backup og meta

อิงลิชวอลนัท (English Walnut)

อิงลิชวอลนัท (English Walnut)

อิงลิชวอลนัท (English walnut) เป็นวอลนัทชนิดหนึ่ง และเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ผลวอลนัท เปลือก และใบจะนำมาใช้ทำเป็นยา

ข้อบ่งใช้

อิงลิชวอลนัท ใช้สำหรับ

อิงลิชวอลนัท (English walnut) เป็นสายพันธุ์หนึ่งของวอลนัท และเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ผลวอลนัท เปลือก และใบจะนำมาใช้ทำเป็นยา

การรับประทานถั่ววอลนัท ร่วมกับอาหารที่มีไขมันต่ำ สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ในเลือดได้ อีกทั้งยังอาจสามารถช่วยเพิ่มระดับของไขมันดี (HDL) ในเลือดได้อีกด้วย ส่วนเปลือก ใบ และผลวอลนัทยังใช้เพื่อช่วยรักษาสภาวะต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร และโรคผิวหนัง แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะมาสนับสนุนว่า การใช้อิงลิชวอลนัทสามารถรักษาโรคเหล่านี้ได้จริงหรือไม่

นอกจากการนำมาใช้เป็นยาแล้ว วอลนัทยังเป็นของว่าง หรือวัตถุดิบประกอบอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างมากอีกด้วย

การทำงานของอิงลิชวอลนัท

เนื่องจากในปัจจุบัน ยังมีงานวิจัยศึกษาเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของอิงลิชวอลนัทไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร แต่อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางชิ้นระบุว่า อิงลิชวอลนัทมีกรดไขมันซึ่งสามารถลดคอเลสเตอรอล และมีสารเคมีที่สามารถขยายหลอดเลือด ทำให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น และเลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้อิงลิชวอลนัท

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้สารจากอิงลิชวอลนัท หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่นแพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

ข้อกำหนดสำหรับการใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดการใช้ยาอื่นๆ อย่าลืมศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

การรับประทานถั่ววอลนัท ใน และเปลือกวอลนัทนั้นมีความปลอดภัย หากรับประทานในปริมาณเท่าที่พบได้ในอาหาร แต่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับการรับประทานวอลนัทในปริมาณมากเพื่อใช้เป็นยาว่าอันตรายหรือไม่ เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้

ห้าม รับประทานหรือทาเปลือกอิงลิชวอลนัทบนผิวหนัง หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้อิงลิชวอลนัท

การรับประทานวอลนัทอาจทำให้เกิดอาการ

  • ถ่ายเหลว
  • ท้องอืด
  • น้ำหนักขึ้น

นอกจากนี้ บางคนอาจจะเป็นโรคภูมิแพ้ต่อถั่ววอลนัทได้ และหากผู้ที่ที่มีอาการแพ้ถั่ววอลนัทรับประทานวอลนัท อาจทำให้เกิดอาการแพ้ต่างๆ เช่น ผื่นผิวหนัง คัน คอบวม หรืออาจทำให้เสียชีวิตได้

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

อิงลิชวอลนัทอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของอิงลิชวอลนัท

สำหรับประทาน

  • สำหรับภาวะคอเลสเตอรอลสูง รับประทานอิงลิชวอลนัท 8-11 เม็ด หรือประมาณ 30-56 กรัม

รูปแบบของอิงลิชวอลนัท

  • ผลวอลนัท
  • เปลือกผลวอลนัท
  • ใบวอลนัท

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

English Walnut. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-127-english%20walnut.aspx?activeingredientid=127&activeingredientname=english%20walnut. Accessed March 25, 2017

English Walnut. https://www.drugs.com/npp/walnut.html. Accessed March 25, 2017

ENGLISH WALNUT https://www.rxlist.com/english_walnut/supplements.htm

What are the health benefits of walnuts? https://www.medicalnewstoday.com/articles/309834

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/07/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารคอเลสเตอรอลสูง ที่ควรหลีกเลี่ยงมีอะไรบ้าง เพื่อป้องกันโรคหัวใจ

วอลนัทดำ (Black Walnut)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 02/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา