backup og meta

ตาขาวอักเสบ จนตาแดง และเจ็บปวด ควรรักษาอย่างไร

ตาขาวอักเสบ จนตาแดง และเจ็บปวด ควรรักษาอย่างไร

ถึงแม้ว่าปัญหา ตาขาวอักเสบ  จะไม่ได้เกิดบริเวณตาดำโดยตรง แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการที่ ตาขาวอักเสบ ก็สามารถส่งผลกระทบต่อการมองเห็นได้เช่นกัน แต่จะมีสาเหตุใดบ้างนั้น ที่ทำให้บริเวณตาขาวคุณรู้สึกเจ็บปวด ติดตามได้ใน บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ที่นำความรู้เบื้องต้น มาฝากให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ

คำจำกัดความ

ตาขาวอักเสบ (Scleritis) คืออะไร

ตาขาวอักเสบ (Scleritis) คือ อาการผิดปกติบริเวณตาขาวที่ก่อให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง โดยเป็นผลมาจากการทำงานของภูมิต้านทานในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป สามารถแบ่งออกได้หลายประเภทด้วยกัน ได้แก่

  • ตาขาวอักเสบบริเวณด้านหน้าดวงตา
  • ตาขาวอักเสบเป็นก้อนกลมด้านหน้าดวงตา
  • ตาขาวอักเสบชนิดรุนแรง
  • ตาขาวอักเสบบริเวณด้านหลัง

ตาขาวอักเสบพบได้บ่อยแค่ไหน

ภาวะตาขาวอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นบ่อยได้มากกว่าผู้ชาย

อาการ

อาการของตาขาวอักเสบ

อาการตาขาวอักเสบ มักแตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเภท และสภาวะทางสุขภาพร่างกายของแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่ อาการหลัก ๆ ที่คุณสามารถสังเกตได้นั้น มีดังนี้

  • ดวงตาไวต่อแสง
  • ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง หรือมองเห็นไม่ชัด
  • มีน้ำตาไหลออกมาเป็นบางครั้ง
  • อาการเจ็บปวดขณะเคลื่อนไหวลูกตา
  • ระคายเคืองดวงตา
  • บริเวณตาขาวมีอาการบวม และมีสีแดง

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

เมื่อคุณมีอาการเจ็บดวงตาไม่ว่าจะอยู่ในระดับรุนแรง หรือไม่รุนแรง แน่นอนว่าไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน โปรดรีบเร่งเข้ารับการตรวจอย่างละเอียด พร้อมระบุอาการเบื้องต้นให้แพทย์ทราบในทันที เพราะอาการตาขาวอักเสบบางประเภท อาจทำให้คุณสูญเสียการมองเห็นได้โดยที่คุณไม่ทันตั้งตัว

สาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้ตาขาวอักเสบ

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของ อาการตาขาวอักเสบ แต่สาเหตุเบื้องต้นอาจมาจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ และมีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส จนทำให้เกิดอาการปวด รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณตาขาว จนทำให้เกิดการอักเสบ

หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม หรือหากคุณรู้สึกถึงอาการเจ็บปวดดวงตา คุณอาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดจากผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุแพทย์

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด อาการตาขาวอักเสบ

โรคเรื้อรังบางโรค อาจส่งผลข้างเคียง และเพิ่มความเสี่ยงให้คุณมีอาการผิดปกติทางดวงตา จนลุกลามก่อให้เกิดตาขาวอักเสบได้ โรคเหล่านั้นได้แก่

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย อาการตาขาวอักเสบ

ขั้นตอนแรก แพทย์อาจสอบถามประวัติที่เกี่ยวข้องกับภาวะทางสุขภาพ รวมถึงยาและอาหารเสริมที่คุณกำลังรับประทาน ก่อนวินิจฉัยโรคด้วยเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้

  • การนำชิ้นเนื้อเยื่อในตาขาวมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • การตรวจเลือด เพื่อหาการติดเชื้อ และการทำงานของระบภูมิคุ้มกัน
  • การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonography) ในการสังเกตความผิดปกติรอบ ๆ ตาขาว

การรักษา อาการตาขาวอักเสบ โดยแพทย์

ในการรักษาอาการตาขาวอักเสบ แพทย์มักมุ่งเน้นไปยังการต้านการอักเสบที่เกิดขึ้นกับบริเวณตาขาวของคุณ ด้วยยารักษาต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับอาการที่คุณเผชิญ ดังนี้

  • ยาต้านอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) มักใช้ช่วยลดการอักเสบ และบรรเทาอาการปวด
  • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เช่น เพรดนิโซโลน (Prednisolone) ในกรณีที่ยา NSAIDs ไม่สามารถช่วยลดอาการอักเสบได้
  • ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน ที่มีกลูโคคอร์ติคอยด์(Glucocorticoids) อาจจำเป็นต้องใช้ในที่คุณมีอาการรุนแรง
  • ยาต้านเชื้อราที่เกิดจากกลุ่มอาการโจเกรน (Sjogren’s Syndrome)

หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าคุณอยู่ในเกณฑ์ของอาการรุนแรง หรือมีการฉีกขาดส่วนเนื้อเยื่อภายในอาจต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเข้ามาเสริม เพื่อเร่งซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย และบำรุงกล้ามเนื้อ ก่อนสูญเสียการมองเห็นไปได้อย่างถาวร

ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือกับอาการตาขาวอักเสบ

ตาขาวอักเสบถือเป็นโรคที่ค่อนข้างส่งผลเสียต่อด้านการมองเห็น ทำให้คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจจากจักษุแพทย์อีกครั้ง หลังจากอาการหายไปเพื่อความมั่นใจ และรับคำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการป้องกันที่ถูกต้องเหมาะสม เนื่องจากภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคลนั้นมีแตกต่างกัน จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องได้รับการประเมินจากแพทย์อย่างละเอียดเสียก่อน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Scleritis? https://www.webmd.com/eye-health/scleritis-facts . Accessed April 01, 2021

Scleritis. https://www.healthline.com/health/scleritis . Accessed April 01, 2021

What Is Scleritis? https://www.aao.org/eye-health/diseases/what-is-scleritis . Accessed April 01, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/04/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

การฉีดยาเข้าลูกตา เทคนิคการรักษาปัญหาดวงตา โดยจักษุแพทย์

จอประสาทตาลอก สาเหตุ อาการ และการรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 03/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา