ดวงตา เป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยทำงานร่วมกับสมองเพื่อประมวลผลทำให้รับทราบต่อสิ่งที่มองเห็น ดังนั้น จึงควรดูแลสุขภาพดวงตาตัวเองให้ดี เพราะหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นอาจส่งผลให้การมองเห็นเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสียการมองเห็นได้
ดวงตา เป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยทำงานร่วมกับสมองเพื่อประมวลผลทำให้รับทราบต่อสิ่งที่มองเห็น ดังนั้น จึงควรดูแลสุขภาพดวงตาตัวเองให้ดี เพราะหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นอาจส่งผลให้การมองเห็นเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสียการมองเห็นได้
ดวงตา คือ อวัยวะที่มีลักษณะเป็นวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว และมีรูม่านตาตรงกลาง รวมถึงตาขาวล้อมรอบ ซึ่งดวงตาอาจมีสีที่แตกต่างกันเช่น สีน้ำตาล สีฟ้า สีเขียว โดยขึ้นอยู่กับพันธุกรรมที่ถ่ายทอดมาจากคนในครอบครัว
การมองเห็นจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีแสงจากวัตถุผ่านกระจกตา รูม่านตา เลนส์ตา ไปตกกระทบที่จอประสาทตา เซลล์ของจอประสาทตาจะเปลี่ยนลำแสงเป็นคลื่นไฟฟ้าที่นำไปสู่สมอง จากนั้นสมองจะแปลผลให้กลายเป็นภาพ ทำให้สามารถมองเห็นเป็นภาพและสามารถรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้
ส่วนประกอบของดวงตา มีดังต่อไปนี้
โรคดวงตาที่ควรระวัง มีดังนี้
โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม มีสาเหตุมาจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานมากเกินไปโดยไม่กระพริบหรือกระพริบตานาน ๆ ครั้ง นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมไม่อำนวยความสะดวก ที่ส่งผลให้ดวงตาทำงานหนักขึ้น เช่น แสงสว่างน้อย สภาพอากาศเย็น
อาการของโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม มีดังนี้
วิธีรักษาโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม อาจทำได้ดังนี้
โรคตาแดง คือการอักเสบของเยื่อบุตาโดยอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย สารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ดวงตา ที่นำไปสู่โรคตาแดง โดยอาจสังเกตอาการได้ดังนี้
ควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็วหากมีอาการตาพร่ามัว ตาไวต่อแสง ปวดตาและตาแดงเข้มมากเกินไป เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบต่อกระจกตาและการมองเห็นได้
การรักษาโรคตาแดง อาจทำได้ดังนี้
โรคต้อหิน คือ โรคดวงตาที่เกิดจากการสะสมของของเหลวไหลเวียนอยู่ภายในดวงตามากเกินไป ส่งผลให้ความดันในลูกตาสูง ทำให้เส้นประสาทตาเสียหายหรือเสื่อมลงจนกระทบต่อการมองเห็น นำไปสู่โรคต้อหิน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
การรักษาโรคต้อหิน มีดังนี้
โรคต้อกระจก เกิดจากโปรตีนหรือเส้นใยในเลนส์ตาเสื่อมสภาพทำให้การมองเห็นเปลี่ยนไปและมีดวงตาที่ขุ่นมัว โดยมีปัจจัยเสี่ยงมาจากอายุที่มากขึ้น การใช้ยาสเตียรอยด์ในระยะยาว โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง การบาดเจ็บที่ดวงตา การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป เป็นต้น
อาการของโรคต้อกระจกมีดังนี้
การรักษาโรคต้อกระจก อาจทำได้ด้วยการผ่าตัดเพื่อกำจัดต้อออกจากเลนส์ตา และลดการลุกลามของต้อกระจก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นและเพิ่มคุณภาพชีวิตในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้สะดวกมากขึ้น
โรคต้อเนื้อ อาจเกิดจากสารระคายเคืองเข้าสู่ดวงตา ตาแห้งบ่อย และได้รับรังสียูวีจากแสงแดดเข้าสู่ดวงตามากเกินไป ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณตาขาวเจริญเติบโตผิดปกติ แต่ไม่พัฒนาเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
อาการของโรคต้อเนื้อ มีดังนี้
การรักษาต้อเนื้อ อาจทำได้ดังนี้
โรคจอประสาทตาเสื่อม อาจเกิดจากเซลล์ของจอประสาทตาเสื่อมที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่ส่งผลให้จอประสาทตาเสื่อมเร็วโดยไม่จำเป็นต้องรอให้อายุมากขึ้น เช่น การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมาก
อาการของโรคจอประสาทตาเสื่อม มีดังนี้
โรคจอประสาทตาเสื่อมไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดแต่มีวิธีช่วยชะลอการเสื่อมของจอประสาทตาไม่ให้มีการมองเห็นแย่ลงได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
โรคเบาหวานขึ้นตา เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนทำลายเส้นประสาทของดวงตา หากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่มีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์อาจเสี่ยงเป็นโรคต้อหินและสูญเสียการมองเห็นถาวรได้
อาการโรคเบาหวานขึ้นตา มีดังนี้
การรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา มีดังนี้
การดูแลสุขภาพดวงตา อาจทำได้ดังนี้
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
พลอย วงษ์วิไล
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย