backup og meta

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ สามารถออกกำลังกายได้หรือไม่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 30/06/2020

    ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ สามารถออกกำลังกายได้หรือไม่

    การออกกำลังกาย เป็นกิจกรรมที่ดีต่อทั้งผู้ที่มีสุขภาพดีอยู่แล้วและผู้ที่มีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง โดยเฉพาะกับ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ที่การออกกำลังกายนั้นให้ประโยชน์ทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ รวมถึงมีส่วนช่วยกระตุ้นและพัฒนากระบวนการทำงานของสมองด้วย แต่การออกกำลังกายจะดีต่อผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างไร และการออกกำลังกายแบบใดบ้างที่ดีต่อผู้ป่วยที่เป็น โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) มาติดตามได้ที่บทความนี้เลยค่ะ จาก Hello คุณหมอ

    การออกกำลังกายดีต่อ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ อย่างไร

    การออกกำลังกายไม่อาจพูดได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าสามารถช่วยให้หายขาดจากโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่…การให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สิ่งนี้ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะการออกกำลังกายจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ร่างกายได้มีการเคลื่อนไหว ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตซึ่งการไหลเวียนของโลหิตนี้ก็จะไปช่วยในการสูบฉีดออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง เป็นการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมองได้อีกทางหนึ่ง และยังมีส่วนช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญของผู้ป่วย ทำให้ร่างกายแข็งแรง

    สิ่งสำคัญนอกจากนั้นคือ การออกกำลังกายมีส่วนช่วยในการปรับสภาพอารมณ์ของผู้ป่วยด้วย โรคอัลไซเมอร์ ให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเครียดหรือภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยอีกด้วย

    ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ควรออกกำลังกายแบบใด

    ผู้ป่วยด้วย โรคอัลไซเมอร์ สามารถที่จะออกกำลังกายได้อย่างแน่นอน และเป็นผลดีต่อผู้ป่วยเองด้วย แต่สิ่งที่ควรจะต้องมีการใส่ใจเป็นพิเศษ คือ จะต้องดูว่าผู้ป่วยมีระยะของอาการเป็นแบบใด ความรุนแรงของอาการนั้นน้อยหรือมาก ควรจะต้องปรึกษากับคุณหมอและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อที่จะได้เลือกกิจกรรมและการออกกำลังกายได้ตรงกับระยะของโรคที่เป็นอยู่

    ยิ่งไปกว่านั้นคือ ผู้ป่วยจะต้องรู้สึกสนุกสนานที่ได้ทำกิจกรรมนั้น ไม่รู้สึกเครียดหรือหักโหมจนเกินไป โดยก่อนเริ่มการออกกำลังกายควรให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้มีการวอร์มอัพก่อนเสมอ เพื่อเสริมความยืดหยุ่นให้ร่างกายและลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บขณะออกกำลังกาย

    กิจกรรมที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายกิจกรรมให้เลือกทำ ดังนี้

    • รำไทเก็ก

    การออกกำลังกายด้วยการรำไทเก๊ก เป็นการออกกำลังกายที่ช่วยในเรื่องความยืดหยุ่นของร่างกาย ดีต่อข้อต่อ และยังช่วยปรับสมดุลจากภายในสู่ภายนอกอีกด้วย ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะรู้สึกผ่อนคลายและช่วยในการปรับบุคลิกภาพได้

    • การว่ายน้ำ

    การว่ายน้ำหรือกิจกรรมที่ทำในน้ำเป็นรูปแบบการออกกำลังที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยด้วย โรคอัลไซเมอร์ อย่างยิ่ง เพราะดีสำหรับข้อต่อของร่างกาย ดีต่อระบบหัวใจ และช่วยผ่อนคลายความเครียดอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นหากเป็นกิจกรรมทางน้ำที่ได้ทำร่วมกับผู้อื่นก็จะเป็นการเพิ่มการปฏิสัมพันธ์ให้แก่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้มีการเข้าสังคมและเกิดการสนทนากับผู้อื่นมากขึ้น

    กิจกรรมโยคะเป็นกิจกรรมที่เด่นในเรื่องการยืดหยุ่นร่างกาย เพิ่มความแข็งแรง และกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตได้เป็นอย่างดี ผู้ป่วยที่เป็น โรคอัลไซเมอร์ จะรู้สึกผ่อนคลาย

    • การเดิน

    การเดินเป็นกิจกรรมที่ดีเพราะแทบไม่ต้องใช้อุปกรณ์หรือลงทุนลงแรงอะไรมาก เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้พัฒนาทักษะความคิดในขณะเดินได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มความสนุกในการเดินด้วยการฟังเพลง หรือไปเดินกับสุนัขก็ได้เช่นกัน

    • การออกกำลังกายแบบแอโรบิค

    การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น การเดิน การวิ่ง การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน การทำคาร์ดิโอ จะช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้มีการเสียเหงื่อ กระตุ้นการทำงานของหัวใจและกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ซึ่งผลดีที่จะตามมาอีกต่อหนึ่งก็คือผู้ป่วยที่เป็น โรคอัลไซเมอร์ รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นและเครียดน้อยลง

    • การทำสวน

    การทำสวนอาจจะไม่ใช่กิจกรรมเพื่อการออกกำลังกายโดยตรง แต่ลักษณะของกิจกรรมเอื้อต่อผู้ป่วยอัลไซเมอร์ให้มีการใช้นิ้วมือหยิบจับและจัดแต่งสวน ซึ่งการสัมผัสด้วยนิ้วมือจะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีส่วนช่วยในการกระตุ้นความทรงจำได้ และยังช่วยบรรเทาความเครียดได้เป็นอย่างดี

    • การเล่นเกมพัฒนาสมอง

    เกมต่างๆ ก็อาจไม่ใช่การออกกำลังกายโดยตรง แต่เกมต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ป่วย โรคอัลไซเมอร์ ได้ใช้ความคิด จะเป็นวิธีหนึ่งที่มีส่วนในการกระตุ้นให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ใช้ความคิด ทำให้สมองมีการทำงาน ช่วยพัฒนาความทรงจำให้ดีขึ้นได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 30/06/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา