backup og meta

ทำอย่างไรดี เมื่อฉันเป็น โรคกลัวเสียงฟ้าร้อง

เด็กและผู้ใหญ่หลายคนมักมีอาการกลัวเสียงฟ้าร้อง บางรายอาจมีอาการตัวสั่น ร้องไห้ และยิ่งหวาดกลัวมากขึ้นเมื่ออยู่คนเดียว เราจะมีวิธีการกำจัดความกลัวเหล่านี้ออกไปได้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณค่ะ ในบทความเรื่อง ทำอย่างไรดี  เมื่อฉันเป็น โรคกลัวเสียงฟ้าร้อง

[embed-health-tool-bmr]

ทำความรู้จักกับโรคกลัวเสียงฟ้าร้อง (Astraphobia)

โรคกลัวเสียงฟ้าร้อง (Astraphobia) คือ ความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นขณะได้ยินเสียงฟ้าร้อง เป็นความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผล ผู้ป่วยจะรู้สึกวิตกกังวลทั้งๆที่รู้ว่าสิ่งนั้นไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คิด แต่ไม่สามารถหยุดความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นได้

ส่วนใหญ่โรคนี้มักพบในวัยเด็กมากกว่าวัยผู้ใหญ่ ร่างกายจะรู้สึกอ่อนเพลีย ใจสั่น เหงื่อออก ทุกครั้งเมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้อง โรคกลัวเสียงฟ้าร้องนั้นสามารถรักษาให้หายได้ เช่นเดียวกับโรคอาการกลัวอื่น ๆ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม

เช็กด่วน! คุณมีอาการกลัวเสียงฟ้าร้องหรือไม่

ถ้าเสียงฟ้าทำให้คุณแล้วมีอาการดังต่อไปนี้ นั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคกลัวเสียงฟ้าร้อง

  • รู้สึก ชา ตัวสั่น หัวใจเต้นไว
  • หายใจติดขัด
  • เจ็บหน้าอก
  • ฝ่ามือ มีเหงื่อออก
  • รู้สึกว่าต้องหลบซ่อนตัวขณะที่เสียงฟ้าร้อง เช่น หลบอยู่ในตู้เสื้อผ้า ห้องน้ำ ใต้เตียง เป็นต้น
  • ร้องไห้ ไม่สามารถควบคุมตนเองได้

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็น โรคกลัวเสียงฟ้าร้อง

  • ความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเด็ก ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คุณกลัวเสียงฟ้าร้อง อาจเกิดจากความความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเด็ก เช่นความรู้สึกกลัวเสียงฟ้าร้องในวัยเด็ก อาจส่งผลกระทบให้คุณรู้สึกกลัวจนถึงปัจจุบัน
  • ความผิดปกติทางสมอง เกิดจากความผิดปกติของสมอง ที่เรียกว่า กลุ่มออทิสติก (Autism Spectrum Disorders ; ASD) ผู้ป่วยมักมีปัญหาทางประสาทสัมผัสร่วมด้วย และมีความไวต่อการสัมผัสบางอย่าง เช่น ความไวต่อการได้ยินเสียง
  • ได้รับอุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บหรือประสบอุบัตติเหตุจากสภาพอากาศหรือได้รับประสบการณ์ที่เจ็บปวดจากสภาพอากาศที่รุนแรงจนส่งผลให้คุณรู้สึกหวาดกลัวเมื่อคิดว่าต้องเผชิญกับสถานการณ์นั้นอีกครั้ง

คุณหมอช่วยคุณได้

โรคกลัวเสียงฟ้าร้องนั้นมีวิธีการรักษาด้วยกันหลายรูปแบบทั้งการใช้จิตบำบัดและการรับประทานยา โดยวิธีรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล  มีวิธีดังต่อไปนี้

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy ; CBT)

  • การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมเป็นหนึ่งในการบำบัดทางจิต ที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาถึงต้นเหตุ โดยการลบพฤติกรรมที่มีความเชื่อแบบผิดๆแทนด้วยการเรียนรู้สิ่งที่สมเหตุสมผล

การบำบัดด้วยการสัมผัส (Touch Therapy) 

  • การบำบัดด้วยการสัมผัสเป็นหนึ่งในประเภทของการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม โดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญรักษาโดยให้ผู้ป่วยค่อยๆ เผชิญหน้ากับความกลัวที่ละน้อย เพื่อให้เกิดความเคยชิน

การยอมรับและการให้พันธสัญญา (Acceptance and Commitment Therapy ; ACT)

  • แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทำการบำบัดผู้ป่วยโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การฝึกสติ และฝึกให้ยอมรับตนเองจากสถานการณ์นั้นๆ

รักษาโดยการใช้ยา

  • แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำยาชนิดรับประทานที่ช่วยบรรเทาความวิตกกังวล ความเครียด เช่น กลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) ยาบูสไพโรน (Buspirone) ยากลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclics) เป็นต้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Everything You Should Know About Astraphobia. https://www.healthline.com/health/astraphobia. Accessed 30 March 2020.

Medical Definition of Astraphobia. https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=12181. Accessed 30 March 2020.

Astraphobia — When Lightning is Frightening. https://www.calmclinic.com/phobias/astraphobia. Accessed 30 March 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/05/2025

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคกลัวผู้ชาย มีอาการอย่างไรถึงเข้าขั้นป่วย

ใจสะอาด น้ำไม่ต้องอาบก็ได้ แนวคิดขบขันหรือสัญญาณเตือน โรคกลัวการอาบน้ำ


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไข 15/05/2025

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา