backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

รักษาตากุ้งยิง ด้วยตัวเอง และวิธีป้องกัน

รักษาตากุ้งยิง ด้วยตัวเอง และวิธีป้องกัน
รักษาตากุ้งยิง ด้วยตัวเอง และวิธีป้องกัน

ตากุ้งยิง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย บริเวณต่อมน้ำมันที่เปลือกตาส่งผลให้เกิดก้อนนูน บวม เต็มไปด้วยหนองที่เปลือกตาคล้ายสิว การ รักษาตากุ้งยิง อาจทำได้ด้วยตัวเองในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรง แต่หากเกิดการอักเสบ ติดเชื้อรุนแรง หรือรู้สึกเจ็บปวดอย่างมาก ควรเข้าพบคุณหมอทันที

ตากุ้งยิง คืออะไร

ตากุ้งยิง คือ ภาวะติดเชื้อบริเวณขอบหนังตาจากเแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส (Staphylococcus) ที่เจริญเติบโตอยู่บริเวณรอบเปลือกตา รวมถึงการสะสมสิ่งสกปรก น้ำมันส่วนเกิน และเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว เข้าไปอุดตันในต่อมไขมันที่อยู่รอบขนตา จนส่งผลให้เกิดตุ่มนูน บวม แดง และมีหนองอยู่ภายใน โดยอาการของตากุ้งยิง สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดตากุ้งยิง

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เป็นตากุ้งยิงได้บ่อยซ้ำ ๆ ได้แก่

  • นำมือไปสัมผัสกับดวงตาบ่อย ๆ
  • ใส่คอนแทคเลนส์โดยไม่ล้างมือให้สะอาด
  • ไม่ล้างเครื่องสำอางก่อนนอน หรือทิ้งไว้ข้ามคืน
  • ใช้เครื่องสำอางหมดอายุ
  • มีเกล็ดกระดี่ตามขอบเปลือกตา
  • โรคผิวหนังอักเสบโรซาเซีย

รักษาตากุ้งยิง ด้วยตัวเอง

ปกติแล้วตากุ้งยิงอาจสามารถหายไปได้ภายใน 2-3 วัน ถึงอย่างไรก็อาจรักษาตากุ้งยิง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ด้วยตัวเองได้ ดังนี้

  • ประคบอุ่นที่ตากุ้งยิง วิธีนี้อาจทำให้บรรเทาอาการอักเสบ และอาการปวด โดยการนำผ้าสะอาดแช่น้ำอุ่นก่อนนำมาประคบ หรือเลือกลูกประคบ มาประคบไว้บริเวณตากุ้งยิงอย่างเบามือประมาณ 10-15 นาที 2-4 ครั้งต่อวัน หลังจากประคบเสร็จ ควรล้างมือให้สะอาดและนวดบริเวณตากุ้งยิง เพื่อช่วยให้น้ำมันที่อุดตันในเปลือกตาออกมา บางคนหากไม่มีลูกประคบอาจสามารถใช้ถุงชาแช่ในน้ำอุ่นมาประคบแทนได้ แต่อาจยังไม่มีงานวิจิยที่มากเพียงพอว่าจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการใช้ผ้าสะอาด
  • น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะพร้าวอาจมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ แบคทีเรีย และเชื้อรา ทำให้อาจช่วยบรรเทาอาการอักเสบของตากุ้งยิงได้ ซึ่งหากใช้วิธีนี้ควรนำน้ำมะพร้าวชุบกับคอตตอนบัต หรือนิ้วมือที่สะอาด นวดบริเวณเปลือกตาประมาณ 15 นาที และล้างน้ำมันออกด้วยอุ่น ควรทำซ้ำกันประมาณ 3-5 ครั้งต่อวัน
  • ยาปฏิชีวนะรูปแบบทา หรือยาหยอดตา หากไม่มั่นใจว่าควรใช้ยาชนิดใดจึงจะเหมาะสม สามารถเข้าขอรับคำปรึกษาจากคุณหมอด้านจักษุแพทย์ เพราะผู้ป่วยบางคนอาจได้รับยาเม็ดมารับประทาน

วิธีป้องกันตากุ้งยิง

วิธีป้องกันการติดเชื้อบริเวณเปลือกตา นำไปสู่ตากุ้งยิง มีดังนี้

  • ไม่นำมือไปสัมผัสดวงตา
  • หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำอุ่นและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือก่อนสัมผัสกับดวงตา
  • ทำความสะอาดเปลือกตาเป็นประจำ
  • ทิ้งเครื่องสำอางหมดอายุ และล้างเครื่องสำอางบนใบหน้าให้สะอาดก่อนเข้านอน
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนใส่คอนแทคเลนส์
  • ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่เป็นตากุ้งยิง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Stye Treatment https://www.webmd.com/first-aid/sty-treatment . Accessed September 28, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/09/2021

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

avatar

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 29/09/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา