backup og meta

ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension Headaches)

ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension Headaches)

ปวดศีรษะจากความเครียด สามารถรักษาได้ และอาจไม่สร้างความเสียหายต่อระบบประสาท แต่หากอาการปวดศีรษะจากความเครียดเกิดขึ้นเรื้อรัง อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ หากมีอาการปวดหัวเฉียบพลัน หรือปวดหัวเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์

คำจำกัดความ

ปวดศีรษะจากความเครียด คืออะไร

ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension Headaches) คืออาการปวด ตึง หรือปวดเหมือนมีแรงกดบริเวณหน้าผาก ท้ายทอย และคอ โดยมักมีอาการปวดศีรษะเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยอาจอธิบายลักษณะของการปวดว่า คล้ายกับมีเชือกมารัดรอบศีรษะ หรือมีคีมมาหนีบบริเวณกระโหลกไว้

การปวดศีรษะจากความเครียดสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ประเภทย่อยๆ คือ

  • อาการปวดศีรษะจากความเครียดแบบครั้งคราว (episodic tension headaches) หมอจะวินิจฉัยว่าคุณมีอการปวดศีรษะประเภทนี้ก็ต่อเมื่อมีความถี่ในการปวดศีรษะน้อยกว่า 15 วันต่อเดือน
  • การปวดศีรษะจากความเครียดแบบเรื้อรัง (chronic tension headaches) โดยหมอจะวินิจฉัยว่าคุณมีอการปวดศีรษะแบบนี้ หากคุณมีความถี่ในการปวดศีรษะมากกว่า 15 วันต่อเดือน

การปวดศีรษะจากความเครียดรุนแรงพบได้บ่อยเพียงใด

เป็นอาการที่พบได้บ่อยครั้ง ส่วนใหญ่พบในเพศหญิงมากกว่าชาย และพบได้ในคนทุกวัย สามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของการปวดศีรษะจากความเครียดมีอะไรบ้าง

สัญญาณและอาการที่พบได้ทั่วไป ได้แก่

  • อาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง หรือรู้สึกเหมือนถูกกดบริเวณหน้าผาก ส่วนบนของศีรษะ และศีรษะด้านข้าง
  • อาการปวดมักเกิดในช่วงบ่าย
  • มีปัญหาการนอนหลับ
  • รู้สึกเพลียและเหนื่อยล้า
  • กระสับกระส่าย ไม่สบายตัว
  • ไม่มีสมาธิจดจ่อ
  • มีปฎิกิริยาไวต่อเสียงและแสง
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ปวดตื้อบริเวณศีรษะ
  • รู้สึกหนักเหมือนมีอะไรมากดบริเวณหน้าผาก
  • รู้สึกปวดบริเวณรอบหน้าผากและหนังศีรษะ

หากคุณมีสัญญาณหรืออาการอื่นที่ไม่ได้ระบุข้างต้น และกังวลกับอาการดังกล่าว โปรดปรึกษาแพทย์

เมื่อใดควรไปพบหมอ

ควรปรึกษาแพทย์หากคุณมีอการดังต่อไปนี้

  • อาการปวดศีรษะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ
  • ต้องพึ่งยาบรรเทาอาการปวดเกินกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์
  • มีลักษณะอาการปวดศีรษะที่แตกต่างจากเดิมที่เคยเป็น
  • มีอาการปวดศีรษะรุนแรงแบบฉับพลัน
  • มีไข้สูง คอแข็ง สับสน ชัก ตาพร่า อ่อนแรง ชา และพูดลำบาก ร่วมกับอาการปวดศีรษะ
  • มีอาการปวดศีรษะหลังจากได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ และมีอาการแย่ลง

สาเหตุ

สาเหตุของการปวดศีรษะจากความเครียด

ในความเป็นจริงสาเหตุของอาการปวดศีรษะจากความเครียดนั้น ยังคงไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง  แต่คาดว่าเป็นเพราะความไวต่อความรู้สึกเจ็บปวดของร่างกาย ที่ถูกกระตุ้นให้สูงขึ้น นอกจากนี้ ความเครียดยังเป็นตัวการสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากการทำงาน โรงเรียน ครอบครัว เพื่อน หรือจากความสัมพันธ์

สาเหตุสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การที่กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอและหนังศีรษะเกิดอาการตึง ซึ่งอาจมาจากปัจจัยเหล่านี้

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดศีรษะจากความเครียด

ปัจจัยความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะจากความเครียด ได้แก่

  • เพศหญิง งานวิจัยชี้ว่าผู้หญิงร้อยละ 90 เคยมีอาการปวดศีรษะจากความเครียด
  • วัยกลางคน 

การวินิจฉัยและการรักษา

บทความนี้ไม่ได้ให้การวินิจฉัยโรคแต่อย่างใด โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรคต่อไป

การวินิจฉัยอาการปวดศีรษะจากความเครียด

หากแพทย์สงสัยว่าคุณมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง อาจมีความจำเป็นต้องตรวจร่างกายและระบบประสาทของคุณ

ขั้นตอนต่อไป แพทย์จะพิจารณาว่าอาการปวดศีรษะของคุณอยู่ในประเภทใด มีสาเหตุจากอะไร และมีลักษณะการปวดแบบใด เช่น ปวดแบบตุบๆ เป็นจังหวะ มีอาการต่อเนื่อง ปวดแบบตื้อๆ หรือปวดจี๊ดเหมือนถูกแทง หรือปวดแบบรุนแรง โดยจะพิจารณาว่าอาการปวดศีรษะของคุณรบกวนการทำงาน หรือรบกวนการนอนจนต้องตื่นขึ้นมากลางดึก หรือนอนไม่หลับหรือไม่

แพทย์อาจต้องการทราบว่าคุณมีอาการปวดบริเวณใด ทั่วทั้งศีรษะ หรือปวดข้างใดข้างหนึ่ง หรือปวดเฉพาะบริเวณหน้าผาก หรือปวดกระบอกตา

ในบางกรณี แพทย์อาจจำเป็นต้องระบุสาเหตุของอาการปวดศีรษะของคุณ โดยอาจจำเป็นต้องทำการตรวจสมองด้วย ซีทีสแกน และเอ็มอาร์ไอ การทำซีทีสแกน คือการถ่ายภาพสมองด้วยรังสีเอ็กซ์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงภาพมุมต่างๆ ของสมอง ในขณะที่เอ็มอาร์ไอ ใช้คลื่นแม่เหล็กและคลื่นวิทยุ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการแสดงภาพที่ชัดเจน

การรักษาอาการปวดศีรษะจากความเครียด

คุณควรรักษาอาการปวดศีรษะจากความเครียดโดยทันที ตั้งแต่เริ่มมีอาการ หรือขณะยังมีอาการไม่มาก ซึ่งจะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงอาการปวดศีรษะที่รุนแรงขึ้น รวมทั้งบรรเทาอาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้น โดยสิ่งที่คุณควรทำคือ การรับประทานยาและหลีกเลี่ยงสาเหตุของอาการและปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการนั่นเอง

ในกรณีที่คุณจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อรักษาอาการปวดศีรษะ แพทย์อาจแนะนำให้คุณใช้ยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป

หากคุณมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง อาจจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อป้องกันอาการปวดศีรษะ ในกรณีที่ยาแก้ปวดธรรมดาใช้ไม่ได้ผล แพทย์อาจสั่งจ่ายยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการ

คุณอาจได้รับยาต้านซึมเศร้า เช่น ยาในกลุ่ม SSRIs เพื่อให้สมองสร้างสารเซโรโทนิน (Serotoin) ในระดับคงที่ ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมอารมร์และช่วยให้คุณเอาชนะอาการเครียด

นอกจากนี้ แพทย์อาจใช้การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) เพื่อช่วยคุณค้นหาสาเหตุของอาการเครียด ความวิตกกังวลและความกดดัน เมื่อทราบสาเหตุเหล่านั้น คุณจะได้หลีกเลี่ยงและป้องการอาการปวดศีรษะที่เกิดจากความเครียดได้

การฝังเข็มก็เป็นอีกวิธีการรักษาที่สามารถช่วยลดความเครียดและอาการปวด โดยการใช้เข็มฝังเฉพาะจุดในร่างกาย

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับอาการปวดศีรษะจากความเครียด

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองดังต่อไปนี้ อาจจะช่วยให้คุณบรรเทาอาการปวดศีรษะจากความเครียดได้

  • จัดการความเครียด หรือเรียนรู้วิธีผ่อนคลาย
  • ฝึกทักษะการควบคุมความเครียด (biofeedback)
  • ลองประคบร้อน ประคบเย็น ปรับท่าทางให้ถูกสุขลักษณะ
  • ปรับปรุงท่าทางทั้งการนั่ง และการยืนให้เหมาะสม เมื่อยืน ไม่ควรห่อไหล่ ให้ยืดคอตรง เมื่อนั่ง ให้ขาขนานกับพื้น และศีรษะไม่ยื่นไปข้างหน้า

หากมีข้อสงสัยโปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและทำการตรวจวินิจฉัยต่อไป

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tension headache. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tension-headache/basics/definition/con-20014295. Accessed June 12, 2016.

Tension headaches. http://www.webmd.com/migraines-headaches/guide/tension-headaches. Accessed June 12, 2016.

Tension Headaches. https://www.healthline.com/health/tension-headache. Accessed June 12, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย อนันตา นานา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

เซลล์ประสาท โครงสร้างและระบบการทำงานที่ควรรู้

อัมพาต สาเหตุ อาการ วิธีรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา