2.ขีดเส้นความสัมพันธ์ให้ชัดเจน
ไม่ว่าใครต่างก็มีเส้นที่ไม่ควรข้ามกันทั้งนั้น รวมถึงตัวคุณและตัวคนรักของคุณด้วย แต่ในบางครั้งปัญหา วิกฤตวัยกลางคน อาจเปลี่ยนแปลงการกระทำกับความคิดของคุณและคนรัก และอาจทำให้หลงลืมขีดจำกัดความอดทนของกันและกันได้ ดังนั้นการขีดเส้นแบ่งจุดให้ชัดเจนว่าจุดไหนคือเกินขีดกำจัดความอดทนของคุณ เพื่อป้องกันไม่ให้พลาดพลั้งและเผลอทำร้ายจิตใจของกันและกัน
3.จัดการกับความโกรธให้ดี
อาการโกรธและอารมณ์เสียนั้นเป็นลักษณะที่พบเห็นได้บ่อยสำหรับผู้ที่มี วิกฤตวัยกลางคน และความโกรธเหล่านั้นอาจนำมาซึ่งการทะเลาะเบาะแว้งได้ และยิ่งถ้าคุณเป็นคนใส่อารมณ์ไปกับการทะเลาะครั้งนั้นด้วย ก็จะยิ่งเป็นการเติมเชื้อไฟให้ปะทุรุนแรงขึ้น
ดังนั้น คุณจึงควรเป็นคนที่มีสติมากกว่า และจัดการกับความโกรธให้ดี รอให้อารมณ์สงบก่อน แล้วจึงค่อยมาคุยกัน เพื่อไม่ให้ความโกรธนั้นบังตาและตัดสินใจบางอย่างที่อาจทำให้คุณและคนรักรู้สึกเสียใจในภายหลังได้
4.พยายามรับฟัง
ในบางครั้ง วิกฤตวัยกลางคน อาจทำให้เกิดปัญหาที่คุณรู้สึกว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาขึ้นมาได้ หากคนรักของคุณมาปรึกษาเกี่ยวกับปัญหานั้น คุณก็ควรจะรับฟังและไม่รีบด่วนตัดสินไปก่อน แม้ว่าปัญหานั้นอาจจะฟังดูไร้สาระมากเพียงใดก็ตาม
5.ขอความช่วยเหลือจากภายนอก
ในบางครั้ง วิกฤตวัยกลางคน อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของคุณกับคนรักมากเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ด้วยตัวเอง คุณอาจจำเป็นต้องรับความช่วยเหลือจากภายนอก การปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้คุณและคนรักสามารถจัดการกับปัญหาได้ดียิ่งขึ้น
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย