backup og meta

ลำโพง (Jimson weed)

ลำโพง (Jimson weed)

การใช้ประโยชน์

ลำโพง ใช้ทำอะไร?

ลำโพง (Jimson weed) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง มีพิษ ส่วนใบและเมล็ดถูกนำมาใช้ทำยา

หากไม่นับถึงเรื่องความปลอดภัย ลำโพงถูกนำมาใช้เพื่อรักษา

บางรายใช้เพื่อเป็นยาเสพติด เพื่อให้เกิดภาพหลอน และให้เกิดความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม เพราะลำโพงมีฤทธิ์ในการหลอนประสาท

สรรพคุณของลำโพง  

ยังมีการศึกษาไม่เพียงพอเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทสมุนไพรชนิดนี้ว่า มีการทำงานอย่างไร ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือขอคำแนะนำจากแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาบางชิ้นพบว่า ลำโพงมีสารเคมี อย่าง อะโทรปีน ไฮออสไซยามีน และสโคโปลามีน  สารเคมีเหล่านี้รบกวนการทำงานของสารสื่อประสาทในสมอง และระบบประสาท

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้ ลำโพง   

ควรปรึกษากับแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ถ้า

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาอื่นร่วมอยู่ รวมถึงยาที่กำลังใช้ที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • มีอาการภูมิแพ้สารใด ๆ ในลำโพง หรือยาอื่นๆ หรือสมุนไพรอื่นๆ
  • มีโรค ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้อื่นๆ เช่น แพ้อาหาร สีย้อมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้น มีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มาก  เพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

 

ลำโพงมีความปลอดภัยเพียงใด:

ลำโพงนั้นไม่ปลอดภัยในการนำไปรับประทานหรือสูดดม มันมีพิษและสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่างๆ

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

ไม่ควรมีใครนำลำโพงมาใช้ บางรายยิ่งจะมีความเสี่ยงในการได้รับสารพิษจากลำโพง ผลข้างเคียงยิ่งมีอันตรายหากท่านมีโรคหรืออาการเหล่านี้

เด็ก : ลำโพงนั้นไม่ปลอดภัยในการนำมารับประทานหรือสูดดมสำหรับเด็ก ซึ่งเด็กไวต่อสารพิษของลำโพงมากกว่าผู้ใหญ่ แม้ได้รับในปริมาณน้อยก็อาจถึงแก่ชีวิตได้

สำหรับผู้ตั้งครรภ์และอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร : ลำโพงไม่ปลอดภัยในการรับประทานและสูดดมทั้งสำหรับมารดาและบุตร

ภาวะหัวใจวาย : ลำโพงอาจทำให้หัวใจเต้นเร็วและทำให้อาการภาวะหัวใจวายแย่ลง

อาการท้องผูก :  ลำโพงอาจทำให้ท้องผูกได้

ดาวน์ซินโดรม : ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมอาจไวต่อผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายของลำโพงเป็นพิเศษ

อาการชัก : ลำโพงอาจทำให้ชักได้ อย่าใช้ลำโพงหากท่านมีอาการชักอยู่บ่อยๆ

กรดไหลย้อน : เมื่อมีอาการกรดไหลย้อน อาหารและของเหลวในกระเพาะจะย้อนกลับขึ้นมาในทางเดินที่เชื่อมกับปากและกระเพาะ ลำโพงอาจทำให้อาการของโรคแย่ลง เพราะมันจะทำให้การย่อยของกระเพาะช้าลง และมันยังลดความดันในส่วนล่างของหลอดอาหาร ซึ่งยิ่งทำให้สิ่งที่อยู่ในกระเพาะกลับขึ้นมาอีก

ไข้หวัด : ลำโพงอาจทำให้ไข้หวัดแย่ลง

แผลในกระเพาะอาหาร : ลำโพงอาจทำให้กระเพาะย่อยอาหารช้าลง และทำให้แผลในกระเพาะอาหารแย่ลง

การติดเชื้อในกระเพาะอาหารและลำไส้ : ลำโพงอาจทำให้การย่อยอาหารในกระเพาะและลำไส้ช้าลง จึงทำให้แบคทีเรียที่ไม่ดีและสารพิษที่ผลิตขึ้นมาอาจตกค้างอยู่ในระบบทางเดินอาหารนานกว่าปกติ ซึ่งทำให้การติดเชื้อที่มาจากแบคทีเรียเหล่านี้แย่ลง

ไส้เลื่อนกระบังลม : ไส้เลื่อนกระบังลมเป็นอาการที่ส่วนของกระเพาะอาหารถูกผลักขึ้นมาบริเวณอกผ่านรูที่กระบังลม ซึ่งกระบังลมนั้นเป็นกล้ามเนื้อที่แยกช่องว่างของหน้าอกออกจากกระเพาะอาหาร การใช้ลำโพงอาจทำให้โรคไส้เลื่อนกระบังลมแย่ลง มันสามารถทำให้กระบวนการย่อยอาหารช้าลงได้

ต้อหิน : ต้อหินเป็นโรคตาชนิดหนึ่ง มันทำให้เกิดความดันภายในดวงตาและอาจทำให้ตาบอดได้หากไม่รักษา ลำโพงนั้นยิ่งเป็นอันตรายต่อคนที่เป็นต้อหินเพราะมันอาจไปเพิ่มความดันในดวงตายิ่งกว่าเดิม

โรคระบบทางเดินอาหาร :  การไม่ตึงตัว ภาวะลำไส้อืด อาการตีบ ลำโพงอาจทำให้อาการเหล่านี้แย่ลง

หัวใจเต้นเร็ว : ลำโพงอาจทำให้อาการนี้แย่ลง

อาการพองตัวของลำไส้ : โรคที่ทำให้ถึงตายได้นี้ ลำไส้ใหญ่เกิดการขนาดตัวมาก เพราะเกิดการติดเชื้อหรือจากโรคลำไส้อื่นๆ  การใช้ลำโพงอาจทำให้อาการแย่ลง

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล : เป็นโรคลำไส้ติดเชื้อที่ส่งผลต่อลำไส้ใหญ่ การใช้ลำโพงอาจทำให้อาการแย่ลง

ภาวะร่างกายไม่สามารถขับปัสสาวะได้ตามปกติ : การใช้ลำโพงอาจทำให้อาการแย่ลง

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ลำโพง

ลำโพงมีสารพิษและก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายหลายอย่าง ได้แก่ ปากแห้ง กระหายน้ำอย่างมาก ปัญหาการมองเห็น คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว เกิดภาพหลอน อุณหภูมิสูง ชัก สับสน หมดสติ หายใจลำบาก และถึงแก่ความตาย ขนาดการใช้ที่อาจถึงตายในผู้ใหญ่ คือ ส่วนใบ 15-100 กรัม  หรือ เมล็ด 15-25 กรัม

ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจจะมีอาการของผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากกังวลเรื่องผลข้างเคียง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ลำโพง  

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรชนิดนี้ อาจมีผลต่อยาหรือพยาธิสภาพในปัจจุบัน ควรปรึกษาหมอผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้งาน

ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะมีปฏิกิริยากับลำโพง ได้แก่ ยาที่ใช้เพื่อลดน้ำคัดหลั่ง

ลำโพงมีสารเคมีที่ทำให้เกิดอาการแห้ง ซึ่งมีผลต่อสมองและหัวใจ ยาที่เรียกว่ายาที่ใช้เพื่อลดน้ำคัดหลั่งสามารถทำให้เกิดอาการได้เช่นกัน การใช้ลำโพงกับยาลดน้ำคัดหลั่งร่วมกัน อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเช่น ผิวแห้ง วิงเวียน ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว และผลข้างเคียงร้ายแรงอื่นๆ

ยาที่ใช้เพื่อลดน้ำคัดหลั่ง ได้แก่ อะโทรปีน สโคโปลามีน และยาแก้แพ้ต่างๆ (ยาต้านฮิสตามีน) และยารักษาอาการซึมเศร้า

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดในการใช้ลำโพงโดยทั่วไปคือเท่าไหร่

ขนาดการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนี้ อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับปริมาณที่เหมาะสม

 

ลำโพงมีจำหน่ายในรูปแบบใด

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • สารสกัดน้ำ
  • ชนิดผง
  • ทิงเจอร์

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

jimson weed http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-921-jimson%20weed.aspx?activeingredientid=921&activeingredientname=jimson%20weed Accessed March 31, 2017

Jimson Weed Medicinal Uses, Side Effects and Benefits. https://www.gyanunlimited.com/health/jimson-weed-medicinal-uses-side-effects-and-benefits/11392/. Accessed January 27, 2019

JIMSON WEED. https://www.rxlist.com/jimson_weed/supplements.htm. Accessed January 27, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไข้หวัดใหญ่ทำพิษ เด็กน้อยวัย 4 ขวบอาจ สูญเสียการมองเห็น

น้ำผึ้งผสมมะนาว สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ช่วยบรรเทา อาการไอ ได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา