โรควิตกกังวล ผู้ป่วยมีทางทางเลือกการรักษาอย่างไรบ้าง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์ฐปนัท ศรีธาราธิคุณ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

    โรควิตกกังวล ผู้ป่วยมีทางทางเลือกการรักษาอย่างไรบ้าง

    ความวิตกกังวล (Anxiety) โดยทั่วไปถือเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายต่ออันตราย ซึ่งเป็นการแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติเมื่อคุณรู้สึกถูกคุกคาม อยู่ภายใต้ความกดดัน หรือเมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ตึงเครียด แต่หากความวิตกกังวลนั้นมีความรุนแรงเกินไป อาจเป็นอาการของ โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) ขึ้นมาได้ โดยแต่ละคนจะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันไป

    การรักษาสำหรับผู้ป่วยโรควิตกกังวลมีหลายวิธี เช่น การบำบัดความกังวล การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตเพื่อบรรเทาความวิตกกังวล รวมถึงการใช้ยา เป็นต้น

    การบำบัดความกังวล

    การบำบัดทางจิต (Psychotherapy) โดยใช้หรือไม่ใช้ยาร่วมด้วยก็ตาม มักจัดว่าเป็นพื้นฐานในการรักษาโรควิตกกังวลโดยทั่วไป

    รูปแบบเฉพาะของการบำบัดทางจิตหลายประการ ดังที่มีการอธิบายไว้ในการศึกษาวิจัยต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการบรรเทาอาการต่างๆ ของ GAD (Generalized Anxiety Disorder ซึ่งเป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง) ได้แก่

    • จิตบำบัดแบบจิตพลวัต (Psychodynamic psychotherapy)
    • การบำบัดทางจิตแบบประคับประคองและระบายถึงปัญหา (Supportive-expressive therapy)
    • การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive-behavioral therapy)

    การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตเพื่อบรรเทาความวิตกกังวล

    การออกกำลังกายทุกวันเป็นการรักษาที่มีประโยชน์อีกประการหนึ่งสำหรับบรรเทาอาการต่างๆ ของความวิตกกังวล ให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในช่วงเป้าหมายสำหรับอายุเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาทีในแต่ละครั้งที่ออกกำลังกาย

    หรือให้ลองรูปแบบการหายใจโยคะดังต่อไปนี้

    • นอนหงายในสถานที่ซึ่งให้ความรู้สึกสบาย
    • หายใจเข้าอย่างช้าๆ ทางจมูก โดยใช้กระบังลมเพื่อดูดอากาศเข้าสู่ปอดพร้อมกับปล่อยให้ท้องขยายออก
    • เมื่อหายใจออก ให้กลับกระบวนการดังกล่าว โดยให้หดท้องในขณะที่หายใจออกอย่างช้าๆ และทั้งหมด
    • ทำซ้ำหลายๆครั้ง

    ในกรณีที่จำเป็นต้องรับการรักษาด้วยการใช้ยานั้น ความผิดปกติเกี่ยวกับความวิตกกังวลอาจมีการรักษาด้วยการใช้ยาที่แตกต่างกัน กล่าวคือยาบางชนิดช่วยป้องกันและยาบางชนิดมีไว้รักษาให้หายขาด

    การใช้ยา

    ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressants)

    ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressants) โดยเฉพาะยากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) มีการใช้อย่างแพร่หลายเพื่อรักษาและป้องกันความผิดปกติเกี่ยวกับความวิตกกังวลต่างๆ ตัวอย่างของยากลุ่ม SSRIs ที่ใช้กันโดยทั่วไปเพื่อรักษาภาวะเรื้อรัง ได้แก่

    • ยาโพรแซค (Prozac)
    • ยาโซลอฟ (Zoloft)
    • ยาเล็กซาโปร (Lexapro)

    และยาในกลุ่มใกล้เคียง ได้แก่

    • ยาอิมิพรามีน (Imipramine)
    • ยาเอฟเฟ็คโซ (Efexor) และซิมบอลตา (Cymbalta)

    ยาเหล่านี้จำเป็นต้องรับประทานทุกวันไม่ว่าจะมีอาการวิตกกังวลในวันนั้นหรือไม่ก็ตาม โดยใช้ยาตามที่แพทย์สั่งจ่ายให้

    การใช้ยาคลายกังวล

    ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาคลายกังวลร่วมด้วย เช่นกรณีที่มีภาวะกังวลเฉียบพลัน (panic attackซึ่งเป็นอาการของโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง)ยาคลายกังวลที่นิยมมากที่สุดสำหรับการบรรเทาอาการทันทีคือยาที่เรียกว่ายาเบนโซไดอาเซพีน (benzodiazepines) เช่น

    • ยาแอทติแวน (Ativan)
    • ยาแวเลียม (Valium)
    • ยาซาแนกซ์ (Xanax)
    • ยาบุสไพโรน (Buspirone)

    เคล็ดลับรับมือความวิตกกังวล

    เมื่อกำลังรู้สึกกังวลหรือเครียด วิธีการเหล่านี้จะช่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    • หยุดพักชั่วคราว ให้เล่นโยคะ ฟังดนตรี ทำสมาธิ เข้ารับการนวด หรือเรียนรู้เทคนิคการผ่อนคลาย การถอยห่างจากปัญหาช่วยทำให้สมองโล่งได้
    • รับประทานอาหารที่สมดุล ไม่ควรข้ามมื้ออาหารใดๆ ควรพกพาอาหารว่างที่มีประโยชน์และให้พลังงานไว้ใกล้ตัว
    • จำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน ซึ่งสามารถทำให้ความวิตกกังวลแย่ลงและกระตุ้นอาการตื่นตระหนกให้กำเริบได้
    • นอนหลับให้เพียงพอ เมื่อมีความเครียด ร่างกายจำเป็นต้องนอนหลับและพักผ่อนเพิ่มเติม
    • การออกกำลังกายทุกวันเพื่อช่วยให้คุณรู้สึกดีและและรักษาสุขภาพ
    • หายใจลึกๆ หายใจเข้าและหายใจออกอย่างช้าๆ
    • นับ 1 ถึง 10 อย่างช้าๆ ทำซ้าๆ และหากจำเป็นให้นับ 1ถึง 20
    • ให้ทำให้ดีที่สุด แทนการมุ่งไปที่ความสมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ให้ภูมิใจกับผลใดๆ ก็ตามที่ทำได้
    • เราไม่สามารถควบคุมทุกอย่างได้ ควรมีมุมมองกับความเครียดที่ถูกต้อง กล่าวคือ มันแย่จริงอย่างที่คิดหรือไม่
    • มีความขบขันในชีวิตบ้าง การหัวเราะสามารถช่วยได้
    • มีทัศนคติที่ดี พยายามแทนที่ความคิดลบด้วยความคิดบวก
    • เข้าไปมีส่วนร่วม อาสาสมัครหรือหาหนทางอื่นเพื่อเข้าร่วมในสังคม ซึ่งทำให้มีเครือข่ายความช่วยเหลือและหยุดพักจากความเครียดประจำวัน
    • เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่กระตุ้นความรู้สึกกังวล เป็นเรื่องงาน ครอบครัว โรงเรียน หรือสิ่งอื่นๆ ที่คุณสามารถระบุได้ ให้จดบันทึกประจำวันเมื่อคุณรู้สึกเครียดหรือกังวล และมองหารูปแบบหนึ่งๆ
    • ควรปรึกษาผู้อื่น บอกเพื่อนและครอบครัวว่าคุณมีความรู้สึกดังกล่าวมาก รวมทั้งบอกให้เพื่อนและครอบครัวทราบว่าพวกเขาสามารถช่วยคุณได้อย่างไร
    • ควรปรึกษาแพทย์หรือนักบำบัดสำหรับความช่วยเหลือเฉพาะทาง

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    นายแพทย์ฐปนัท ศรีธาราธิคุณ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

    โฆษณา
    โฆษณา
    โฆษณา
    โฆษณา