backup og meta

ดนตรีบำบัด ศาสตร์ที่นอกจะทำให้สุขใจ ยังช่วยบำบัด ภาวะซึมเศร้า ได้อีกด้วย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    ดนตรีบำบัด ศาสตร์ที่นอกจะทำให้สุขใจ ยังช่วยบำบัด ภาวะซึมเศร้า ได้อีกด้วย

    เสียงเพลงและดนตรี เป็นสิ่งที่ส่งผลต่ออารมณ์ของผู้ฟัง หากยิ่งได้ฟังเพลงที่ตรงกับอารมณ์ในช่วงนั้นๆ ก็จะยิ่งทำให้ผู้ฟังมีอารมณ์ร่วมและอินกับเพลงมากเป็นพิเศษ นอกจากเพลงส่งผลต่ออารมณ์แล้วยังมีศาสตร์ที่เรียกว่า ดนตรีบำบัด ซึ่งสามารถใช้ได้กับหลายๆ โรค แต่วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง ดนตรีบำบัด ภาวะซึมเศร้า มาฝากกันค่ะ

    ดนตรีบำบัด คืออะไร

    ดนตรีบำบัด (Music Therapy) เป็นศาสตร์ที่ใช้ ดนตรี ในการบำบัด บรรเทาโรคต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นการรวมองค์ประกอบที่มีความแตกต่างเข้าด้วยกัน เช่น การทำเพลง การเขียนเพลง หรือแม้กระทั่งการฟังเพลง แต่ดนตรีบำบัดนั้นเป็นมากกว่าดนตรีธรรมดา เพราะจะเป็นการประยุกต์ดนตรีเข้ากับเทคนิคทางการแพทย์เพื่อใช้ในการรักษาโรค โดยจะรวมเอาองค์ความรู้ด้านการสื่อสาร ประสาทวิทยา และความผิดปกติเกี่ยวกับจิตใจและอารมณ์เข้าด้วยกัน เพื่อบรรเทาอาการป่วยเรื้อรังหรือการจัดการกับความเจ็บปวด

    เมื่อผู้ป่วยเริ่มใช้ดนตรีบำบัด นักบำบัดจะเริ่มต้นด้วยการถามถึงเป้าหมาย เช่น เมื่อคุณป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และรู้สึกว่าอาการของโรคซึมเศร้าส่งผลให้คุณมีอารมณ์ที่ไม่คงที่ เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง ทั้งวัน เป้าหมายของคุณอาจจะเป็น ต้องการใช้ดนตรีเพื่อปรับปรุงอารมณ์ให้มีความคงที่ โดยนักบำบัดอาจจะเริ่มใช้ดนตรีบำบัดกับอาการอื่นๆ ของภาวะซึมเศร้าก่อน เช่น ความวิตกกังวล อาการนอนไม่หลับหรือมีปัญหาในการโฟกัส หลังจากนั้น นักบำบัดอาจจะเริ่มต้นรักษาในเรื่องอื่นๆ เช่น

  • ปรับปรุงอารมณ์ให้มีความคงที่มากขึ้น
  • ยกระดับคุณภาพชีวิตของคุณ
  • เสริมสร้างทักษะการเผชิญปัญหา
  • กระตุ้นการแสดงออกทางอารมณ์
  • บรรเทาความเครียดและอาการวิตกกังวล
  • การใช้ ดนตรีบำบัด ภาวะซึมเศร้า

    การใช้ดนตรี เพื่อบำบัดอาการซึมเศร้านั้น เป็นการใช้ดนตรีเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคมของแต่ละคน โดยการฟังเพลง การใช้เสียงดนตรีในการบำบัดนั้น ช่วยให้ผู้ป่วยได้แสดงออกด้วยวิธีแบบ อวัจนภาษา ซึ่งการทำงานของท่วงทำนอง ที่มีความกลมกลืน และจังหวะจะมีการไปกระตุ้นประสาทสัมผัสและส่งเสริมความสงบของผู้ป่วย โดยดนตรีจะช่วยชะลอการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ และการทำงานในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

    นอกจากนี้การใช้ดนตรีบำบัดร่วมกับการบำบัดแบบพูดคุยยังช่วยเพิ่มระดับ ฮอร์โมนต์โดพามีน (dopamine) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่ช่วยให้การทำงานของสมองและการเคลื่อนไหวให้เป็นไปได้อย่างปกติ ช่วยควบคุมอารมณ์ การเรียนรู้ และสมาธิ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่าฮอร์โมนโดพามีน มีส่วนช่วยให้คนมองโลกในแง่ดีมากขึ้น หรือมีความคิด ทัศนคติไปในทางบวก นอกจากนี้เมื่อเกิดปัญหายังช่วยให้มีสมาธิในการจัดการเรื่องต่างๆ ได้ดีขึ้นอีกด้วย

    ไมเคิล ครอว์ฟอร์ด นักจิตแพทย์ ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับ ดนตรีบำบัด ในวารสาร The British Journal of Psychiatry เกี่ยวกับประเด็นว่า ทำไมการใช้ดนตรีบำบัดจึงได้ผล โดยไมเคิลได้ให้เหตุผลว่า ประการแรกดนตรีส่งผลต่ออารมณ์ ด้วยความหมายของเพลงและดนตรีทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงอารมณ์ของเพลง และได้รับรู้และซึมซับความหมายดีๆ ที่เพลงส่งมายังผู้ป่วย

    ประการที่สองการบำบัดด้วยดนตรี ทำให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหว ไปตามจังหวะของดนตรีและเสียงเพลง ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยได้มีการเคลื่อนไหว เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายมีส่วนช่วยในการป้องกันภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้การฟังเพลงยังช่วยให้เราได้สื่อสารและโต้ตอบกับผู้อื่น ซึ่งดนตรียังช่วยให้ผู้ป่วยมีทักษะการเข้าสังคมได้ง่ายขึ้นด้วย นอกจากนี้จากการวิจัยยังให้ข้อมูลอีกว่าการใช้ดนตรีบำบัดเป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า เมื่อใช้บำบัดร่วมกับการรักษาตามปกติ เช่น การใช้ยาและจิตบำบัด

    ประโยชน์อื่นๆ ของ ดนตรีบำบัด

    ดนตรีนอกจากจะสามารถช่วยบำบัดอาการซึมเศร้าแล้ว นักวิจัยยังมีการสำรวจศักยภาพของการใช้ดนตรีบำบัด อย่างอื่นอีกด้วย พบว่าดนตรีบำบัดสามารถช่วยให้คนทุกวัยที่มีสภาพร่างกายและจิตใจรวมไปถึง

    • โรคจิตเภท
    • ความผิดปกติทางด้านการพูด
    • ความผิดปกติทางพฤติกรรม
    • โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • ปัญหาการใช้สารเสพติด
    • กลุ่มอาการออทิสติก
    • ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง
    • พัฒนาการล่าช้าและความบกพร่องทางการเรียนรู้
    • โรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บที่สมองและความผิดปกติของระบบประสาท

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา