้นเฉียบพลันในผู้ป่วยที่อายุ 75 ปีขึ้นไป (ใช้ร่วมกับยาแอสไพริน) 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังวันละครั้ง (ไม่ต้องฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำทันทีในตอนเริ่มต้น)

การปรับขนาดยาสำหรับตับ

ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำอื่นๆ

คำแนะนำการใช้ยา ควรศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิต

การเก็บรักษา อย่าเก็บไว้ในขวดยาสำหรับใช้หลายครั้งนานเกินกว่า 28 วันหลังจากใช้ครั้งแรก

เทคนิคการคืนรูป/เตรียมยา ควรศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิต

ความเข้ากันของยาสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

  • สำหรับการฉีดยาใต้ผิวหนัง ไม่ควรผสมยานี้กับยาฉีดหรือยาสำหรับหยดอื่นๆ
  • สำหรับการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ สามารถผสมยานี้กับน้ำเกลือ (0.9%) หรือเด็กโทรส 5% ภายในน้ำ
  • โดยทั่วไป ยานี้มีลักษณะอัตราส่วนของผลการต้านลิ่มเลือด (แอนตี้แฟกเตอร์ เท็นเอ [anti-Factor Xa]) ต่อผลการต้านการแข็งตัวของเลือด แอนตีเแฟกเตอร์ทูเอ [anti-Factor IIa]) เทียบกับยาเฮพาริน

การเฝ้าระวัง

  • เลือด ตรวจการแข็งตัวของเลือดและตรวจนับค่าสัมบูรณ์ของเม็ดเลือด (ควรศึกษาข้อมูลผลิจภัณฑ์จากผู้ผลิตและกฏเกณฑ์เฉพาะสถาบัน)

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

  • หากใช้ยานี้ขณะตั้งครรภ์หรือหากผู้ป่วยตั้งครรภ์ขณะใช้ยา ผู้ป่วยควรรับทราบถึงความเสี่ยงในการเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์และแม่เด็ก
  • ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากมีสัญญาณหรืออาการของความบกพร่องทางระบบประสาท เช่นปวดกลางหลัง ความผิดปกติของการรับความรู้สึกและการควบคุมการเคลื่อนไหว (มีอาการชาหรืออ่อนแรงบริเวณขา) หรือการทำงานของลำไส้ และ/หรือกระเพาะอาหารผิดปกติ

ขนาดยาอีนอกซาพารินสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน

คำแนะนำจากสมาคมแพทย์โรคทรวงอกแห่งสหรัฐอเมริกา (ACCP)

  • อายุน้อยกว่า 2 เดือน 1.5 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • อายุ 2 เดือนถึง 17 ปี 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 12 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน

คำแนะนำจากสมาคมแพทย์โรคทรวงอกแห่งสหรัฐอเมริกา

  • อายุน้อยกว่า 2 เดือน 1.5 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • อายุ 2 เดือนถึง 17 ปี 1 มก./กก. ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 12 ชั่วโมง

รูปแบบของยา

ขนาดและรูปแบบของยามีดังนี้

  • เข็มฉีดยาใต้ผิวหนัง
  • สายละลายสำหรับฉีดใต้ผิวหนัง

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Enoxaparin SODIUM Syringe. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-3475/enoxaparin-subcutaneous/details. Accessed January 24, 2018.

Enoxaparin Dosage. https://www.drugs.com/dosage/enoxaparin.html. Accessed January 24, 2018.

Enoxaparin. https://www.drugbank.ca/drugs/DB01225. Accessed January 24, 2018.

Enoxaparin Injection. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a601210.html. Accessed September 7, 2023.

Enoxaparin. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK539865/. Accessed September 7, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/09/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร

ระวัง! สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเกิดภาวะ หัวใจวาย ขณะออกกำลังกาย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 07/09/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา