backup og meta

ภาวะวิตกกังวล หลังการสูญเสีย อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจมากกว่าที่คิด

ภาวะวิตกกังวล หลังการสูญเสีย อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจมากกว่าที่คิด

ภาวะวิตกกังวล สามารถส่งผลต่อการดำเนินชีวิตได้ ซึ่งภาวะนี้เกิดขึ้นจากการสูญเสียคนที่รัก ซึ่งถือว่าเป็นความทุกข์ที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต อย่างไรก็ตามแต่ละคนนั้นมีความสามารถในการควบคุมความรู้สึกแตกต่างกัน ปฏิกิริยาการตอบสนองต่อการสูญเสียนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างซึ่งผู้ที่อยู่ในภาวะนี้ สามารถรับมือได้ด้วยเทคนิค ดังต่อไปนี้

ภาวะวิตกกังวล จากความเศร้าในความหมายทางการแพทย์

ทางการแพทย์ ได้แบ่งระดับความเศร้าออกไว้ 5 ขั้น ได้แก่ ไม่ยอมรับ โกรธ ต่อรอง ซึมเศร้า และยอมรับ ซึ่งเราทุกคนล้วนผ่าน 5 ขั้นตอนเหล่านี้ตามวิถีทางของตัวเองมาแล้วทั้งนั้น

ความเศร้า สามารถเกิดขึ้นได้ซ้ำๆ หากมีการระลึกถึงความสูญเสียในโอกาสสำคัญๆ ที่อยู่ในความทรงจำของเราและคนรักที่สูญเสียไป เช่น การครบรอบวันแต่งงาน การครบรอบวันเสียชีวิต หรือ แม้แต่ การฟังเพลง ที่หวนให้ระลึกถึงความเศร้าแต่หนหลัง

ในบางราย อาจต้องประสบกับภาวะวิตกกังวล ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากความเศร้า ที่ไม่ได้อยู่ใน 5 ขั้นที่กล่าวมา ความวิตกกังวลในบางครั้ง สามารถส่งผลต่อชีวิตเป็นอย่างมากและทำให้คุณรู้สึกราวกับว่า ทุกสิ่งทุกอย่างพังทลายลงไปในเวลาเดียวกันจนคุณอาจจะต้องทำทุกอย่างให้ช้าลง หากคุณยังรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างยังคงถาโถมเข้าใส่ตัวคุณ ลองมองหาความช่วยเหลือจากใครสักคนที่คุณวางใจ

เมื่อเกิดความสูญเสียจะมีอาการเป็นอย่างไรบ้าง

การสูญเสียจากความโศกเศร้า อาจทำให้เกิดอาการต่างๆ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อแต่ละคน ในรูปแบบที่ต่างกัน ซึ่งโดยปกติแล้ว อาการที่พบบ่อยหลังจากเกิดความสูญเสีย มีดังนี้

  • ช็อคและมึนงง นี่คือปฏิกิริยาแรกที่จะเกิดขึ้น เมื่อเกิดความสูญเสีย
  • เมื่อมีความเศร้ามากๆ จะมีอาการร้องไห้ฟูมฟาย
  • อ่อนเพลีย
  • รู้สึกโกรธ ต่อคนที่คุณต้องศูญเสีย หรือสาเหตุของการสูญเสีย
  • รู้สึกผิด เช่น รู้สึกผิดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณได้พูด ไม่ได้พูด หรือไม่สามารถหยุดคนรัก ที่กำลังจะตายได้

สำหรับความรู้สึกเหล่านี้ อาจจะไม่ได้มีอยู่ตลอดเวลา แต่มันก็สามารถเกิดขึ้นมาได้อย่างไม่คาดคิด ความจริงแล้ว มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย ที่จะเลิกจดจำ เมื่อเกิดความสูญเสีย โศกเศร้า แต่อย่างไรก็ตาม การหาวิธีกำจัดกับภาวะสูญเสีย ก็เป็นการดีที่สุด

วิธีจัดการกับภาวะวิตกกังวลจากการสูญเสีย

นี่คือคำแนะนำที่มีประโยชน์ในการจัดการกับความวิตกกังวล

  • แสดงความเศร้านั้นออกมา

ลองพูดหรือเขียนสิ่งที่รบกวนจิตใจออกมา แม้ว่าตัวคุณเองยังไม่แน่ใจนักว่า อะไรคือสาเหตุ ลองหาคำที่ใช้อธิบายความรู้สึก ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณค้นพบต้นตอของปัญหาในใจ

  • รับผิดชอบและจัดการทุกอย่างเท่าที่ทำได้

อย่างไรก็ดี หลีกเลี่ยงการตัดสินใจเรื่องใหญ่ๆ ในชีวิตออกไปก่อนในช่วงที่คุณยังรู้สึกวิตกกังวล

  • ยอมรับความช่วยเหลือ

อาจฟังดูยาก หากความวิตกกังวลกำลังคุกคามคุณ และเริ่มเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน ลองเอ่ยปาก ขอความช่วยเหลือจากคนอื่นดู นี่ยังเป็นโอกาสที่ดี ที่จะให้คนรอบข้างได้แสดงความห่วงใย และให้กำลังใจคุณ และคุณจะได้เห็นความหวังดี ที่คนรอบข้างพร้อมจะหยิบยื่นให้

  • หาคำปลอบใจ

คุณอาจต้องการเพื่อนที่คอยให้กำลังใจ จนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น ลองเอ่ยปากกับคนที่คุณรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจ และพร้อมที่จะคอยอยู่เคียงข้างคุณ นี่ไม่ใช่สัญญาณของความอ่อนแอในตัวคุณ หากแต่เป็นสัญญาณที่ทำให้ตัวคุณ ตระหนักถึงปัญหา และคุณกำลังดูแลตัวเองอยู่ต่างหาก

ประสบการณ์ที่ต้องเผชิญกับความสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักนั้น เป็นช่วงเวลาตึงเครียด บางครั้งมันอาจเพิ่มระดับความตึงเครียดยิ่งขึ้น ซึ่งอาจมาพร้อมกับปัจจัยทางด้านกายภาพ อย่างเช่น การนอนไม่หลับ หรือการกินอาหารตามอารมณ์ ซึ่งล้วนนำมาซึ่งความไม่มั่นคงทางภาวะอารมณ์ และยิ่งไปซ้ำเติมความวิตกกังวลมากยิ่งขึ้น

หากคุณหรือคนที่คุณรู้จัก กำลังมีช่วงเวลาที่ยากลำบากที่จะรับมือกับการสูญเสียใครสักคน หากเป็นไปได้ ลองขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การปรึกษาเรื่องความเศร้า อาจช่วยแก้ปัญหาบางประการ รวมไปถึง การเอาชนะปัญหาด้านสุขภาพจิต อย่าง ภาวะซึมเศร้า และอาการวิตกกังวลได้

Hello Health Groupไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Dealing with Anxiety After a Loss. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/tc/dealing-with-anxiety-after-a-loss-topic-overview. Accessed December 31, 2016.

Coping with Grief and Loss. http://www.helpguide.org/articles/grief-loss/coping-with-grief-and-loss.htm. Accessed December 31, 2016.

Grief after bereavement or loss. https://www.nhs.uk/conditions/stress-anxiety-depression/coping-with-bereavement/. Accessed February 11, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย อนันตา นานา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

โรควิตกกังวล ผู้ป่วยมีทางทางเลือกการรักษาอย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา