backup og meta

Eating disorder คือ อะไร ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

Eating disorder คือ อะไร ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

Eating disorder คือ ปัญหาสุขภาพที่อาจส่งผลอย่างร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจ ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นโรคนี้มักเก็บอาการป่วยไว้เป็นความลับ และรู้สึกอับอายและหวาดกลัวที่จะขอความช่วยเหลือ อย่างไรตาม โรคนี้รักษาให้หายได้ ดังนั้น หากสังเกตว่าตัวเองมีพฤติกรรมการกินอาหารผิดปกติหรือไม่แน่ใจว่าตัวเองป่วยเป็น Eating Disorder หรือไม่ควรไปพบคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำและให้ช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม

[embed-health-tool-bmi]

Eating disorder คือ อะไร

Eating disorder คือ พฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติซึ่งส่งผลต่อทัศนคติและความรู้สึกเกี่ยวกับอาหารและร่างกายของตัวเอง บางครั้งอาจมีความเข้าใจผิดว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นเพียงทางเลือกในการดำเนินชีวิตของคนบางกลุ่มเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว Eating disorder เป็นโรคที่ร้ายแรงและอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้จากพฤติกรรมที่ผิดปกติอย่างรุนแรง เนื่องจากร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอสำหรับใช้เป็นพลังงานในการทำงานของอวัยวะและระบบต่าง ๆ

โดยทั่วไปสัญญาณความผิดปกติของโรคนี้อาจสังเกตได้จากความหมกมุ่นเกี่ยวกับอาหาร น้ำหนักตัว และรูปร่างของตัวเองมากกว่าคนปกติ จนส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพโดยรวมและการใช้ชีวิตประจำวัน

สาเหตุที่ทำให้เป็น Eating disorder

ปัจจัยต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด Eating disorder ได้

  • มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็น Eating disorder โรคซึมเศร้า โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือใช้ยาเสพติด
  • ถูกคนรอบข้างวิจารณ์ในแง่ลบเกี่ยวกับรูปร่าง น้ำหนักตัวหรือพฤติกรรมการกินอยู่บ่อยครั้งหรือเป็นประจำ
  • เป็นผู้ที่กังวลเกี่ยวกับรูปลักษณ์ภายนอกของตัวเองอย่างมาก ต้องการดูผอมเพรียว โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับแรงกดดันจากสังคมหรือหน้าที่การงาน
  • มีภาวะวิตกกังวล มีความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือเป็นผู้ที่ชอบความสมบูรณ์แบบ (Perfectionist)
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศมาก่อน

ประเภทของ Eating disorder

Eating disorder ที่พบได้บ่อย มีดังนี้

เป็นโรคที่ทำให้มุ่งเน้นการมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ โดยส่วนใหญ่จะมองว่าน้ำหนักและรูปร่างของตัวเองยังไม่ดีพอ จึงมักพยายามที่จะลดน้ำหนักอย่างหักโหมด้วยวิธีการที่ผิด จนอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรง ผู้ที่เป็นโรคอะนอเร็กเซียจะเข้มงวดมากว่าจะกินอะไรและกินในปริมาณเท่าไหร่ และอาจคิดเกี่ยวกับอาหารหรือแคลอรี่เกือบตลอดเวลา

อาการของโรค เช่น

  • กินอาหารในปริมาณน้อยมาก ทำให้มีน้ำหนักน้อย (หรือน้อยกว่าค่า BMI ที่เป็นเกณฑ์วัดความเหมาะสมของน้ำหนักตัวและส่วนสูงของร่างกาย)
  • มีความกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักของตัวเองว่าจะเพิ่มขึ้นมาหรือไม่ หรือวิตกว่าตัวเองจะดูอ้วนในกระจก ในรูปภาพ หรือในสายตาคนอื่น
  • มีมุมมองเกี่ยวกับรูปร่างต่างไปจากความเป็นจริง และเห็นว่าตัวเองอ้วนมากทั้งที่ความเป็นจริงแล้วอาจจะมีรูปร่างสมส่วนหรือผอมมากก็ตาม
  • อาจมีการพยายามลดน้ำหนักด้วยวิธีผิด ๆ เช่น กินยาระบาย ใช้ยาสวนทวารหนัก ออกกำลังกายหักโหม
  • โรคกินไม่หยุด (Binge Eating Disorder หรือ BED)

โรคกินไม่หยุดเป็นความผิดปกติของการกินอีกรูปแบบหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็นโรคเรื้อรังที่พบมากที่สุดในหมู่วัยรุ่น โดยทั่วไปจะเกิดในวัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น

อาการของโรค เช่น

  • กินอาหารปริมาณมากหมดในเวลาอันสั้น จนกระทั่งอิ่มมากเกินไป แม้ว่าจะไม่หิวเลยก็ตาม
  • รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมการกินของตัวเองได้รู้สึกแย่ ทุกข์ใจ ละอาย รังเกียจ เมื่อคิดถึงพฤติกรรมการกินของตัวเอง
  • โรคล้วงคอ หรือ บูลิเมีย (Bulimia)

โรคล้วงคอเป็นอีกภาวะผิดปกติของการกินอาหารที่พบในคนวัยหนุ่มสาว โดยมักจะกินอาหารปริมาณเยอะ ๆ ในครั้งเดียวอย่างควบคุมไม่ได้ คล้ายกับโรคกินไม่หยุด แต่หลังจากกินแล้ว จะพยายามกำจัดอาหารออกจากร่างกายด้วยการล้วงมือเข้าไปในคอเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายอาเจียนอาหารที่กินเข้าไปก่อนหน้านี้จนหมด หรืออาจใช้วิธีอื่น ๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ทัน เพราะกังวลว่าจะทำให้ตัวเองดูอ้วนขึ้น

อาการของโรค เช่น

  • ทำให้ตัวเองอาเจียนโดยตั้งใจหลังจากกินมากเกินไป
  • ใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ยาลดน้ำหนัก อดอาหาร หรือออกกำลังกายหักโหม เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • ตัดสินตัวเองจากรูปร่างและน้ำหนัก
  • ปิดบังพฤติกรรมการล้วงคอไม่ให้คนอื่นรู้

แนวทางการรักษา Eating disorder คืออะไร

โดยทั่วไป การรักษาภาวะการกินผิดปกติต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับประเภทของโรค แต่ส่วนใหญ่เมื่อเป็นแล้วจะรักษาได้ด้วยการบำบัดด้วยคำพูด (Talk Therapy) เพื่อให้ผู้ป่วยได้สำรวจถึงสาเหตุที่เป็นต้นตอของพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติของตัวเอง ปรับทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับรูปร่าง และอาจมีการติดตามตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อดูว่าพฤติกรรมการกินที่ผ่านมาส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง และวางแผนการรักษาโดยให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น และกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติในที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Eating Disorders. https://www.nimh.nih.gov/health/topics/eating-disorders. Accessed May 31, 2023

Eating disorders. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/eating-disorders/symptoms-causes/syc-20353603. Accessed May 31, 2023

Overview – Eating disorders. https://www.nhs.uk/mental-health/feelings-symptoms-behaviours/behaviours/eating-disorders/overview/. Accessed May 31, 2023

Eating disorders. https://www.healthdirect.gov.au/eating-disorders. Accessed May 31, 2023

Eating Disorders. https://kidshealth.org/en/teens/eat-disorder.html. Accessed May 31, 2023

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/06/2023

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

พฤติกรรมการกินผิดปกติ ในกลุ่มวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1

โรคบูลิเมีย ทำลายสุขภาพฟัน มากกว่าที่คุณคิด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 20/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา