backup og meta

ปริทันต์อักเสบ (Periodontitis)

คำจำกัดความอาการสาเหตุการวินิจฉัยและการรักษาการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

คำจำกัดความ

ปริทันต์อักเสบ (Periodontitis) คืออะไร   

ปริทันต์อักเสบ (Periodontitis)  หรือ โรคเหงือกอักเสบ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียก่อตัวสะสมบนฟันและเหงือก เชื้อแบคทีเรียจะทำให้บริเวณเหงือกเกิดการระคายเคือง จนเกิดเป็นโรคเหงือกอักเสบได้

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบส่วนใหญ่จะมีกลิ่นปาก มีเลือดออกขณะแปรงฟัน เหงือกมีอาการบวมแดง หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมได้ทันท่วงที อาจส่งผลเสียต่อฟัน และเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจวาย เป็นต้น

พบได้บ่อยเพียงใด

ปริทันต์อักเสบ หรือ โรคเหงือกอักเสบ มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ไม่รักษาสุขอนามัยทางช่องปาก

อาการ

อาการของผู้ป่วย โรคปริทันต์อักเสบ

ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบ ส่วนใหญ่จะมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • เหงือกมีอาการบวมแดง
  • เลือดออกขณะแปรงฟัน
  • มีกลิ่นปาก
  • มีหนองระหว่างฟันและเหงือก
  • ฟันหลุด หรือฟันผุง่าย
  • รู้สึกเจ็บปวดขณะเคี้ยว
  • เหงือกกร่อน

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ โรคปริทันต์อักเสบ

โรคปริทันต์อักเสบ มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่รักษาสุขอนามัยช่องปาก คราบจุลินทรีย์ (เชื้อแบคทีเรีย) จะเกาะบริเวณเหงือกและฟัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม จะเกิดเป็นคราบหินปูน  เมื่อเหงื่อและฟันเกิดการอักเสบเรื่อย ๆ จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเหงือกและฟันที่เต็มไปด้วยคราบจุลินทรีย์หินปูนและเชื้อแบคทีเรียเมื่อเชื้อมีการฝังลึกมากขึ้นอาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้คุณสูญเสียฟันได้

ปัจจัยเสี่ยงของปริทันต์อักเสบ หรือ โรคเหงือกอักเสบ

  • เหงือกอักเสบ
  • ไม่รักษาสุขอนามัยช่องปาก
  • สูบบุหรี่
  • ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การตั้งครรภ์ หรือวัยหมดประจำเดือน
  • ใช้สารเสพติด เช่น สูบกัญชา
  • โรคอ้วน
  • ขาดสารอาหาร เช่น วิตามินซี
  • ผลข้างเคียงจากการรับประทานยา เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาขยายหลอดเลือด
  • ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว การติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  • โรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน ไขข้ออักเสบ โรคโครห์น

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย โรคปริทันต์อักเสบ

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติผู้ป่วย และอาการ หลังจากนั้นจะทำการตรวจฟัน โดยใช้เครื่องมือตรวจปริทันต์ที่เรียกว่า “โพรบ”  (Periodontal Probe) ตรวจตามซี่ฟัน วัดร่องเหงือก ว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ รวมถึงการเอ็กซ์เรย์ฟันเพื่อให้ทราบรายละเอียดความผิดปกติมากยิ่งขึ้น

วิธีการรักษา โรคปริทันต์อักเสบ

โรคปริทันต์อักเสบ มีวิธีการรักษาที่มุ่งเน้นการขจัดคราบจุลินทรีย์และเชื้อแบคทีเรียคราบหินปูนบนฟันและเหงือก  โดยการขูดหินปูน ขัดฟัน และเคลือบด้วยฟลูออไรด์ ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจสั่งปฏิชีวนะในรูปแบบยารับประทานและน้ำยาบ้วนปากเพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษา โรคปริทันต์อักเสบ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาโรคปริทันต์อักเสบ มีดังนี้

การรักษาสุขอนามัยช่องปากเป็นประจำอยู่เสมอจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลสุขภาพฟัน ดังต่อไปนี้

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
  • ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อขจัดคราบจุลินทรีย์
  • พบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Periodontitis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/periodontitis/symptoms-causes/syc-20354473. Accessed on August 31, 2020.

Periodontitis. https://www.healthline.com/health/periodontitis. Accessed on August 31, 2020.

What is periodontitis?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/242321. Accessed on August 31, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/09/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

บอกลาเหงือกอักเสบด้วย วิธีเยียวยาเหงือกอักเสบ ง่ายๆ ที่คุณก็ทำได้

เหงือกเลือดออก อย่าเพิ่งตระหนก แค่ปรับพฤติกรรมก็สามารถหายได้


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไข 03/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา